คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลิต กฐินะสมิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเครื่องหมายการค้าฮาลาลและจำหน่ายสินค้าปลอม การลงโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 2.1 ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเครื่องดื่มชื่อผลิตภัณฑ์ "ชารสเก๊กฮวยพร้อมดื่มตรา Manobu" แล้วบรรจุในขวดพลาสติกและมีฉลากปรากฏเครื่องหมายรับรองฮาลาลที่โจทก์เคยอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้ อันเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองฮาลาลของโจทก์ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล จากโจทก์ และบรรยายฟ้องในข้อ 2.2 แต่เพียงว่า ภายหลังจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดดังกล่าว จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าชื่อผลิตภัณฑ์ "ชารสเก๊กฮวยพร้อมดื่มตรา Manobu" ที่มีเครื่องหมายรับรองฮาลาลปลอมตามฟ้องข้อ 2.1 โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุให้ชัดเจนว่า เครื่องหมายรับรองที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม และสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายมีจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่า การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรอง และจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมดังกล่าว เป็นการกระทำโดยมีจำนวนเครื่องหมายรับรองที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมขึ้น กับจำนวนเครื่องหมายรับรองปลอมที่ปรากฏอยู่บนสินค้าที่จำเลยทั้งสองร่วมกันนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกัน ประกอบกับตามฟ้องของโจทก์ระบุว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมในช่วงเวลาเดียวกัน คือ ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม 2550 เวลากลางวัน จนถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและร่วมกันนำสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมดังกล่าวออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายคอมพิวเตอร์แก้ไขใหม่ ยกเว้นความผิดนำเข้าข้อมูลเท็จหากไม่มีเจตนาทุจริตหรือหลอกลวง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มี พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และให้ใช้ความที่บัญญัติใหม่แทน โดยมาตรา 14 ที่บัญญัติใหม่ ได้ยกเลิกความในมาตรา 14 (1) จากเดิมที่บัญญัติว่า "(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน" โดยบัญญัติความใน (1) ใหม่เป็นว่า "(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา" กรณีเป็นเรื่องกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดองค์ประกอบความผิดฐานนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จว่าต้องเป็นการกระทำที่มีเจตนาพิเศษด้วย กล่าวคือ ต้องมีเจตนาพิเศษ "โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง" จึงจะเข้าเกณฑ์เป็นความผิด ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยเป็นผู้นำข่าวอันเป็นเท็จลงในเว็บไซต์ที่จำเลยเป็นผู้ดูแล โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเรื่องการกระทำโดยทุจริตหรือหลอกลวง แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (เดิม) แต่ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (ที่แก้ไขใหม่) ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 จึงเป็นกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4033/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสมคบกันก่อการร้าย พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน และสะสมกำลังพล ศาลพิพากษาแก้โทษจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป กระทำความผิดฐานก่อการร้ายโดยใช้กำลังประทุษร้าย พยายามฆ่าเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งกระทำการตามหน้าที่ สะสมกำลังพลหรืออาวุธเพื่อก่อการร้าย กระทำการอื่นใดเพื่อก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคลอื่น ก่อให้เกิดหรือน่าจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ อันเป็นการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและความผิดที่จำเลยกับพวกสมคบกันเพื่อกระทำมีกำหนดโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และจำเลยกับพวกร่วมกันสะสมกำลังพล อาวุธและทรัพย์สินเพื่อก่อการร้าย อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ลงโทษจำเลยกับพวกฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร และฐานร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธหรือสมคบกันเพื่อก่อการร้ายในการกระทำคราวเดียวกัน จึงเป็นการกระทำความผิดโดยมีเจตนาเดียวกัน อันถือเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธหรือสมคบกันเพื่อก่อการร้าย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2148/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ – กรรมเดียว vs. หลายกรรม: การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกัน
ข้อความที่จำเลยทำให้ปรากฏทางอินเทอร์เน็ตโดยการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในคดีนี้รวม 3 กระทง และคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร รวม 3 กระทง แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างก็เป็นเพียงในรายละเอียดและวันที่กระทำความผิด กล่าวคือ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดในวันที่ 11 มกราคม 2556 วันที่ 23 มกราคม 2556 และวันที่ 24 มกราคม 2556 ส่วนคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดในวันที่ 11 มกราคม 2556 วันที่ 23 มกราคม 2556 และวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ย่อมต้องพิจารณาถึงเจตนาในการกระทำความผิดเป็นสำคัญว่ามีเจตนาเดียวกันหรือไม่ประกอบกันด้วย ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยได้พิมพ์หรือทำให้ปรากฏตามสำเนาข้อความแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์เฟซบุ๊ก ซึ่งข้อความคดีนี้และข้อความตามคำฟ้องในคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร ต่อเนื่องกันตลอดมาตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2556 เวลา 8.17 นาฬิกา ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 9.07 นาฬิกา บนเว็บไซต์เฟซบุ๊กในหัวข้อเรื่องทำนองเดียวกัน คือ "ทำไมไอ้ P จึงต้องด่าคนขายพระ ลป.บุญศรี" และข้อความทั้งหมดต่างกล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมเป็นคนไม่ดี มีพฤติกรรมเสียหาย หลอกลวงหาผลประโยชน์จากวัด รับซื้อของโจร นอกจากนี้ปรากฏว่า จำเลยได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) ซึ่งเป็นข้อหาเดียวกันกับคดีนี้และเวลาเกิดเหตุอยู่ในระยะเวลาคาบเกี่ยวต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้และคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร จึงเป็นกรรมเดียวกัน ดังนั้น เมื่อคดีของศาลจังหวัดสมุทรสาครที่พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาครเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อน ศาลจังหวัดสมุทรสาครและศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำพิพากษาแล้วว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดเพียงกรรมเดียว หาใช่ 3 กรรม ดังที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีสาขาเมื่อคดีหลักถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีในส่วนที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำให้การ (ที่ถูก คำร้อง) ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งอ้างว่าผู้ซื้อทรัพย์ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ ปรากฏว่าไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชั้นขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นคดีสาขาของคดีดังกล่าว ถึงแม้จะพิจารณาต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์หรือเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8488/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อฎีกาเรื่องนอกฟ้อง/นอกสำนวน เนื่องจากศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ยกฟ้องตามมาตรา 220 ป.วิ.อ.
คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ข้อห้ามมิให้ฎีกาเช่นว่านี้ ย่อมห้ามมิให้ฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ที่ร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาอนุญาตให้โจทก์ฎีการะบุชัดเจนเจาะจงว่า โจทก์ประสงค์ขอให้ผู้พิพากษาดังกล่าวพิจารณาอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำร้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดจึงอนุญาตให้ฎีกา ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้โจทก์ฎีกาเฉพาะในปัญหาข้อเท็จจริงตามความประสงค์ของโจทก์หาได้มีผลเป็นการอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยนอกคำฟ้องและนอกสำนวนหรือไม่นั้น อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8036/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: แก้ไขฟ้องเพิ่มเติมข้อหาละเมิดหลังฟ้องคดีอสังหาริมทรัพย์เดิม ไม่ตัดอำนาจศาลชั้นต้น
โจทก์ยื่นฟ้องในตอนแรกเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ และศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้พิจารณาโดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 ทวิ และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ต่อมาโจทก์แก้ไขฟ้องเพิ่มเติมข้อหาละเมิดอีกหนึ่งข้อ โดยไม่ได้ขอให้บังคับโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อีก ถือว่าเป็นกรณีที่มีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจศาลเหนือคดีนั้น การขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวเกิดจากจำเลยประมูลขายอสังหาริมทรัพย์พิพาทแก่บุคคลภายนอกซึ่งต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ผู้เกี่ยวข้องและพยานหลักฐานส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการโอนอสังหาริมทรัพย์ย่อมอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ทั้งคู่ความก็ไม่ได้โต้แย้งกันในเรื่องนี้ตั้งแต่แรก และไม่ปรากฏเหตุว่าจะทำให้คู่ความและผู้เกี่ยวข้องกับคดีไม่ได้รับความสะดวก