พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14503/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ขัดแย้งกับคำรับสารภาพเดิม และการแก้ไขโทษทางอาญาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าโทรศัพท์จำนวน 1 เครื่อง ที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "NOKIA" ของผู้เสียหาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้โดยชอบแล้ว โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีการปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้เสียหายดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามคำฟ้องดังกล่าว แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาแล้วจำเลยกลับอุทธรณ์โดยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดเพราะจำเลยเป็นเพียงผู้รับจ้างขายสินค้า มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์ ไม่ทราบแหล่งที่มาของโทรศัพท์ของกลาง รวมทั้งไม่ทราบว่าโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยทำงานเป็นพนักงานขายโทรศัพท์ที่ร้านเกิดเหตุเพียงสองเดือนเศษก่อนถูกจับกุมจึงไม่มีความถนัดรอบรู้ในชนิดสินค้าที่เพิ่งรับหน้าที่ขาย ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงซึ่งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9897/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาต้องไม่กลับคำวินิจฉัยเดิม การยึดทรัพย์สินบังคับคดีเพิ่มเติมต้องใช้วิธีอุทธรณ์
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 143 นั้น การที่ศาลจะมีคำสั่งเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในคำพิพากษาได้จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับรายการที่ต้องมีในคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 แล้ว พบว่าคำพิพากษาของศาลดังกล่าวในหน้า 2 ตั้งแต่ข้อความว่า "พิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแล้ว คดีฟังได้ว่า" ถึงหน้า 7 บรรทัดที่ 7 สิ้นสุดที่ข้อความว่า "และประกาศของโจทก์เอกสารหมาย จ.24 ถึง จ.26" เป็นส่วนของเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบ ส่วนหน้า 7 บรรทัดที่ 7 ตั้งแต่ข้อความว่า "คดีฟังได้ดังกล่าว" จนสิ้นสุดบรรทัดที่ 11 นั้นเป็นส่วนของเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อกฎหมาย หลังจากที่ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามข้อความก่อนหน้านี้ ตามรายการในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ส่วนข้อความในหน้า 7 ตั้งแต่ข้อความว่า "พิพากษาให้..." เป็นต้นไปจนจบนั้นเป็นส่วนของคำวินิจฉัยของศาลตามรายการในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (5) ซึ่งเมื่อพิจารณารายละเอียดในส่วนของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กล่าววินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับอำนาจของโจทก์ที่จะยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้า หลังจากการบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ว่าจะสามารถยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าเพื่อบังคับคดีได้อีกหรือไม่ และเมื่อพิจารณารายละเอียดต่อไปในส่วนของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (5) ก็ไม่ปรากฏเช่นกันว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยให้โจทก์มีอำนาจยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าเพื่อบังคับคดีได้อีก ดังนั้น คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางทั้งสองส่วนจึงสอดคล้องกัน ไม่ใช่เรื่องที่คำพิพากษาเกิดข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลังโดยอาศัยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 143 แต่โจทก์ต้องใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 38 เมื่อโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ คำพิพากษาดังกล่าวจึงถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5305/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ระงับ แม้ศาลศุลกากรจะงดฟ้องคดีศุลกากร เนื่องจากเป็นคนละกรรม
ปัญหาว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 เป็นอันระงับไปแล้วหรือไม่ แม้จำเลยทั้งสามจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสามจึงยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
ความผิดฐานร่วมกันลักลอบนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งหลอดไฟฟ้าดังกล่าวโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ และความผิดฐานร่วมกันนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ดังกล่าวที่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้แสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 21 และ 48 แต่ละฐานแยกออกจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำความผิดสำเร็จลง ตลอดจนบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน จึงเป็นการกระทำความผิดคนละกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่ ดังนั้น แม้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำความตกลงและอธิบดีกรมศุลกากรได้งดการฟ้องร้องจำเลยทั้งสามตามมาตรา 102 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง แต่ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกันเป็นอันระงับไปด้วยแต่อย่างใด
