พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องและต่างท้องที่: ผู้รับผิดชอบในการสอบสวน
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามที่โจทก์นำสืบ กับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขัน กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) (4) และวรรคสอง ฉะนั้น พันตำรวจโท ว. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันในขณะเกิดเหตุ ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสาม (ก) การที่พันตำรวจโท ว.ได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยทั้งสองได้แล้ว พันตำรวจโท ว.คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้น แต่พันตำรวจโท ว.มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา19 วรรคสาม (ข) ได้ เมื่อพันตำรวจโท ว.มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องและต่างท้องที่: การกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดดังกล่าวกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันรวมทั้งท้องที่สถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันและสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ท่ามะกา พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคหนึ่ง(3),(4)และวรรคสองพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนแต่จำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอ ท่ามะกา พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ก)พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันคงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจเท่านั้นทั้งไม่เข้ากรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็น พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ข)เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้อัยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา140,141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จก็ถือไม่ได้ว่าได้มี การสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคำขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญา: การกำหนดผู้รับผิดชอบตามสถานที่จับกุมและสถานที่เกิดเหตุ
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามที่โจทก์นำสืบกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันรวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบางบางยี่ขัน กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคหนึ่ง(3)(4)และวรรคสองฉะนั้นพันตำรวจโทว. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันในขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกาซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ก)การที่พันตำรวจโทว. ได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยทั้งสองได้แล้วพันตำรวจโทว. คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้นแต่พันตำรวจโทว. มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ข)ได้เมื่อพันตำรวจโทว. มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา140และ141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดแจ้งความเท็จที่เกิดต่างท้องที่ และการรอการลงโทษจากคุณงามความดี
จำเลยขายลดเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ต่อมาผู้เสียหายนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัดสาขานราธิวาสซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสและธนาคารดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสให้ดำเนินคดีจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 แต่จำเลยได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเภอสุไหงโกลก ว่าเช็คฉบับดังกล่าวหายไปพนักงานอัยการเห็นว่าการแจ้งความดังกล่าวเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและแจ้งความเท็จ จึงสั่งให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนราธิวาสสอบสวนเพิ่มเติมและแจ้งข้อหาต่อจำเลยเพิ่มเติมดังนี้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยในข้อหาแจ้งความเท็จได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(4) และเมื่อเป็นความผิดหลายกระทงย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรม ต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน ซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จโดยไม่ต้องขอผัดฟ้อง พร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลในคดีความผิดต่อเนื่อง: ลักทรัพย์และรับของโจร
เมื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์เกิดที่อำเภอไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี แม้ความผิดฐานรับของโจรจะเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทรโยคจึงมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในข้อหารับของโจรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 และเมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอไทรโยค ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดต่อเนื่อง-รับของโจร: ความผิดเกิดขึ้นต่างท้องที่ แต่เชื่อมโยงกัน
แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกัน โดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่งนำไปจำหน่ายแก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่งดังนั้นพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีต่อเนื่อง: ปล้นทรัพย์-รับของโจร, อำนาจศาล, การปรับบทความผิด
แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจทก์เกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกันโดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่งนำไปจำหน่ายแก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง ดังนั้นพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19
จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24
จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีทุจริต - การพิจารณาโทษรวมเมื่อศาลไม่รวมสำนวน
คดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นเรื่องทุจริตเงินบำนาญพิเศษจากส่วนราชการเดียวกันเพียงแต่อ้างชื่อผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญพิเศษต่างรายกันหน่วยราชการซึ่งเป็นผู้เสียหายก็รายเดียวกัน โจทก์อาจฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำความผิดในคดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนเดียวกัน และพยานหลักฐานน่าจะเป็นชุดเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแล้วศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวนแล้ว ศาลก็นับโทษจำเลยต่อกันไม่ได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีทุจริตหลายกระทง หากศาลมิได้รวมการพิจารณาคดี โทษจำคุกต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
การกระทำความผิดหลายกรรม ถ้า โจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิด และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกัน ก็จะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตาม ป.อ. มาตรา 91 แต่เมื่อโจทก์แยกฟ้องโดยศาลมิได้สั่งให้พิจารณาคดีรวมกัน และศาลลงโทษจำคุกจำเลยทุกกรรมเต็ม ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวนแล้ว ดังนี้ จะนับโทษจำเลยต่อกันไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษในคดีทุจริตเงินบำนาญพิเศษหลายกระทง หากศาลมิได้รวมการพิจารณาคดี โทษจำคุกรวมอาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
คดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นเรื่องทุจริตเงินบำนาญพิเศษจากส่วนราชการเดียวกันเพียงแต่อ้างชื่อผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญพิเศษต่างรายกันหน่วยราชการซึ่งเป็นผู้เสียหายก็รายเดียวกัน โจทก์อาจฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำความผิดในคดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนเดียวกัน และพยานหลักฐานน่าจะเป็นชุดเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแล้วศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวนแล้ว ศาลก็นับโทษจำเลยต่อกันไม่ได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติไว้