พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องไม่สิ้นสุดแม้โอนสิทธิ, โจทก์ร่วมมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ได้
ขณะเสนอคำฟ้อง โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง แม้ภายหลังฟ้องคดีโจทก์จะโอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์ร่วม อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป โจทก์ร่วมเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากโจทก์ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในคดีขับไล่
เมื่อคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์จะขับไล่ผู้ร้องด้วย ดังที่อ้างว่าเป็นบริวารของจำเลย จึงถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้เช่าที่พิพาทเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิจากการฟ้องขับไล่
เมื่อคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์จะขับไล่ผู้ร้องด้วยดังที่อ้างว่าเป็นบริวารของจำเลย จึงถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4235/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องมีส่วนได้เสียในคดีนี้ ศาลฎีกาพิพากษายืนคำสั่งไม่ให้ผู้ร้องเข้าเป็นจำเลยร่วม
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตเข้าเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 2 เป็นการยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) ซึ่งต้องปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีจึงจะมีสิทธิเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน ให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันอันเป็นการให้รับผิดตามบุคคลสิทธิปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 2ให้การเกี่ยวกับผู้ร้องแต่เพียงว่า แต่เดิมจำเลยที่ 1 ติดต่อขอกู้เงินผู้ร้อง แต่ผู้ร้องไม่ให้กู้จำเลยที่ 1 จึงหลอกลวงผู้ร้องว่าจะกู้เงินโจทก์ ขอให้ผู้ร้องติดต่อจำเลยที่ 2 ให้ออกหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ โดยนำเงินฝากประจำของผู้ร้องเป็นหลักประกันแทน ไม่มีข้อความใดในคำฟ้องหรือคำให้การของจำเลยที่ 2ที่พาดพิงว่าผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมกับบุคคลใดต่อบุคคลใด หรือแทนบุคคลใดทั้งในปัจจุบันและอนาคต หากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2ร่วมกับหรือแทนจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ คำพิพากษาก็หามีผลผูกพันไปถึงผู้ร้องหรือว่าผู้ร้องจะต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2โดยถูกยึดเงินฝากประจำที่นำมาเป็นหลักประกันแต่อย่างใดไม่จำเลยที่ 2 จะมีสิทธิยึดเงินฝากประจำของผู้ร้องหรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้ร้องต่อไปเป็นอีกคดีหนึ่งซึ่งผลแห่งคำพิพากษาหรือข้อเท็จจริงที่ศาลฟังในคดีนี้ย่อมจะไม่ผูกพันผู้ร้อง ฉะนั้น ผู้ร้องย่อมจะมีสิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ในคดีนั้น ไม่มีเหตุผลหรือความเป็นธรรมอย่างไรที่ผู้ร้องจะต้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ ผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนี้ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นจำเลยร่วม: การมีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดี
ที่ดินที่ผู้ร้องเช่าซื้อมาเป็นคนละส่วนกับที่พิพาทที่โจทก์ฟ้อง ขับไล่จำเลย แม้ผู้ร้องจะได้ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินจากว. เช่นเดียวกับจำเลยตลอดจนผลแห่งคดีนี้อาจทำให้จำเลยต้องแพ้คดีมีผลกระทบจนเป็นที่หวั่นเกรงว่าโจทก์อาจนำคดีมาฟ้องร้องได้ก็ไม่ใช่เป็นผลแห่งคดีโดยตรงที่กระทบหรือผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิตามกฎหมายของผู้ร้อง จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดยังคงอยู่แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ และการเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมของผู้รับโอน
ขณะโจทก์ที่ 1 เสนอคำฟ้องต่อศาล โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้กระทำละเมิด แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทยกให้โจทก์ที่ 2 อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ที่ 2 ผู้รับโอนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 57(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมยังคงมีอยู่แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ และผู้รับโอนมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์
ขณะโจทก์ที่ 1 เสนอคำฟ้องต่อศาล โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้กระทำละเมิด แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทยกให้โจทก์ที่ 2 อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ที่ 2 ผู้รับโอนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 57(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้สอดเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องแจ้งให้คู่ความคัดค้านก่อน หากไม่ปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาเป็นโมฆะ
การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำเนาคำร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์และจำเลยทั้งสองเพื่อให้มีโอกาสคัดค้านก่อนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 21(2) และ มาตรา 57(2) แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมได้โดยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวแต่ประการใด กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นคำคู่ความตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 27 บัญญัติไว้ ฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินมาในเรื่องการร้องสอดนับตั้งแต่การยื่นคำร้องไม่ว่าดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ตลอดจนคำสั่งหรือคำพิพากษาในเรื่องนี้ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วยจำเลยร่วมจะฎีกาต่อมาอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้โต้แย้งไว้ในเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการเสียให้ถูกต้องก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(1)(2) ประกอบด้วยมาตรา 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาท ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอเป็นจำเลยร่วมได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าโจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิม ซึ่งให้ผู้ร้องและจำเลยอยู่อาศัย จำเลยให้การว่าเจ้าของเดิมได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมกับมอบการครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทให้ผู้ร้องแล้วจำเลยครอบครองแทนผู้ร้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทของผู้ร้องกับโจทก์ มีผลเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องอันถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดิน: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอเป็นจำเลยร่วมในคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าโจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิม ซึ่งให้ผู้ร้องและจำเลยอยู่อาศัย จำเลยให้การว่าเจ้าของเดิมได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมกับมอบการครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทให้ผู้ร้องแล้วจำเลยครอบครองแทนผู้ร้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยมีข้อโต้เถียงเป็นประเด็นพิพาทถึงสิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทของผู้ร้องกับโจทก์ มีผลเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องอันถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2).