พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้ามลำดับศาล: การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้เสียหายต้องยื่นต่อศาลอุทธรณ์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1อุทธรณ์ มาตรา 193 วรรคหนึ่ง บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โดยให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาอนุโลมบังคับใช้แก่การอุทธรณ์ข้อกฎหมายของโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายหรือไม่ไม่ได้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในข้อกฎหมายดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกานั้น เป็นการไม่ชอบเพราะเป็นการยื่นอุทธรณ์ข้ามลำดับของศาลขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตำรวจในการจับกุมและสอบสวนนอกเขตท้องที่: ความผิดต่อเนื่องและเหตุความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)จ่าสิบตำรวจ ส. มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะ ในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส. ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่ สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78,81 และ 92 จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดซึ่งหน้าเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจ ส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบ เมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95 เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่ รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส. ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81(1),92(2) การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน และสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมี อำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก) พนักงานอัยการโจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมและสอบสวนข้ามเขตท้องที่: ความผิดซึ่งหน้าและต่อเนื่อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และตามมาตรา 17 ยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ซึ่งอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นอันหมายความว่าเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจนั้น ย่อมเป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน แล้วได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 1 ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร เป็นการต่อเนื่องกันทันทีเช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการจับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกันซึ่งหากล่าช้าจำเลยที่ 1 อาจหลบหนีไปได้และจากการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังได้เมทแอมเฟตามีนอีกด้วย ดังนั้น แม้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยที่ 1ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม ก็ย่อมมีอำนาจจับกุมได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 81(1),92(2) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนและสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3)และวรรคสาม (ก) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุม-สืบสวนข้ามเขต: ความผิดต่อเนื่องและความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) จ่าสิบตำรวจ ส.มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้ และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้น เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส.ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78, 81 และ 92
จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส.จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1 ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส.ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 81 (1), 92 (2)
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนและสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามป.วิ.อ.มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสาม (ก) พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส.จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1 ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส.ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 81 (1), 92 (2)
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนและสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามป.วิ.อ.มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสาม (ก) พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนต่อเนื่องในคดีรับของโจร: สถานที่จับกุมไม่ใช่ข้อจำกัด
จำเลยขับรถยนต์กระบะบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลางมุ่งออกจากจังหวัดปราจีนบุรีจะข้ามไปฝั่งประเทศกัมพูชา แล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง อำเภอกบินทร์บุรี ตรวจค้นและควบคุมตัวไว้ เมื่อทราบว่าผู้เสียหายได้แจ้งความไว้แล้วที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางว่ารถจักรยานยนต์ของกลางถูกยักยอกไป เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจึงเดินทางไปร่วมจับกุมจำเลยกับเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงอำเภอกบินทร์บุรีดังกล่าว เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาที่ทำการตำรวจทางหลวง อำเภอกบินทร์บุรี ตรวจดูรถจักรยานยนต์ที่ถูกยึดไว้ แล้วยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้เสียหาย จึงชี้ให้จับกุมจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางกับพวกได้ร่วมจับกุมจำเลยและได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย จึงถือว่าจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจับกุมโดยชอบแล้วและการที่จำเลยกับพวกร่วมกันบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คัน ของกลางบนรถยนต์กระบะเดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศกัมพูชาก็เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 19 (3) ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิด ทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยกับพวกในท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีด้วย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ยังจับตัวจำเลยกับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่า จำเลยกับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีก็ตาม ก็หาทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางพ้นจากเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 19 วรรคสาม (ก) ดังนี้พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยกับพวกที่ศาลจังหวัดลำปางได้ โดยถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว ตามป.วิ.พ.มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีอาญา: สถานที่จับกุม vs. สถานที่เกิดเหตุ - การรับของโจรต่อเนื่อง
จำเลยขับรถยนต์กระบะบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลาง มุ่งออกจากจังหวัดปราจีนบุรีจะข้ามไปฝั่งประเทศกัมพูชา แล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง อำเภอกบินทร์บุรี ตรวจค้นและควบคุมตัวไว้ เมื่อทราบว่าผู้เสียหายได้แจ้งความ ไว้แล้วที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางว่ารถจักรยานยนต์ ของกลางถูกยักยอกไป เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำปางจึงเดินทางไปร่วมจับกุมจำเลยกับ เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงอำเภอกบินทร์บุรี ดังกล่าวเมื่อผู้เสียหายเดินทางมาที่ทำการตำรวจทางหลวง อำเภอ กบินทร์บุรี ตรวจดูรถจักรยานยนต์ที่ถูกยึดไว้ แล้วยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้เสียหาย จึงชี้ให้จับกุมจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางกับพวก ได้ร่วมจับกุมจำเลยและได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย จึงถือว่าจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอ เมืองลำปางจับกุมโดยชอบแล้วและการที่จำเลยกับพวกร่วมกัน บรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คัน ของกลางบนรถยนต์กระบะ เดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศกัมพูชาก็เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(3) ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ เมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง กับเหตุที่เกิด ทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยกับพวกในท้องที่ อำเภอกบินทร์บุรีด้วย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสาม(ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ ยังจับตัวจำเลยกับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยกับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีก็ตามก็หาทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางพ้นจากเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 19 วรรคสาม(ก) ดังนี้พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยกับพวกที่ศาลจังหวัดลำปางได้ โดยถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีรับของโจร: สถานที่จับกุมและการรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน โดยคงจำคุกจำเลยคนละไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า การที่รถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ที่จำเลยทั้งสาม พฤติการณ์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 กับพวกรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ในการจับกุมมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย จึงถือว่าจำเลยทั้งสามถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจับกุมตามกฎหมายโดยชอบและการที่จำเลยทั้งสามร่วมกันบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลางบนรถยนต์กระบะเดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศเขมรนั้น เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตามมาตรา 19(3)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น ร้อยตำรวจเอก อ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกในท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีด้วยร้อยตำรวจเอกอ. จึงเป็นพนักงานผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้วเข้ากรณีตาม มาตรา 19 วรรคสาม (ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ยังจับตัว จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่ อำเภอกบินทร์บุรีก็ตาม ก็หาทำให้ร้อยตำรวจเอก อ. พ้นจากการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้พนักงานอัยการจังหวัดลำปางโจทก์จึงฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ โดยถือว่ามีการสอบสวน โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการอุทธรณ์คดีอาญา: ต้องผ่านศาลอุทธรณ์ก่อน จึงจะฎีกาได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคหนึ่ง บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ดังเช่นคดีแพ่ง ดังนั้น การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีอาญาของศาลชั้นต้น จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยริบของกลาง เหตุโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ ส่วนประเด็นละเมิดลิขสิทธิ์ศาลแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวัสดุโทรทัศน์ได้ร่วมกันมีวิดีโอเทปภาพยนตร์เรื่องมังกรหยกจำนวน 12 ม้วน ซึ่งจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมกับวิดีโอเทปเรื่องอื่น ๆ อีกจำนวน 472 ม้วน ซึ่งยังไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจเทปและวัสดุโทรทัศน์ไว้ในสถานที่ประกอบกิจการของตน ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 35 และขอให้ริบเฉพาะวิดีโอเทปเรื่องอื่น ๆ ดังกล่าวจำนวนเพียง472 ม้วน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ให้ริบวิดีโอเทปของกลางทั้งหมดจำนวน484 ม้วน จำเลยอุทธรณ์ว่า ของกลางที่โจทก์อ้างว่ามิได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากเจ้าพนักงานนั้น เป็นเพียงมิได้เสนอให้เจ้าพนักงานตรวจเสียก่อนตามขั้นตอนเท่านั้นหากวิดีโอเทปดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของเจ้าพนักงาน ก็อาจได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานก็ได้ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็น ไม่สมควรริบ และต้องคืนของกลางแก่จำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าวีดีโอเทปของกลางทั้งหมดจำนวน 484 ม้วน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงาน และจำเลยเป็นเพียงผู้ดูแลหรือลูกจ้างของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิดีโอเทปจำนวน 484 ม้วน ไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (1) ศาลจึงไม่ริบจึงเป็นการวินิจฉัยนอกหรือเกินไปกว่าที่กล่าวไว้ในอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ชอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 นอกจากนี้เมื่อปรากฏว่าในชั้นพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบว่า เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยให้การปฏิเสธ และจำเลยซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความต่อสู้ว่าด.เป็นเจ้าของวิดีโอเทปของกลางทั้งหมด จำเลยไม่ใช่เจ้าของวิดีโอเทปดังกล่าวและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิดีโอเทปของกลาง เช่นนี้จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้คืนของกลางดังกล่าวแก่จำเลย และกรณีเช่นว่านี้ศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และข้ออุทธรณ์ของจำเลยย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อให้ริบของกลางตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 และ ป.วิ.อ.มาตรา195 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยนำเอาวิดีโอเทปละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจำนวน 12 ม้วน ออกโฆษณา ขายเสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่าเพื่อการค้า และขอให้พิพากษาให้วิดีโอเทปของกลางดังกล่าวตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยโจทก์ไม่ได้ขอริบนั้น เมื่อไม่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวิดีโอเทปของกลางดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม และศาลชั้นต้นไม่พิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นกลับไปพิพากษาให้ริบวิดีโอเทปของกลาง เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง แม้โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ และเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นไม่ริบวิดีโอเทปของกลางนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยนำเอาวิดีโอเทปละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจำนวน 12 ม้วน ออกโฆษณา ขายเสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่าเพื่อการค้า และขอให้พิพากษาให้วิดีโอเทปของกลางดังกล่าวตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยโจทก์ไม่ได้ขอริบนั้น เมื่อไม่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวิดีโอเทปของกลางดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม และศาลชั้นต้นไม่พิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นกลับไปพิพากษาให้ริบวิดีโอเทปของกลาง เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง แม้โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ และเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นไม่ริบวิดีโอเทปของกลางนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9436/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ค้นคดียาเสพติดในหลายท้องที่: ตำรวจน้ำมีอำนาจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของเจ้าของท้องที่
ความผิดที่เกิดขึ้นในหลายท้องที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(2) พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ความผิดส่วนหนึ่งได้กระทำขึ้นในเขตอำนาจจึงมีอำนาจสอบสวนได้ และการค้นได้กระทำในเวลากลางวันต่อหน้าจำเลย โดยพันตำรวจ ส. ซึ่งเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่จึงมีอำนาจตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของเจ้าพนักงานตำรวจเจ้าของท้องที่