พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องให้เปิดทางตามสัญญาซื้อขาย และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
คำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าขอให้จำเลยทั้งห้าเปิดทางให้โจทก์1ทางใน3ทางตามแผนที่เอกสารท้ายฟ้องแสดงว่าโจทก์พอใจในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งใน3เส้นทางนั้นแล้วฉะนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่1ที่2เปิดทางที่1ให้โจทก์ซึ่งตรงตามคำขอของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาอ้างว่าทางที่1ไม่สะดวกเพราะเป็นทางคดหักมุมไม่สะดวกในการใช้อีกได้เพราะเป็นการขัดกับคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์นั้นเอง ฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดทางเดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายเป็นคำขอหลักแห่งคดีคำขอที่เรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าอันเนื่องจากการไม่เปิดทางเดินให้โจทก์นั้นเป็นคำขอต่อเนื่องเมื่อคำขอหลักเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงคำขอต่อเนื่องแม้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่จะฟ้องหรือถูกจ.และส.ผู้รับโอนที่ดินโฉนดที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจากโจทก์ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือใช้ค่าทดแทนแต่อย่างใดคงเป็นสิทธิของจ. และส.ที่จะร้องสอดเข้าในคดีหากเห็นว่าตนมีส่วนตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนี้จึงยังไม่มีเหตุที่จะเรียกคนทั้งสองเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องทางสิทธิและการบังคับคดี ค่าเสียหายที่เหมาะสม และการไม่ชอบที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม
คำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า ขอให้จำเลยทั้งห้าเปิดทางให้โจทก์ 1 ทาง ใน 3 ทาง ตามแผนที่เอกสารท้ายฟ้องแสดงว่าโจทก์พอใจในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งใน 3 เส้นทางนั้นแล้วฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เปิดทางที่ 1 ให้โจทก์ซึ่งตรงตามคำขอของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาอ้างว่าทางที่ 1 ไม่สะดวกเพราะเป็นทางคดหักมุมไม่สะดวกในการใช้อีกได้เพราะเป็นการขัดกับคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์นั้นเอง ฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดทางเดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นคำขอหลักแห่งคดี คำขอที่เรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าอันเนื่องจากการไม่เปิดทางเดินให้โจทก์นั้นเป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อคำขอหลักเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คำขอต่อเนื่องแม้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่จะฟ้องหรือถูก จ.และ ส.ผู้รับโอนที่ดินโฉนดที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจากโจทก์ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือใช้ค่าทดแทนแต่อย่างใด คงเป็นสิทธิของ จ. และ ส.ที่จะร้องสอดเข้าในคดี หากเห็นว่าตนมีส่วนตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนี้ จึงยังไม่มีเหตุที่จะเรียกคนทั้งสองเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7311/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาร่วมรับผิดชอบหนี้ – การยินยอมเป็นผู้ค้ำประกัน – หน้าที่ชำระหนี้ – ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์
หนังสือที่จำเลยร่วมที่1ได้ทำขึ้นมีข้อความว่าตามที่จำเลยได้รับหมายเรียกจากศาลเพื่อดำเนินคดีในการใช้และมีโทรศัพท์มือถือพิพาทของโจทก์ไว้ในครอบครองโดยได้รับแจ้งจากโจทก์ให้นำเครื่องส่งมอบคืนและชำระหนี้ที่ยังคงค้างชำระอยู่นั้นจำเลยได้ส่งมอบคืนให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่20กุมภาพันธ์2533โดยส่งคืนผ่านทางจำเลยร่วมที่1และจำเลยร่วมที่2เพื่อนำมอบให้แก่โจทก์หากมีการดำเนินคดีหรือเรียกร้องค่าเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดจำเลยร่วมที่1จะเป็นผู้รับผิดชอบร่วมหนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอของจำเลยร่วมที่1ที่จะร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์การที่จำเลยนำสำเนาหนังสือนั้นมาแนบท้ายคำให้การของจำเลยและขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่1เข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยนั้นเป็นการสนองรับคำเสนอดังกล่าวของจำเลยร่วมที่1ทำให้เกิดสัญญาระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมที่1ซึ่งจำเลยร่วมที่1ยอมร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ดังนั้นเมื่อจำเลยต้องส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หากส่งคืนไม่ได้ต้องใช้ราคาและต้องรับผิดใช้เงินค่าเช่าที่ค้างชำระกับค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นให้แก่โจทก์จำเลยร่วมที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลยร่วมที่1ดังกล่าวนั้นด้วย ที่จำเลยร่วมที่1ฎีกาว่าหากไม่สามารถคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทให้โจทก์ได้จำเลยร่วมที่1ต้องใช้ราคาแทนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทตามราคาทรัพย์เครื่องละไม่เกิน15,000บาทมิใช่ในราคา97,000บาทนั้นคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งฎีกาของจำเลยร่วมที่1ข้อนี้เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย จำเลยได้ตกลงชำระค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทพร้อมอุปกรณ์ในอัตราเดือนละ1,850บาทกับค่าเช่าหมายเลขเครื่องวิทยุคมนาคมรวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ500บาทดังนั้นหากจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองคืนเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมสามารถนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยได้รับค่าเช่าในอัตราดังกล่าวได้การที่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ย่อมทำให้โจทก์เสียหายขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าในอัตราค่าเช่าดังกล่าวดังนั้นแม้โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทแก่จำเลยแล้วโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการให้เช่าเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทจนกว่าจะได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนได้ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่1ร่วมกันชำระเงินจำนวน27,338.27บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จเป็นการพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่1ร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญาเช่าจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน27,338.27บาทโดยให้จำเลยและจำเลยร่วมที่1ร่วมกันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จด้วยส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ2,350บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หรือชดใช้ราคานั้นเป็นการพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ใช้ค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7311/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับผิดร่วมกันจากการเช่าทรัพย์ และการเรียกร้องค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการเช่า
หนังสือที่จำเลยร่วมที่ 1 ได้ทำขึ้นมีข้อความว่า ตามที่จำเลยได้รับหมายเรียกจากศาลเพื่อดำเนินคดีในการใช้และมีโทรศัพท์มือถือพิพาทของโจทก์ไว้ในครอบครองโดยได้รับแจ้งจากโจทก์ให้นำเครื่องส่งมอบคืนและชำระหนี้ที่ยังคงค้างชำระอยู่นั้น จำเลยได้ส่งมอบคืนให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533โดยส่งคืนผ่านทางจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 เพื่อนำมอบให้แก่โจทก์หากมีการดำเนินคดีหรือเรียกร้องค่าเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด จำเลยร่วมที่ 1จะเป็นผู้รับผิดชอบร่วม หนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอของจำเลยร่วมที่ 1 ที่จะร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ การที่จำเลยนำสำเนาหนังสือนั้นมาแนบท้ายคำให้การของจำเลยและขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยนั้นเป็นการสนองรับคำเสนอดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 1 ทำให้เกิดสัญญาระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งจำเลยร่วมที่ 1 ยอมร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยต้องส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา และต้องรับผิดใช้เงินค่าเช่าที่ค้างชำระกับค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นให้แก่โจทก์ จำเลยร่วมที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ดังกล่าวนั้นด้วย
