พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแพ่งและอาญาที่เกี่ยวเนื่องกัน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้พิจารณาคดีแพ่งที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
ตามฟ้องคดีนี้เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องคดีอาญา และศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีเป็นศาลจังหวัด จึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีส่วนอาญาเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ยังคงมีคดีส่วนแพ่งที่ต้องพิจารณาสั่งต่อไปว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดเกี่ยวกับคดีแพ่งดังกล่าว ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 11 ไม่ต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งนั้น ก็เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก้าวล่วงไปวินิจฉัยโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 11 ในคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา กรณีเป็นเรื่องปรากฏเหตุที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247 (เดิม) และ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งต่อไป
การอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลมีปัญหาเฉพาะคดีส่วนอาญาว่ามีมูลที่ศาลจะประทับฟ้องไว้หรือไม่เท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาสำหรับคดีส่วนแพ่ง
การอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลมีปัญหาเฉพาะคดีส่วนอาญาว่ามีมูลที่ศาลจะประทับฟ้องไว้หรือไม่เท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาสำหรับคดีส่วนแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวต้องมีเหตุจากการกระทำของจำเลยโดยตรง ไม่ใช่บุคคลภายนอก และต้องเคารพสิทธิผู้ทรงสิทธิบัตร
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองโจทก์เนื่องจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างการพิจารณาคดี แต่ผู้ที่ทำให้โจทก์เดือดร้อนคือ บริษัท ด. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่จำเลย ศาลจึงมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของโจทก์ให้กระทบกระเทือนถึงบริษัท ด. หาได้ไม่ การที่จำเลยออกสิทธิบัตรให้บริษัท ด. เป็นเหตุให้บริษัท ด. อ้างสิทธิจากสิทธิบัตรมาออกหนังสือบังคับมิให้โจทก์ทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาออกสิทธิบัตร ทั้งจำเลยไม่ได้ร่วมกับบริษัท ด. ออกหนังสือห้ามมิให้โจทก์ทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร ส่วนการที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ทำการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรได้โดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ด. ศาลก็มิอาจสั่งได้เพราะตราบใดที่ยังมิได้มีการเพิกถอนสิทธิบัตร บริษัท ด. ย่อมมีสิทธิห้ามมิให้บุคคลอื่นทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรได้ ศาลจะอนุญาตให้โจทก์กระทำการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรไม่ได้ โจทก์จึงไม่อาจขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมฟ้องอุทธรณ์ในคดีอาญาเมื่ออัยการไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมต้องเสียค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่ง
เดิมพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งมีคำเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินติดมากับฟ้องอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 253แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และพนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์คำฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์จึงเป็นอันยุติเพียงศาลชั้นต้นโจทก์ร่วมอุทธรณ์โดยลำพังโดยมีคำเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินติดมากับฟ้องอุทธรณ์ โจทก์ร่วมจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 254
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมฟ้องอุทธรณ์คดีอาญาที่มีคำขอเรียกค่าเสียหาย: เมื่ออัยการไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมต้องเสียค่าธรรมเนียม
เดิมพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งมีคำเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินติดมากับฟ้องอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 253 แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และพนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์คำฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์จึงเป็นอันยุติเพียงศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมอุทธรณ์โดยลำพังโดยมีคำเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินติดมากับฟ้องอุทธรณ์ โจทก์ร่วมจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 254
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่อัยการไม่ร่วมอุทธรณ์
เดิมพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งมีคำเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินติดมากับฟ้องอาญา. จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 253.แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และพนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์คำฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์จึงเป็นอันยุติเพียงศาลชั้นต้น. โจทก์ร่วมอุทธรณ์โดยลำพังโดยมีคำเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินติดมากับฟ้องอุทธรณ์. โจทก์ร่วมจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 254.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลและการรับอุทธรณ์: ศาลต้องเรียกค่าธรรมเนียมก่อนพิจารณา หากไม่เรียกเอง ผู้เสียหายไม่ต้องรับผิด
ในคดีเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สิน ฯลฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 254 ซึ่งให้เรียกค่าธรรมเนียมดั่งคดีแพ่งนั้น หากผู้อุทธรณ์ในคดีส่วนแพ่งมิได้เสียค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ขึ้นมา และไม่ปรากฏว่าผู้อุทธรณ์ขัดขืนไม่ยอมเสีย ไม่ชอบที่จะสั่งยกอุทธรณ์เสียเพียงเหตุที่มิได้เสียค่าธรรมเนียมโดยไม่พิเคราะห์ถึงมูลเหตุที่ไม่เสียนั้นเสียก่อน (ตามแนวฎีกาที่ 1426/2493, 389/2494, 1301 - 1302/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลและการรับอุทธรณ์: ศาลควรเรียกค่าธรรมเนียมก่อนยกอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระ
ในคดีเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สิน ฯลฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 254 ซึ่งให้เรียกค่าธรรมเนียมดั่งคดีแพ่งนั้น. หากผู้อุทธรณ์ในคดีส่วนแพ่งมิได้เสียค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ขึ้นมา และไม่ปรากฏว่าผู้อุทธรณ์ขัดขืนไม่ยอมเสีย. ไม่ชอบที่จะสั่งยกอุทธรณ์เสียเพียงเหตุที่มิได้เสียค่าธรรมเนียมโดยไม่พิเคราะห์ถึงมูลเหตุที่ไม่เสียนั้นเสียก่อน (ตามแนวฎีกาที่ 1426/2493,389/2494, 1301-1302/2501).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลและการรับอุทธรณ์: ศาลต้องเรียกค่าธรรมเนียมก่อนพิจารณา หากไม่เรียกเอง ผู้อุทธรณ์ไม่ต้องรับผิดชอบ
ในคดีเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สิน ฯลฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 254 ซึ่งให้เรียกค่าธรรมเนียมดั่งคดีแพ่งนั้น หากผู้อุทธรณ์ในคดีส่วนแพ่งมิได้เสียค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ขึ้นมา และไม่ปรากฏว่าผู้อุทธรณ์ขัดขืนไม่ยอมเสีย ไม่ชอบที่จะสั่งยกอุทธรณ์เสียเพียงเหตุที่มิได้เสียค่าธรรมเนียมโดยไม่พิเคราะห์ถึงมูลเหตุที่ไม่เสียนั้นเสียก่อน (ตามแนวฎีกาที่ 1426/2493,389/2494,1301-1302/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอรับเงินสินบนนำจับในคดีไม่ปิดป้ายราคา: อัยการไม่มีอำนาจขอแทน
ค่าสินบลนำจับในคดีไม่ปิดป้ายแสดงราคาสินค้าอัยยการไม่มีอำนาจขอแทน (อ้างฎีกาที่ 1043/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการขอเงินสินบลนำจับในคดีป้องกันการค้ากำไรเกินควร: พ.ร.บ.เฉพาะ vs. พ.ร.บ.ทั่วไป
เงินสินบลนำจับนี้ พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 5 บัญญัติให้ใช้แก่ความผิดซึ่งเกิดขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการค้าเกินกำไรเกินควรด้วย และมาตรา 9 ให้พนักงานอัยยการร้องขอต่อศาลให้จ่ายเงินสินบลหรือเงินรางวัล คำว่าสินบลหรือรางวัลตาม พระราชบัญญัตินี้หมายความว่า สินบลหรือรางวัลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ซึ่งให้จ่ายจากเงินราคาของกลางหรือค่าปรับ แต่ พ.ร.บ.ป้องกันการค้าเกินกำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 30 บัญญัติว่านอกจากโทษตามคำพิพากษาแล้ว ผู้กระทำผิดยังต้องเสียสินบลนำจับอีกนั้น พระราชบัญญัติ.ฉะบับหลังจึงบัญญัติเรื่องสินบลนำจับไว้เป็นพิเศษ แตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ พนักงานอัยยการจะขอแทนได้ฉะเพาะกรณีที่ขอตามมาตรา 8 จะอ้างมาตรา 9 มาใช้แก่เรื่องนี้ไม่ได้ อัยยการจึงไม่มีทางจะขอแทนได้ (อ้างฎีกาที่ 1043/2492)