คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะรับโอนโดยมีค่าตอบแทนและสุจริต
จ. ทำหนังสือสัญญาจะซื้อที่ดินจาก ป. แล้วร้องขอแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยในนามของ ป. หลังจากนั้นจ. นำที่ดินดังกล่าวมาจัดสรรขายในนามของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงทุนปลูกบ้านลงในที่ดินแต่ละแปลงเป็นการแสดงออกให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายทั่วไปว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเมื่อโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมด้วยบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระเงินครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบกุญแจบ้านที่โจทก์ซื้อแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับมอบการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน
จำเลยที่ 2 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแทนจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แม้จำเลยที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่2 จำเลยที่ 3 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทไม่เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คดีเดิมจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ได้ฟ้องขับไล่ ส. ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 3ในคดีนี้พิพาทกันอยู่ โจทก์ในคดีนี้ได้ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าวและได้ร้องขอให้นำคดีดังกล่าวมาพิจารณาพิพากษารวมกับคดีนี้ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะการร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 ดังนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 คดีนี้หรือไม่จำเลยที่ 2คดีนี้มีอำนาจโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 3 คดีนี้หรือไม่จึงไม่ได้รับการพิจารณาในคดีดังกล่าว ประเด็นในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกับคดีดังกล่าว ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินจากการอายัดระหว่างพิจารณาคดี ไม่ใช่การขอเป็นจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างจากจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องสอด แม้คำร้องจะใช้คำว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วม แต่เนื้อความเป็นเรื่องตั้งข้อพิพาทขึ้นใหม่ว่าทรัพย์สินที่ศาลสั่งอายัดชั่วคราวระหว่างพิจารณาเป็นของผู้ร้อง โดยผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วน กับ ธ. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯจำเลยได้ทำการประมูลกิจการของจำเลยและผู้ร้องประมูลได้ โจทก์กับ ธ.สมคบกันทำสัญญาว่าจ้างปลอม ดังนี้ หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องสอดคำพิพากษาคดีนี้ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิในทรัพย์สินของจำเลยที่ผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ด้วยคำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำร้องเพื่อขอความคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องอันเกิดจากข้อพิพาทคดีนี้เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดี ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) หาใช่ผู้ร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา 57(2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินและผลของการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน การฟ้องแย่งครอบครองที่ไม่สมบูรณ์
ที่ดินของจำเลยร่วม โจทก์ฟ้องว่าเป็นของโจทก์ ขอให้ห้ามจำเลยขัดขวางมิให้โจทก์ออก น.ส.3 จำเลยร่วมมีส่วนได้เสีย ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้
ขณะจำเลยเบิกความเป็นพยาน จำเลยร่วมได้นั่งฟังคำเบิกความอยู่ด้วย ถ้าศาลเห็นว่าคำเบิกความของจำเลยร่วมเป็นพยาน เป็นที่เชื่อฟังได้ ศาลไม่ถือว่าคำพยานนั้นผิดระเบียบก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าร่วมเป็นจำเลยร่วมหลังคดีถึงที่สุด: สิทธิของผู้ให้เช่าเมื่อจำเลยแพ้คดี
ผู้ร้องสอดขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วม อ้างเหตุว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินผู้ร้องสอด ไม่ได้เช่าจากโจทก์ หากจำเลยแพ้คดี อาจฟ้องร้องผู้ร้องสอดให้เสียหาย ผู้ร้องสอดจึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องและภายหลังปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีไปแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์เป็นเหตุให้คดีถึงที่สุด สิทธิในการดำเนินคดีของจำเลยจึงไม่มีอีกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าอุปการะและค่าปลงศพกรณีบุตรนอกสมรส & การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของมารดาผู้ตาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีหน้าที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตายไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิสัญญาเช่าซื้อต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิโดยชัดแจ้ง การมอบแบบพิมพ์โอนสิทธิไม่ถือเป็นความยินยอม
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 และผู้ร้องได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์คันนั้น แม้โจทก์ยินยอมมอบแบบพิมพ์โอนสิทธิการเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 และผู้ร้องพร้อมทั้งแนะนำให้ผู้ร้องเรียกคู่สัญญาเช่าซื้อจากจำเลยมาเก็บไว้ แต่การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเป็นของคู่สัญญาคือโจทก์จำเลยโดยเฉพาะ ผู้ร้องและจำเลยจะโอนให้แก่กันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากโจทก์ หรือมิฉะนั้นผู้ร้องและจำเลยต้องทำสัญญากับโจทก์โดยตรงเพียงแต่โจทก์มอบแบบพิมพ์โอนการเช่าซื้อให้จำเลยและผู้ร้องจะถือว่าโจทก์ยินยอมเป็นหนังสือยังไม่ได้ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าช่วงและการร้องสอดในคดีขับไล่: ศาลมีดุลพินิจไม่อนุญาตให้ร้องสอดได้หากขัดแย้งกับสิทธิจำเลย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่ามีผู้ร้องสอดอ้างว่าเช่าห้องจากจำเลยข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ให้เช่า จำเลยเช่าจากเจ้าของจำเลยขาดนัดให้การและพิจารณาดังนี้ผู้ร้องสอดใช้สิทธินอกเหนือไปจากจำเลยไม่ได้ ศาลยกคำร้องสอด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อเป็นโจทก์ร่วมต้องมีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี โดยทรัพย์มรดกที่กล่าวอ้างต้องเป็นทรัพย์เดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกส่วนแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม โดยอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม ปรากฏว่าทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเป็นทรัพย์ต่างรายกับทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้อง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะร้องสอดเข้ามาในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อเป็นโจทก์ร่วมในคดีมรดกต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกที่ฟ้องร้อง หากเป็นทรัพย์ต่างรายกัน ย่อมไม่มีสิทธิร้องสอด
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกส่วนแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม โดยอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมเมื่อปรากฏว่าทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเป็นทรัพย์ต่างรายกับทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้อง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะร้องสอดเข้ามาในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อใช้สิทธิเพิ่มเติม และผลกระทบเมื่อจำเลยเดิมขาดนัด
ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม มาตรา 57(2) ใช้สิทธินอกจากที่จำเลยเดิมมีอยู่ในขณะร้องสอด จำเลยเดิมขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ผู้ร้องสอดจึงยื่นคำให้การและสืบพยานตามข้อต่อสู้ไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาว่าผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียหรือไม่ ไม่อนุญาตให้ร้องสอด
of 30