หรือทำให้การบริหารจัดการคดีของศาลชั้นต้นไม่เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ย่อมไม่ตัดอำนาจของศาลชั้นต้นที่รับฟ้องคดีไว้แล้วที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (2) ทั้งศาลฎีกาได้พิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมไว้พิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดรวมกับคำฟ้องเดิมของโจทก์ต่อไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกเรื่องเขตอำนาจศาลมาพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยเหตุที่โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวย่อมเป็นการไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยสั่งค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ไม่ชัดเจนว่าเป็นพับในชั้นไหนอย่างไร ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งใหม่ให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องชัดเจน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7628/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และการครอบครองที่ดินในนิคมสร้างตนเอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท กับส่งมอบที่ดินคืนและชำระค่าเสียหาย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และในการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาดังกล่าว ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงก่อนว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือครอบครองแทนจำเลยที่ 1 และต้องพิจารณาว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องมีคุณสมบัติกับปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 รวมทั้งระเบียบของนิคมสร้างตนเองคลองน้ำใสหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปได้ เป็นฎีกาที่จะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ฎีกาของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามนำยาเสพติดเข้าประเทศ แม้ถูกควบคุมตัวก่อนรับของ ก็ยังมีความผิดฐานพยายาม
จำเลยที่ 1 ข้ามเขตแดนไปสั่งซื้อเมทแอมเฟตามีน โดยจำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นเป็นอย่างดี ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานควบคุมตัวไว้ก่อน ทำให้ไม่มีอิสระที่จะไปรับเมทแอมเฟตามีนตามที่นัดหมายกับพวกไว้ได้ โดยจำเลยที่ 2 ไปรับเมทแอมเฟตามีนก็เพราะเจ้าพนักงานสั่งให้ไปรับ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้ปฏิเสธไม่ยอมไปรับด้วย แต่เมทแอมเฟตามีนถูกนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้เพราะพวกของจำเลยที่ยืนอยู่ในแม่น้ำเหืองฝั่ง ส.ป.ป. ลาว ขว้างข้ามเขตแดนมาให้จำเลยที่ 2 ตามที่โทรศัพท์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบไว้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมลงมือกระทำการนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว เพียงแต่การกระทำนั้นยังไม่บรรลุผล จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย
เมื่อจำเลยที่ 2 เก็บเมทแอมเฟตามีนที่พวกของจำเลยขว้างข้ามเขตแดนมาก็ส่งให้เจ้าพนักงานทันที ไม่สามารถยึดถือไว้เพื่อตนได้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6812/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับสัญชาติไทย และการรอการลงโทษจำคุกจากพฤติการณ์แห่งคดี
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ร. ปลัดอำเภอรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร บัตรประจำตัวประชาชนและการทะเบียนอื่นๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง ส่วนร้อยตรี ช. รับราชการในตำแหน่งนายอำเภอ มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ ตลอดจนควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของสำนักทะเบียนอำเภอ เมื่อระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม 2544 ถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2544 ร. และร้อยตรี ช. อาศัยโอกาสที่ตนเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจดังกล่าว ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือ ย. ซึ่งเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยให้เป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยการเพิ่มชื่อ ย. ในทะเบียนบ้านและดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ย. โดยมีจำเลยทั้งสามให้ความสนับสนุน ช่วยเหลือ และให้ความสะดวกแก่ ร. และร้อยตรี ช. ในการกระทำความผิด และในวันเดียวกัน ย. ซึ่งเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยได้มายื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานซึ่งรับผิดชอบงานบัตรประจำตัวประชาชน ให้หลงเชื่อว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทยจริง ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามมุ่งประสงค์ให้เพิ่มชื่อ ย. ในทะเบียนบ้านและให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ย. ในที่สุดนั่นเอง กระบวนการในการกระทำความผิดดังกล่าวสำเร็จลงด้วยการออกบัตรประจำตัวประชาชนในวันที่ 27 สิงหาคม 2544 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในวันที่ 25 สิงหาคม 2554 ซึ่งยังไม่เกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 8