คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดีของผู้ร่วมลงทุน: ผลกระทบจากการจดทะเบียนเช่าในราคาต่ำกว่ามูลค่าหุ้น
เมื่อโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้เข้าหุ้นก่อสร้างอาคารร่วมกับผู้ร้องแล้ว หากโจทก์จะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้เช่าในอัตราค่าเซ้งที่ต่ำกว่าค่าหุ้นที่ผู้ร้องลงทุนไป เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าตามฟ้อง ผู้ร้องต้องขาดทุน ผลของคำพิพากษาย่อมกระทบต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงได้ชื่อว่ามีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ผู้ร้องชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดีของผู้มีส่วนได้เสียจากการลงทุนร่วมและการเช่าทรัพย์สิน
เมื่อโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้เข้าหุ้นก่อสร้างอาคารร่วมกับผู้ร้องแล้ว หากโจทก์จะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้เช่าในอัตราที่ต่ำกว่าค่าหุ้นที่ผู้ร้องลงทุนไป เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าตามฟ้อง ผู้ร้องต้องขาดทุน ผลของคำพิพากษาย่อมกระทบต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงได้ชื่อว่ามีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ผู้ร้องชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดีของผู้มีส่วนได้เสียจากการลงทุนร่วมและการเช่าทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องอ้างว่าได้เข้าหุ้นก่อสร้างอาคารร่วมกับผู้ร้อง ขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้เช่าในอัตราค่าเซ้งที่ต่ำกว่าค่าหุ้นที่ผู้ร้องลงทุนไป ถ้าหากศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าตามฟ้องผู้ร้องต้องขาดทุน ผลของคำพิพากษาย่อมกระทบต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(2) จึงร้องสอด เข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: เงื่อนไขและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้นมีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา30และ31เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นนอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้วการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ดังนั้นเมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้วผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วมประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา30และ31แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วดังนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้นเป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะคู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: เงื่อนไขและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้น มีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 และ 31 เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้ว การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ ดังนั้น เมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้ และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วม ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา 30 และ 31 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้
การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน: หนังสือมอบอำนาจใช้ได้หากไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และไม่กระทบสิทธิอื่นตามกฎหมาย
ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ได้ระบุชื่อจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 โดย ธ.ผู้รับมอบอำนาจ และ ธ.ลงชื่อในคำให้การว่าผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 3 ส่วนหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 3 ขอมอบอำนาจให้ ธ.กระทำกิจการแทนจนเสร็จสิ้น แม้ในคำให้การข้อ 1 จะใช้คำว่าเข้าเป็นจำเลยที่ 3 แทนผู้มอบอำนาจในคดีนี้ ก็มีความหมายเพียงให้ดำเนินคดีแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจเท่านั้น นอกจากนี้ที่หนังสือมอบอำนาจได้ระบุกิจการบางอย่างซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 บัญญัติห้ามไว้ ก็เป็นเพียงทำให้ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำกิจการบางอย่างเท่านั้น หาเป็นผลทำให้หนังสือมอบอำนาจเสียไปทั้งหมดไม่การมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจใช้ได้แม้ระบุข้อจำกัดบางประการ การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนจำเลยสมบูรณ์
ตามคำให้การของจำเลยที่3ได้ระบุชื่อจำเลยที่3ว่าจำเลยที่3โดยธ.ผู้รับมอบอำนาจและธ.ลงชื่อในคำให้การว่าผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่3ส่วนหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การมีข้อความระบุว่าจำเลยที่3ขอมอบอำนาจให้ธ.กระทำกิจการแทนจนเสร็จสิ้นแม้ในคำให้การข้อ1จะใช้คำว่าเข้าเป็นจำเลยที่3แทนผู้มอบอำนาจในคดีนี้ก็มีความหมายเพียงให้ดำเนินคดีแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจเท่านั้นนอกจากนี้ที่หนังสือมอบอำนาจได้ระบุกิจการบางอย่างซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60บัญญัติห้ามไว้ก็เป็นเพียงทำให้ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำกิจการบางอย่างเท่านั้นหาเป็นผลทำให้หนังสือมอบอำนาจเสียไปทั้งหมดไม่การมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ใช้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อสิ่งของสูญหาย: ข้อจำกัดความรับผิดตามระเบียบและข้อยกเว้น
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหาย ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ ดังนี้ เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิม ส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้น และต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์ มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 ไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141
จำเลยที่ 2 มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 48 ตามที่จำเลยที่1 กำหนดให้ส่ง ทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใด ถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่ 2 รับไป จำเลยที่ 2 ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหาย จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ในการขนส่งสิ่งของสูญหาย และขอบเขตการประกันภัย
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ดังนี้เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิมส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้นและต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการโจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้ จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักรจำเลยที่1จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่1ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา29ไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141. จำเลยที่2มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่1ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใดถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่2รับไปจำเลยที่2ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดิน: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะรับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
จ. ทำหนังสือสัญญาจะซื้อที่ดินจาก ป. แล้วร้องขอแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยในนามของ ป. หลังจากนั้น จ. นำที่ดินดังกล่าวมาจัดสรรขายในนามของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงทุนปลูกบ้านลงในที่ดินแต่ละแปลงเป็นการแสดงออกให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายทั่วไปว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเมื่อโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมด้วยบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระเงินครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบกุญแจบ้านที่โจทก์ซื้อแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับมอบการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน
จำเลยที่ 2 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแทนจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แม้จำเลยที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทไม่เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คดีเดิมจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ได้ฟ้องขับไล่ ส. ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 3 ในคดีนี้พิพาทกันอยู่ โจทก์ในคดีนี้ได้ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าวและได้ร้องขอให้นำคดีดังกล่าวมาพิจารณาพิพากษารวมกับคดีนี้ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะการร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 ดังนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 คดีนี้หรือไม่จำเลยที่ 2 คดีนี้มีอำนาจโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 3 คดีนี้หรือไม่จึงไม่ได้รับการพิจารณาในคดีดังกล่าว ประเด็นในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกับคดีดังกล่าว ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
of 30