ความผิดฐานร่วมกันลักลอบนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งหลอดไฟฟ้าดังกล่าวโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ และความผิดฐานร่วมกันนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ดังกล่าวที่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้แสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 21 และ 48 แต่ละฐานแยกออกจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำความผิดสำเร็จลง ตลอดจนบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน จึงเป็นการกระทำความผิดคนละกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่ ดังนั้น แม้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำความตกลงและอธิบดีกรมศุลกากรได้งดการฟ้องร้องจำเลยทั้งสามตามมาตรา 102 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง แต่ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกันเป็นอันระงับไปด้วยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16563/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัย
สำหรับในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 การพิจารณาว่าคำฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเท่าที่โจทก์บรรยายไว้แล้วในคำฟ้องเท่านั้น โดยเทียบเคียงบทบัญญัติตามมาตราในกฎหมายที่โจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยว่า โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่บัญญัติไว้ในมาตราเหล่านั้นครบถ้วนหรือไม่ เพราะปัญหาว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ใช่ปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงว่าอย่างไร ครบองค์ประกอบของความผิดนั้นหรือไม่ เพราะคำฟ้องต้องชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้เสียก่อน การที่โจทก์จะอุทธรณ์จึงต้องอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่า เมื่อพิจารณาจากการบรรยายฟ้องแล้ว โจทก์เห็นว่าคำบรรยายฟ้องนั้นชอบด้วยกฎหมายในส่วนนี้แล้วอย่างไร คำวินิจฉัยของศาลขัดหรือคลาดเคลื่อนกับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้อย่างไร เพื่อให้เห็นได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เมื่อโจทก์เพียงแต่อุทธรณ์โดยยกเอาข้อเท็จจริงตามคำเบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้องของพยานโจทก์มากล่าวอ้างว่าได้เบิกความไว้ว่าอย่างไรแล้วสรุปว่าคำบรรยายฟ้องของโจทก์แจ้งชัดแล้ว จึงไม่ใช่การอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเพื่อโต้แย้งข้อวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์
ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า แต่ตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผนผังของโรงไฟฟ้าและข้อมูลอื่น ๆ ที่โจทก์ศึกษาเป็นข้อมูลการค้า โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลมเป็นต้นกำลังเกี่ยวกับเรื่องใดที่โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าเก็บไว้เป็นความลับ แม้โจทก์จะไม่ต้องระบุถึงรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บเป็นความลับนั้น โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและใช้มาตรการใดที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ แต่โจทก์หาได้ระบุถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในฟ้องไม่ ทั้งโจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลที่โจทก์เก็บเป็นความลับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับอย่างไร รวมทั้งการกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เรื่องใดให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าโดยเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด แต่โจทก์หาได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 ดังกล่าวไม่ นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 ว่า จำเลยทั้งห้าได้เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งจำเลยทั้งห้าได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการใดตามพระราชบัญญัตินี้ โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าในเอกสารประกอบคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 1 หาดกังหัน 2 และหาดกังหัน 3 ของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้จำเลยทั้งห้ามีเหตุอันควรจะได้รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำขัดต่อแนวทางเช่นว่านั้นโดยนำไปทำเป็นเอกสารประกอบของคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 เคยเป็นกรรมการและกรรมการบริหารของโจทก์และจำเลยที่ 4 เคยเป็นผู้บริหารระดับสูงของโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงทราบข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าทั้งหมดตามคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าและเอกสารประกอบในคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 2 ของโจทก์เป็นอย่างดีและสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของโจทก์ในทางแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 เท่านั้น มิใช่การบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าแต่อย่างใด