ที่จำเลยร่วมที่ 1 ฎีกาว่า หากไม่สามารถคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทให้โจทก์ได้ จำเลยร่วมที่ 1 ต้องใช้ราคาแทนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทตามราคาทรัพย์เครื่องละไม่เกิน 15,000 บาท มิใช่ในราคา 97,000 บาทนั้น คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยร่วมที่ 1ข้อนี้เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยได้ตกลงชำระค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทพร้อมอุปกรณ์ในอัตราเดือนละ 1,850 บาท กับค่าเช่าหมายเลขเครื่องวิทยุคมนาคมรวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ500 บาท ดังนั้น หากจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองคืนเครื่องวิทยุคมนาคม และอุปกรณ์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมสามารถนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยได้รับค่าเช่าในอัตราดังกล่าวได้ การที่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์เสียหายขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าในอัตราค่าเช่าดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทแก่จำเลยแล้วโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการให้เช่าเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทจนกว่าจะได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 27,338.27 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ เป็นการพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญาเช่าจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน27,338.27 บาท โดยให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จด้วย ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 2,350 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หรือชดใช้ราคานั้น เป็นการพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ใช้ค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบแต่อย่างใด
ที่จำเลยร่วมที่ 1 ฎีกาว่า หากไม่สามารถคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทให้โจทก์ได้ จำเลยร่วมที่ 1 ต้องใช้ราคาแทนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทตามราคาทรัพย์เครื่องละไม่เกิน 15,000 บาท มิใช่ในราคา 97,000 บาทนั้น คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยร่วมที่ 1ข้อนี้เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยได้ตกลงชำระค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทพร้อมอุปกรณ์ในอัตราเดือนละ 1,850 บาท กับค่าเช่าหมายเลขเครื่องวิทยุคมนาคมรวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ500 บาท ดังนั้น หากจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองคืนเครื่องวิทยุคมนาคม และอุปกรณ์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมสามารถนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยได้รับค่าเช่าในอัตราดังกล่าวได้ การที่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์เสียหายขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าในอัตราค่าเช่าดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทแก่จำเลยแล้วโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการให้เช่าเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทจนกว่าจะได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 27,338.27 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ เป็นการพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญาเช่าจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน27,338.27 บาท โดยให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จด้วย ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 2,350 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หรือชดใช้ราคานั้น เป็นการพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ใช้ค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากพายุ และการชดใช้ค่าเสียหายโดยบริษัทประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่า ในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้น จำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายไว้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขนส่งสินค้าทางทะเล จำเลยต้องพิสูจน์ความร้ายแรงผิดปกติและป้องกันไม่ได้
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ในการขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่า ในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้น จำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8
ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา57 (2) จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้ จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายใน พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
ในการขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่า ในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้น จำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8
ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา57 (2) จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้ จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายใน พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากพายุ และประเด็นการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเลข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่าในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้นจำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายได้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา58วรรคสองเมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21กุมภาพันธ์พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล, เหตุสุดวิสัย, และการชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเลข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่าในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้นจำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายไว้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา58วรรคสองเมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21กุมภาพันธ์พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องไม่สิ้นสุดแม้โอนสิทธิ, โจทก์ร่วมมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ได้
ขณะเสนอคำฟ้อง โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง แม้ภายหลังฟ้องคดีโจทก์จะโอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์ร่วม อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป โจทก์ร่วมเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากโจทก์ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหลังโอนกรรมสิทธิ์ & การเข้าเป็นโจทก์ร่วม: แม้โอนกรรมสิทธิ์หลังฟ้อง อำนาจฟ้องยังอยู่ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ได้
ขณะที่ฟ้องโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งอยู่โดยละเมิดได้ แม้ภายหลังฟ้องแล้วโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ร่วม อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้ว ยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ร่วมก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)