ดังนี้ ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาดังกล่าวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 คำฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 และมาตรา 35 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า แต่ตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผนผังของโรงไฟฟ้าและข้อมูลอื่น ๆ ที่โจทก์ศึกษาเป็นข้อมูลการค้า โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลมเป็นต้นกำลังเกี่ยวกับเรื่องใดที่โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าเก็บไว้เป็นความลับ แม้โจทก์จะไม่ต้องระบุถึงรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บเป็นความลับนั้น โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและใช้มาตรการใดที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ แต่โจทก์หาได้ระบุถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในฟ้องไม่ ทั้งโจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลที่โจทก์เก็บเป็นความลับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับอย่างไร รวมทั้งการกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เรื่องใดให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าโดยเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด แต่โจทก์หาได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 ดังกล่าวไม่ นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 ว่า จำเลยทั้งห้าได้เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งจำเลยทั้งห้าได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการใดตามพระราชบัญญัตินี้ โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าในเอกสารประกอบคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 1 หาดกังหัน 2 และหาดกังหัน 3 ของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้จำเลยทั้งห้ามีเหตุอันควรจะได้รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำขัดต่อแนวทางเช่นว่านั้นโดยนำไปทำเป็นเอกสารประกอบของคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 เคยเป็นกรรมการและกรรมการบริหารของโจทก์และจำเลยที่ 4 เคยเป็นผู้บริหารระดับสูงของโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงทราบข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าทั้งหมดตามคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าและเอกสารประกอบในคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 2 ของโจทก์เป็นอย่างดีและสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของโจทก์ในทางแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 เท่านั้น มิใช่การบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าแต่อย่างใด ดังนี้ ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาดังกล่าวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 คำฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 และมาตรา 35 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16562/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า ต้องระบุรายละเอียดองค์ประกอบความผิดและข้อมูลสนับสนุนครบถ้วน มิฉะนั้นเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ
สำหรับในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 การพิจารณาว่าคำฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเท่าที่โจทก์บรรยายไว้แล้วในคำฟ้องเท่านั้น โดยเทียบเคียงบทบัญญัติตามมาตราในกฎหมายที่โจทก์มีคำขอ ให้ลงโทษจำเลยว่า โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่บัญญัติไว้ในมาตราเหล่านั้นครบถ้วนหรือไม่ เพราะปัญหาว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ใช่ปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่าอย่างไร ครบองค์ประกอบของความผิดนั้นหรือไม่ เพราะคำฟ้องต้องชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณาต่อไปได้เสียก่อน การที่โจทก์จะอุทธรณ์จึงต้องอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่า เมื่อพิจารณาจากการบรรยายฟ้องแล้ว โจทก์เห็นว่าคำบรรยายฟ้องนั้นชอบด้วยกฎหมายในส่วนนี้แล้วอย่างไร คำวินิจฉัยของศาลขัดหรือคลาดเคลื่อนกับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้อย่างไร เพื่อให้เห็นได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เมื่อโจทก์เพียงแต่อุทธรณ์โดยยกเอาข้อเท็จจริงตามคำเบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้องของพยานโจทก์มากล่าวอ้างว่าได้เบิกความไว้ว่าอย่างไร แล้วสรุปว่าคำบรรยายฟ้องของโจทก์แจ้งชัดแล้ว จึงไม่ใช่การอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเพื่อโต้แย้งข้อวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า แต่ฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผนผังของโรงไฟฟ้าและข้อมูลอื่น ๆ ที่โจทก์ศึกษาเป็นข้อมูลการค้าและข้อมูลในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลมเป็นต้นกำลังเกี่ยวกับเรื่องใดที่โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าเก็บไว้เป็นความลับ แม้โจทก์จะไม่ต้องระบุถึงรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บเป็นความลับนั้น โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและใช้มาตรการใดที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ ทั้งมิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลที่โจทก์เก็บเป็นความลับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับอย่างไร ทั้งการกระทำที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 33 ต้องระบุในฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เรื่องใดให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าโดยเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ว่า จำเลยทั้งสามได้เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งจำเลยทั้งสามได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการใดตามพระราชบัญญัตินี้ โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันเปิดเผย เอาไปหรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าในเอกสารประกอบคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 3 ของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้จำเลยทั้งสามมีเหตุอันควรจะได้รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำขัดต่อแนวทางเช่นว่านั้นโดยนำไปทำเป็นเอกสารประกอบของคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้ออ้างว่า จำเลยทั้งสามละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของโจทก์ในทางแพ่งเท่านั้น ที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามกระทำการที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกันอันเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าในทางแพ่งดังกล่าว ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้ปฏิบัติผิดสัญญาใดต่อโจทก์หรือจำเลยทั้งสามกระทำละเมิดหรือกระทำในประการที่เป็นการจูงใจผู้ใดให้ละเมิดความลับอันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน จำเลยทั้งสามได้ติดสินบนผู้ใด หรือจำเลยทั้งสามได้ข่มขู่ผู้ใด ฉ้อโกงผู้ใด ลักทรัพย์ของผู้ใด รับของโจรของผู้ใด หรือจำเลยทั้งสามกระทำการจารกรรมหรือใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใดตามความหมายของ "การกระทำที่มีลักษณะเป็นการขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน" ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า แต่ฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผนผังของโรงไฟฟ้าและข้อมูลอื่น ๆ ที่โจทก์ศึกษาเป็นข้อมูลการค้าและข้อมูลในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลมเป็นต้นกำลังเกี่ยวกับเรื่องใดที่โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าเก็บไว้เป็นความลับ แม้โจทก์จะไม่ต้องระบุถึงรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บเป็นความลับนั้น โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและใช้มาตรการใดที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ ทั้งมิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลที่โจทก์เก็บเป็นความลับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับอย่างไร ทั้งการกระทำที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 33 ต้องระบุในฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เรื่องใดให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าโดยเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ว่า จำเลยทั้งสามได้เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งจำเลยทั้งสามได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการใดตามพระราชบัญญัตินี้ โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันเปิดเผย เอาไปหรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าในเอกสารประกอบคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 3 ของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้จำเลยทั้งสามมีเหตุอันควรจะได้รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำขัดต่อแนวทางเช่นว่านั้นโดยนำไปทำเป็นเอกสารประกอบของคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้ออ้างว่า จำเลยทั้งสามละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของโจทก์ในทางแพ่งเท่านั้น ที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามกระทำการที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกันอันเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าในทางแพ่งดังกล่าว ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้ปฏิบัติผิดสัญญาใดต่อโจทก์หรือจำเลยทั้งสามกระทำละเมิดหรือกระทำในประการที่เป็นการจูงใจผู้ใดให้ละเมิดความลับอันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน จำเลยทั้งสามได้ติดสินบนผู้ใด หรือจำเลยทั้งสามได้ข่มขู่ผู้ใด ฉ้อโกงผู้ใด ลักทรัพย์ของผู้ใด รับของโจรของผู้ใด หรือจำเลยทั้งสามกระทำการจารกรรมหรือใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใดตามความหมายของ "การกระทำที่มีลักษณะเป็นการขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน" ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18929/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดขนส่งทางอากาศ: การแจ้งความเสียหายและประเด็นนอกประเด็นการวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สุจริตโดยอ้างว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงที่มาแห่งสิทธิในการฟ้องคดีนี้อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานในข้อเท็จจริงที่ทำให้โจทก์มีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาอำนาจฟ้องและคำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยได้ให้การโต้แย้งในเรื่องอำนาจฟ้องและคำฟ้องเคลือบคลุมไว้แล้ว แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยแถลงสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว โดยกลับมาอุทธรณ์บ่ายเบี่ยงว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สุจริตเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบรับขนของทางอากาศของจำเลย โดยตัวแทนผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง อันแสดงว่าผู้ส่งยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าผู้ส่งตกลงโดยชัดแจ้งให้จำเลยจำกัดจำนวนเงินที่ต้องรับผิดไม่เกิน 17 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม ตามที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด ทั้งการจำกัดจำนวนเงินความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศเช่นนี้เป็นกรณีที่คู่สัญญาจะตกลงกัน ไม่ใช่กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงว่ามีการตกลงกันโดยผู้ส่งตกลงยอมรับโดยชัดแจ้งหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยประเด็นนี้มาเป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานนอกประเด็นโดยไม่ชอบ ไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
เมื่อเครื่องบินของจำเลยมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและมีการขนถ่ายสินค้าลงจากเครื่องบินเพื่อนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) พนักงานคลังสินค้าได้ตรวจพบความเสียหายของสินค้าก่อนนำเข้าเก็บในคลังสินค้า และได้ออกรายงานความเสียหายของสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งพร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบแล้วในวันที่ตรวจพบความเสียหาย อันแสดงว่าจำเลยได้ทราบถึงความเสียหายตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว จึงหาจำเป็นที่จะต้องให้ผู้รับตราส่งแจ้งแก่จำเลยซ้ำอีกไม่
ส่วนที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบรับขนของทางอากาศของจำเลย โดยตัวแทนผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง อันแสดงว่าผู้ส่งยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าผู้ส่งตกลงโดยชัดแจ้งให้จำเลยจำกัดจำนวนเงินที่ต้องรับผิดไม่เกิน 17 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม ตามที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด ทั้งการจำกัดจำนวนเงินความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศเช่นนี้เป็นกรณีที่คู่สัญญาจะตกลงกัน ไม่ใช่กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงว่ามีการตกลงกันโดยผู้ส่งตกลงยอมรับโดยชัดแจ้งหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยประเด็นนี้มาเป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานนอกประเด็นโดยไม่ชอบ ไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
เมื่อเครื่องบินของจำเลยมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและมีการขนถ่ายสินค้าลงจากเครื่องบินเพื่อนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) พนักงานคลังสินค้าได้ตรวจพบความเสียหายของสินค้าก่อนนำเข้าเก็บในคลังสินค้า และได้ออกรายงานความเสียหายของสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งพร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบแล้วในวันที่ตรวจพบความเสียหาย อันแสดงว่าจำเลยได้ทราบถึงความเสียหายตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว จึงหาจำเป็นที่จะต้องให้ผู้รับตราส่งแจ้งแก่จำเลยซ้ำอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7766/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: การไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์
ระหว่างการพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย วันที่ 19 มกราคม 2553 ก่อนสืบพยานศาลสอบถามทนายจำเลยเกี่ยวกับปัญหาอำนาจศาลตามคำให้การจำเลย ทนายจำเลยแถลงยังติดใจในประเด็นดังกล่าว และศาลวินิจฉัยว่ากรณีไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหรือไม่ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย โดยไม่ได้เสนอปัญหาให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย อันเป็นคำสั่งในระหว่างการพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง และศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2553 ทั้งนี้โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 226 จึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8268/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับตามสัญญาประกัน เนื่องจากไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรงกับศาล
ตามสัญญาประกันมีผู้ประกันเป็นผู้ทำสัญญาประกันต่อศาล ผู้ประกันจึงเป็นคู่สัญญากับศาล หากมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าวผู้ประกันเป็นฝ่ายอาจถูกบังคับตามสัญญาประกันแต่เพียงผู้เดียว จำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงไม่จำต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกัน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3878/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหายจากการบรรจุตู้คอนเทนเนอร์
ใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.14 นั้น โจทก์เป็นผู้อ้างสำเนาใบตราส่งดังกล่าวเป็นพยานของตน และไม่มีคู่ความโต้แย้งความไม่ถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ว่าเอกสารหมาย จ.14 เป็นเพียงสำเนาศาลไม่ควรรับฟัง
ผู้เอาประกันภัยว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 จัดการขนส่งสินค้าทั้ง 5 กล่อง ที่ผู้เอาประกันภัยสั่งซื้อจากบริษัท ด. ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง จำเลยที่ 1 มอบหมายจำเลยที่ 2 ติดต่อขอรับสินค้าทั้ง 5 กล่อง จากผู้ขาย โดยจำเลยที่ 2 ออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.12 ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่ง หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ให้ขนส่งสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 3 รับขนส่งและออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.13 ให้จำเลยที่ 2 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับตราส่ง แต่จำเลยที่ 3 ไม่มีเรือจึงว่าจ้างให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ขนส่งเงื่อนไขการส่งแบบ FCL/FCL โดยจำเลยที่ 3 รับตู้คอนเทนเนอร์ไปบรรจุสินค้าตามฟ้องรวมทั้งสินค้าอื่นเข้าตู้คอนเทนเนอร์ ปิดผนึกตู้และนำตู้ดังกล่าวไปส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 4 ซึ่งจำเลยที่ 4 ได้ออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.14 ให้แก่จำเลยที่ 3 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงอยู่ในสถานะเป็นผู้ขนส่งอื่น การที่ใบตราส่งเอกสารหมาย จ.12 และ จ.14 ระบุหมายเหตุว่า FREIGHT COLLECT ย่อมหมายความว่า ค่าระวางขนส่งให้เรียกเก็บที่ท่าปลายทางและใบตราส่งเอกสารหมาย จ.12 ที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ซื้อระบุชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับตราส่ง แต่ก็มีข้อความด้านล่างระบุว่า เฉพาะการติดต่อขอรับสินค้าให้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 และตามข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อจำเลยที่ 4 ขนส่งสินค้าตามฟ้องมาถึงท่าเรือกรุงเทพแล้ว จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการมาถึงของสินค้าให้ผู้เอาประกันภัยทราบ ให้ผู้เอาประกันภัยมาติดต่อกับจำเลยที่ 1 และจ่ายค่าระวางเรือให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้รับบำเหน็จค่าระวางเรืออันเนื่องมาจากตกลงรับจ้างจัดการขนส่งสินค้าตามฟ้องรวมการขนส่งด้วย จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่งประเภทไม่มีเรือเป็นของตนเองทั้งในการตกลงรับสินค้าตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ก็มิได้แสดงให้ผู้เอาประกันภัยได้ทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หรือผู้ขนส่งรายใด พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นผู้ขนส่งด้วย
จำเลยที่ 3 รับสินค้าทั้ง 5 กล่อง มาจากจำเลยที่ 2 แล้ว ตามใบตราส่งเอกสารหมาย จ.13 และจำเลยที่ 3 มีหน้าที่นำสินค้าทั้ง 5 กล่อง บรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์ปิดตู้ผนึกซีลกำกับด้วยหมายเลข นำตู้คอนเทนเนอร์ไปส่งมอบแก่จำเลยที่ 4 บรรทุกขึ้นเรือเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพท่าปลายทาง ไม่ปรากฏมีร่องรอยการเปิดตู้คอนเทนเนอร์มาก่อนหน้านี้ เมื่อเปิดตู้คอนเทนเนอร์พบว่า สินค้าตามฟ้องมีเพียง 3 กล่อง แสดงว่าสินค้า 2 กล่อง ที่สูญหายไปนั้น มิได้ถูกบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งแต่แรก แสดงว่าสินค้า 2 กล่อง สูญหายไปในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แต่โจทก์ก็ไม่ได้พยานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดในลักษณะละเลยหรือไม่เอาใจใส่ อาจมีคนร้ายมาลักเอาสินค้า 2 กล่อง ไปก่อนปิดตู้คอนเทนเนอร์ โดยจำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ไม่ทราบก็เป็นได้ ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า ความสูญหายของสินค้าตามฟ้องเกิดขึ้นเพราะความละเลยหรือไม่เอาใจใส่ของจำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ทั้งที่รู้ว่าความสูญหายของสินค้าอาจเกิดขึ้นได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนำข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งมาบังคับแก่ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชอบแล้ว
ผู้เอาประกันภัยว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 จัดการขนส่งสินค้าทั้ง 5 กล่อง ที่ผู้เอาประกันภัยสั่งซื้อจากบริษัท ด. ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง จำเลยที่ 1 มอบหมายจำเลยที่ 2 ติดต่อขอรับสินค้าทั้ง 5 กล่อง จากผู้ขาย โดยจำเลยที่ 2 ออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.12 ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่ง หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ให้ขนส่งสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 3 รับขนส่งและออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.13 ให้จำเลยที่ 2 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับตราส่ง แต่จำเลยที่ 3 ไม่มีเรือจึงว่าจ้างให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ขนส่งเงื่อนไขการส่งแบบ FCL/FCL โดยจำเลยที่ 3 รับตู้คอนเทนเนอร์ไปบรรจุสินค้าตามฟ้องรวมทั้งสินค้าอื่นเข้าตู้คอนเทนเนอร์ ปิดผนึกตู้และนำตู้ดังกล่าวไปส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 4 ซึ่งจำเลยที่ 4 ได้ออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.14 ให้แก่จำเลยที่ 3 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงอยู่ในสถานะเป็นผู้ขนส่งอื่น การที่ใบตราส่งเอกสารหมาย จ.12 และ จ.14 ระบุหมายเหตุว่า FREIGHT COLLECT ย่อมหมายความว่า ค่าระวางขนส่งให้เรียกเก็บที่ท่าปลายทางและใบตราส่งเอกสารหมาย จ.12 ที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ซื้อระบุชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับตราส่ง แต่ก็มีข้อความด้านล่างระบุว่า เฉพาะการติดต่อขอรับสินค้าให้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 และตามข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อจำเลยที่ 4 ขนส่งสินค้าตามฟ้องมาถึงท่าเรือกรุงเทพแล้ว จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการมาถึงของสินค้าให้ผู้เอาประกันภัยทราบ ให้ผู้เอาประกันภัยมาติดต่อกับจำเลยที่ 1 และจ่ายค่าระวางเรือให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้รับบำเหน็จค่าระวางเรืออันเนื่องมาจากตกลงรับจ้างจัดการขนส่งสินค้าตามฟ้องรวมการขนส่งด้วย จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่งประเภทไม่มีเรือเป็นของตนเองทั้งในการตกลงรับสินค้าตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ก็มิได้แสดงให้ผู้เอาประกันภัยได้ทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หรือผู้ขนส่งรายใด พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นผู้ขนส่งด้วย
จำเลยที่ 3 รับสินค้าทั้ง 5 กล่อง มาจากจำเลยที่ 2 แล้ว ตามใบตราส่งเอกสารหมาย จ.13 และจำเลยที่ 3 มีหน้าที่นำสินค้าทั้ง 5 กล่อง บรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์ปิดตู้ผนึกซีลกำกับด้วยหมายเลข นำตู้คอนเทนเนอร์ไปส่งมอบแก่จำเลยที่ 4 บรรทุกขึ้นเรือเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพท่าปลายทาง ไม่ปรากฏมีร่องรอยการเปิดตู้คอนเทนเนอร์มาก่อนหน้านี้ เมื่อเปิดตู้คอนเทนเนอร์พบว่า สินค้าตามฟ้องมีเพียง 3 กล่อง แสดงว่าสินค้า 2 กล่อง ที่สูญหายไปนั้น มิได้ถูกบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งแต่แรก แสดงว่าสินค้า 2 กล่อง สูญหายไปในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แต่โจทก์ก็ไม่ได้พยานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดในลักษณะละเลยหรือไม่เอาใจใส่ อาจมีคนร้ายมาลักเอาสินค้า 2 กล่อง ไปก่อนปิดตู้คอนเทนเนอร์ โดยจำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ไม่ทราบก็เป็นได้ ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า ความสูญหายของสินค้าตามฟ้องเกิดขึ้นเพราะความละเลยหรือไม่เอาใจใส่ของจำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ทั้งที่รู้ว่าความสูญหายของสินค้าอาจเกิดขึ้นได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนำข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งมาบังคับแก่ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง, อุทธรณ์ข้ามทุนทรัพย์, ประเด็นข้อเท็จจริง, ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ผู้ส่งทั้งสองซึ่งเอาประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ไม่ได้ตกลงไว้โดยชัดแจ้งให้จำเลยผู้ขนส่งจำกัดความรับผิดตามใบตราส่งได้นั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาจากบริษัท ย. ผู้เอาประกันภัยรายหนึ่ง 133,585.24 บาท และรับช่วงสิทธิมาจากบริษัท พ. ผู้เอาประกันภัยอีกรายหนึ่ง 76,394.38 บาท แม้โจทก์จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยรวมมาเป็นคดีเดียวกันก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามฟ้องดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยต่างรายกัน จึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่แยกต่างหากจากกันโดยสิ้นเชิง ดังนี้ในการพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องถือทุนทรัพย์ในสิทธิเรียกร้องแต่ละรายที่โจทก์รับช่วงสิทธิแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาแต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 41 แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งรับอุทธรณ์ส่วนดังกล่าวมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์อีกข้อหนึ่งว่า แม้สินค้าที่ขนส่งจะเป็นอัญมณีแต่ผู้ส่งทั้งสองได้บอกถึงราคาแก่ผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 แล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดนั้น แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์อีกข้อหนึ่งว่า แม้สินค้าที่ขนส่งจะเป็นอัญมณีแต่ผู้ส่งทั้งสองได้บอกถึงราคาแก่ผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 แล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดนั้น แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง