พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ยักยอกทรัพย์, และทำลายเอกสารของธนาคารโดยพนักงาน
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย ตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้ง เป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐาน ต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 188
จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ.มาตรา 354
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ.มาตรา 354
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอก, แจ้งความเท็จ, และการเรียงกระทงลงโทษในคดีอาญา
++ เรื่อง ยักยอก ฉ้อโกง ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ++
ในกรณีที่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาต่อนิติบุคคลเสียเองนั้นผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดย่อมไม่จัดการแทนนิติบุคคลโดยฟ้องร้องกล่าวหาตนเองต่อศาล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด และ ป.พ.พ.มาตรา 1169 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องคดีได้หากกรรมการทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ดังนี้จึงถือได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.เป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28(2) โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดฐานยักยอก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท พ.ร่วมกันทำรายงานการประชุมของบริษัท พ.ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่ได้นำเงินมาให้บริษัทกู้ยืมตามสัดส่วนที่ถือหุ้นเพื่อชำระราคาที่ดินเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องหาเงินมาให้บริษัทกู้ยืมแทน และที่ดินพิพาทไม่เป็นประโยชน์แก่บริษัทจึงเห็นสมควรขายให้จำเลยที่ 3 ในราคา 21,000,000 บาท อันเป็นความเท็จ การที่จำเลยที่ 2ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำรายงานการประชุมมีข้อความว่าได้ติดต่อซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นข้อความเท็จ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของบริษัท พ.
ในวันที่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท บริษัท พ.ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำการขายที่ดินพิพาทตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินพิพาทคือจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ แต่เนื่องจากคู่สัญญาต่างเป็นนิติบุคคลจึงต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วยเพื่อตรวจสอบอำนาจของกรรมการของนิติบุคคลนั้น และคู่สัญญาต้องส่งรายงานการประชุมของนิติบุคคลดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาด้วย ข้อเท็จจริงรับฟังว่ารายงานการประชุมของบริษัท พ.เป็นเอกสารเท็จ และไม่มีการซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริง ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ให้ถ้อยคำดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการซื้อขาย โดยประการที่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 3 มีความผิดฐานยักยอก ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และเห็นว่าความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเป็นกรรมเดียว แต่เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานยักยอก และเรียงกระทงลงโทษเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานยักยอกเพียงบทเดียวจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 3ที่ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษมา กลับพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ
ในกรณีที่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาต่อนิติบุคคลเสียเองนั้นผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดย่อมไม่จัดการแทนนิติบุคคลโดยฟ้องร้องกล่าวหาตนเองต่อศาล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด และ ป.พ.พ.มาตรา 1169 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องคดีได้หากกรรมการทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ดังนี้จึงถือได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.เป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28(2) โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดฐานยักยอก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท พ.ร่วมกันทำรายงานการประชุมของบริษัท พ.ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่ได้นำเงินมาให้บริษัทกู้ยืมตามสัดส่วนที่ถือหุ้นเพื่อชำระราคาที่ดินเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องหาเงินมาให้บริษัทกู้ยืมแทน และที่ดินพิพาทไม่เป็นประโยชน์แก่บริษัทจึงเห็นสมควรขายให้จำเลยที่ 3 ในราคา 21,000,000 บาท อันเป็นความเท็จ การที่จำเลยที่ 2ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำรายงานการประชุมมีข้อความว่าได้ติดต่อซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นข้อความเท็จ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของบริษัท พ.
ในวันที่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท บริษัท พ.ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำการขายที่ดินพิพาทตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินพิพาทคือจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ แต่เนื่องจากคู่สัญญาต่างเป็นนิติบุคคลจึงต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วยเพื่อตรวจสอบอำนาจของกรรมการของนิติบุคคลนั้น และคู่สัญญาต้องส่งรายงานการประชุมของนิติบุคคลดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาด้วย ข้อเท็จจริงรับฟังว่ารายงานการประชุมของบริษัท พ.เป็นเอกสารเท็จ และไม่มีการซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริง ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ให้ถ้อยคำดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการซื้อขาย โดยประการที่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 3 มีความผิดฐานยักยอก ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และเห็นว่าความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเป็นกรรมเดียว แต่เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานยักยอก และเรียงกระทงลงโทษเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานยักยอกเพียงบทเดียวจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 3ที่ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษมา กลับพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอก, แจ้งความเท็จ, และการซื้อขายที่ดินด้วยเอกสารเท็จ: ศาลพิจารณาความผิดกรรมเดียวและลงโทษฐานหนักสุด
ในกรณีที่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาต่อนิติบุคคลเสียเองนั้น ผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดย่อมไม่จัดการแทนนิติบุคคลโดยฟ้องร้องกล่าวหาตนเองต่อศาล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องคดีได้หากกรรมการทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ถือได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28(2)
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท พ. ร่วมกันทำรายงานการประชุมของบริษัท อันเป็นความเท็จและจำเลยที่ 2ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทของบริษัทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง เป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยักยอกที่ดินพิพาทของบริษัท
ในวันที่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท คู่สัญญาต่างเป็นนิติบุคคลจึงต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วยเพื่อให้ตรวจสอบอำนาจของกรรมการของนิติบุคคลนั้น และคู่สัญญาต้องส่งรายงานการประชุมของนิติบุคคลดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาด้วย การที่จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ผู้รับมอบอำนาจให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการซื้อขายโดยประการที่ทำให้ผู้ถือหุ้นในบริษัทได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานยักยอก ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และเห็นว่าความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเป็นกรรมเดียว แต่เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานยักยอกและให้เรียงกระทงลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากันและให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานยักยอกเพียงบทเดียวจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 3 ที่ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษมานั้นเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท พ. ร่วมกันทำรายงานการประชุมของบริษัท อันเป็นความเท็จและจำเลยที่ 2ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทของบริษัทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง เป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยักยอกที่ดินพิพาทของบริษัท
ในวันที่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท คู่สัญญาต่างเป็นนิติบุคคลจึงต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วยเพื่อให้ตรวจสอบอำนาจของกรรมการของนิติบุคคลนั้น และคู่สัญญาต้องส่งรายงานการประชุมของนิติบุคคลดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาด้วย การที่จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ผู้รับมอบอำนาจให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการซื้อขายโดยประการที่ทำให้ผู้ถือหุ้นในบริษัทได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานยักยอก ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และเห็นว่าความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเป็นกรรมเดียว แต่เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานยักยอกและให้เรียงกระทงลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากันและให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานยักยอกเพียงบทเดียวจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 3 ที่ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษมานั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและการเป็นเจ้าของเงินในเช็ค กรณีผู้กู้เป็นหนี้ผู้ให้กู้
ผู้เสียหายเป็นหนี้เงินยืมจำเลยอยู่ประมาณ 390,000 บาทต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนเครื่องพิมพ์กันครั้นถึงวันกำหนดส่งเครื่องพิมพ์จำเลยได้ให้พนักงานของจำเลยนำเครื่องพิมพ์ไปส่งให้แก่ผู้เสียหายที่โรงพิมพ์แต่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเครื่องพิมพ์ของจำเลย เนื่องจากในวันเดียวกันนั้นผู้เสียหายได้ขายเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหายที่จะแลกเปลี่ยนกับจำเลยให้แก่ ป. ในราคา 1,200,000 บาทต่อมาในวันเดียวกันจำเลยจึงไปที่โรงพิมพ์ของผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายและจำเลยเจรจาตกลงกันแล้ว ป. ได้สั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 600,000 บาท ในนามจำเลยเป็นผู้รับเงินเพื่อเป็นค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย โดยมอบเช็คให้แก่จำเลย ส่วนเงินที่เหลืออีก 600,000 บาท ป.จะชำระให้แก่ผู้เสียหายในวันส่งมอบเครื่องพิมพ์พร้อมเอกสารสิทธิจำเลยได้นำเช็คที่ ป.สั่งจ่ายให้ไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้ว เมื่อปรากฏว่าในการชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเป็นผู้สั่งให้ ป.สั่งจ่ายเช็คชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์มอบให้จำเลย เป็นการชำระหนี้เงินที่ผู้เสียหายได้ยืมจำเลยไป การมอบเช็คให้แก่จำเลยรับไปดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้เงินยืมจำเลยผู้รับมอบเช็คจึงเป็นเจ้าของเช็คและเป็นผู้ทรงเช็คในฐานะผู้รับชำระหนี้โดยชอบ มิใช่ในฐานะผู้รับมอบเช็คแทนผู้เสียหายหรือผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมในเช็คนั้นด้วยเมื่อจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้วเงินตามเช็คที่เรียกเก็บได้ย่อมเป็นของจำเลย ผู้เสียหายไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในเงินตามเช็คดังกล่าว และผู้เสียหายก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ฝากเงินตามเช็คที่จำเลยได้รับจากการเบิก เพราะผู้เสียหายมิได้ส่งมอบเงินให้แก่จำเลยเพียงแต่มีข้อตกลง ให้จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนที่เหลือตามที่ผู้เสียหาย กล่าวอ้างให้แก่ผู้เสียหายเมื่อได้หักหนี้ยืมที่ผู้เสียหาย เป็นหนี้จำเลยแล้วเท่านั้น แม้จำเลยไม่คืนเงินส่วนที่เหลือ ตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้างและนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ก็อาจเป็นเพียงเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการส่งมอบเช็ค: สิทธิในเงินตามเช็คเป็นของผู้รับชำระหนี้โดยชอบ
ผู้เสียหายเป็นหนี้เงินยืมจำเลยอยู่ประมาณ 390,000 บาทต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนเครื่องพิมพ์กัน ครั้นถึงวันกำหนดส่งเครื่องพิมพ์จำเลยได้ให้พนักงานของจำเลยนำเครื่องพิมพ์ไปส่งให้แก่ผู้เสียหายที่โรงพิมพ์ แต่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเครื่องพิมพ์ของจำเลย เนื่องจากในวันเดียวกันนั้นผู้เสียหายได้ขายเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหายที่จะแลกเปลี่ยนกับจำเลยให้แก่ ป.ในราคา1,200,000 บาท ต่อมาในวันเดียวกันจำเลยจึงไปที่โรงพิมพ์ของผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายและจำเลยเจรจาตกลงกันแล้ว ป.ได้สั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 600,000 บาทในนามจำเลยเป็นผู้รับเงิน เพื่อเป็นค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย โดยมอบเช็คให้แก่จำเลย ส่วนเงินที่เหลืออีก 600,000 บาท ป.จะชำระให้แก่ผู้เสียหายในวันส่งมอบเครื่องพิมพ์พร้อมเอกสารสิทธิ จำเลยได้นำเช็คที่ ป.สั่งจ่ายให้ไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้ว เมื่อปรากฏว่าในการชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหายผู้เสียหายเป็นผู้สั่งให้ ป.สั่งจ่ายเช็คชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์มอบให้จำเลยเป็นการชำระหนี้เงินที่ผู้เสียหายได้ยืมจำเลยไป การมอบเช็คให้แก่จำเลยรับไปดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้เงินยืม จำเลยผู้รับมอบเช็คจึงเป็นเจ้าของเช็คและเป็นผู้ทรงเช็คในฐานะผู้รับชำระหนี้โดยชอบ มิใช่ในฐานะผู้รับมอบเช็คแทนผู้เสียหายหรือผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมในเช็คนั้นด้วย เมื่อจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้ว เงินตามเช็คที่เรียกเก็บได้ย่อมเป็นของจำเลย ผู้เสียหายไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในเงินตามเช็คดังกล่าว และผู้เสียหายก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ฝากเงินตามเช็คที่จำเลยได้รับจากการเบิก เพราะผู้เสียหายมิได้ส่งมอบเงินให้แก่จำเลยเพียงแต่มีข้อตกลงให้จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนที่เหลือตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้างให้แก่ผู้เสียหายเมื่อได้หักหนี้ยืมที่ผู้เสียหายเป็นหนี้จำเลยแล้วเท่านั้น แม้จำเลยไม่คืนเงินส่วนที่เหลือตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้างและนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียก็อาจเป็นเพียงเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการจดทะเบียนโอนมรดกผิดพฤติกรรม ผู้จัดการมรดกสวมบทเป็นผู้รับมรดกเอง
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 352 ผู้กระทำผิดต้องเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และได้เบียดบังเอาทรัพย์เป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ส่วนความผิดตามมาตรา 353ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตจนทำให้เกิดความเสียหายสำหรับความผิดตามมาตรา 354 ต้องเป็นกรณีที่ผู้กระทำความผิดมาตรา 352 หรือ 353ได้กระทำในฐานะที่เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือ ว. เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น และจำเลยไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่น และไม่ได้มีฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 352 มาตรา 353 และมาตรา 354 ได้ เมื่อจำเลยไม่สามารถกระทำผิดตามมาตราดังกล่าวได้ จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกับ ว.ในการกระทำความผิดตามมาตรา83 ไม่ได้
การจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องสอบถามทายาทอื่น แตกต่างกับการจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้รับมรดกเอง ซึ่งจะต้องมีการบันทึกการยินยอมของทายาทเจ้ามรดกไว้ด้วย และเป็นการจดทะเบียนที่ดินประเภทมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่า ว. ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า เหตุที่ไม่ได้โอนมรดกรายนี้ให้ทายาทอื่นด้วยนั้น เนื่องจาก ว.ได้แบ่งมรดกส่วนอื่นให้ไปแล้ว และจำเลยในฐานะทายาทได้ทำบันทึกให้ความยินยอมโดยที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้แบ่งมรดกรายอื่นให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทอื่นเลย จึงเป็นการที่จำเลยช่วยเหลือให้ ว. ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จดทะเบียนโอนมรดกเป็นของ ว.ในฐานะผู้รับมรดกเองอันเป็นการกระทำที่มีมูลความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ.มาตรา 353, 354 ประกอบ 86 แล้ว
การจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องสอบถามทายาทอื่น แตกต่างกับการจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้รับมรดกเอง ซึ่งจะต้องมีการบันทึกการยินยอมของทายาทเจ้ามรดกไว้ด้วย และเป็นการจดทะเบียนที่ดินประเภทมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่า ว. ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า เหตุที่ไม่ได้โอนมรดกรายนี้ให้ทายาทอื่นด้วยนั้น เนื่องจาก ว.ได้แบ่งมรดกส่วนอื่นให้ไปแล้ว และจำเลยในฐานะทายาทได้ทำบันทึกให้ความยินยอมโดยที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้แบ่งมรดกรายอื่นให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทอื่นเลย จึงเป็นการที่จำเลยช่วยเหลือให้ ว. ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จดทะเบียนโอนมรดกเป็นของ ว.ในฐานะผู้รับมรดกเองอันเป็นการกระทำที่มีมูลความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ.มาตรา 353, 354 ประกอบ 86 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการโอนมรดกโดยมิชอบของผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกให้ถ้อยคำเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ผู้กระทำผิดต้องเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และได้เบียดบัง เอาทรัพย์เป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ส่วนความผิดตามมาตรา 353 ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตจนทำให้เกิดความเสียหาย สำหรับความผิดตามมาตรา 354 ต้องเป็นกรณี ที่ผู้กระทำความผิดมาตรา 352 หรือ 353 ได้กระทำในฐานะ ที่เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือ ตามพินัยกรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือ ว.เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น และจำเลยไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่น และไม่ได้ มีฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้กระทำความผิด ตามมาตรา 352 มาตรา 353 และมาตรา 354 ได้ เมื่อจำเลย ไม่สามารถกระทำผิดตามมาตราดังกล่าวได้ จำเลยจึงเป็นตัวการ ร่วมกับ ว. ในการกระทำความผิดตามมาตรา 83 ไม่ได้ การจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องสอบถามทายาทอื่น แตกต่างกับการจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดก ในฐานะเป็นผู้รับมรดกเอง ซึ่งจะต้องมีการบันทึกการยินยอม ของทายาทเจ้ามรดกไว้ด้วย และเป็นการจดทะเบียนที่ดิน ประเภทมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่า ว.ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า เหตุที่ไม่ได้โอนมรดกรายนี้ให้ทายาทอื่นด้วยนั้น เนื่องจาก ว. ได้แบ่งมรดกส่วนอื่นให้ไปแล้ว และจำเลยในฐานะทายาทได้ทำบันทึกให้ความยินยอม โดยที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้แบ่งมรดกรายอื่นให้แก่โจทก์ ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทอื่นเลย จึงเป็นการที่จำเลยช่วงเหลือ ให้ ว. ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จดทะเบียนโอนมรดกเป็นของ ว. ในฐานะผู้รับมรดกเองอันเป็นการกระทำที่มีมูลความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353,354 ประกอบ 86 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5651/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบทรัพย์ให้ขาย กับ ความผิดฐานยักยอก: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่ใช่ความผิดอาญา
โจทก์ร่วมได้มอบทรัพย์แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปขาย โดยจำเลยจะกำหนดราคาขายมากหรือน้อยหรือจะจัดการแก่ทรัพย์ นั้นอย่างไรก็ได้ จำเลยเพียงแต่มีหน้าที่ต้องนำเงินตามราคา ที่โจทก์ร่วมกำหนดไว้หรือนำทรัพย์สินมาคืนแก่โจทก์ร่วมเท่านั้น การที่จำเลยไม่ยอมนำทรัพย์ตามฟ้องมาคืนหรือมอบเงินแก่ โจทก์ร่วมถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทางแพ่งต่อโจทก์ร่วม เท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิสั่งจ่ายเช็คหลังเสียชีวิต - สัญญาบุคคลสิทธิระงับ - ความรับผิดทางแพ่งจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจ
ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคาร โดยมอบหมายให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ด้วย ในขณะถึงแก่ความตายผู้ตายยังเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารเจ้าหนี้แห่งนั้นอยู่จำนวน ในยอดเงินกู้ที่ยังไม่เต็มวงเงิน หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันไปเข้าบัญชีของจำเลย โดยโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายไม่ทราบ แม้จะเป็นเหตุให้กองมรดกของผู้ตายต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เงินตามจำนวนที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกไปจากบัญชีกระแสรายวันที่ผู้ตายมีอยู่แก่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตายย แต่เป็นเงินของธนาคารเจ้าหนี้ที่ตกลงให้ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้เท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ระงับหรือสิ้นสุดลง และนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระงับหรือนับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันในนามของผู้ตายอีก การที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ทราบถึงการตายของผู้ตายจนทำให้กองมรดกของ ม.ต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่ธนาคารก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยไม่มีอำนาจซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดในทางแพ่งต่อกองมรดกของผู้ตายเป็นการส่วนตัว การกระทำของจำเลยในกรณีนี้จึงไม่มีความผิดทางอาญาฐานยักยอกมรดกของผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีหลังผู้ตายถึงแก่ความตาย ไม่ถือเป็นการยักยอกมรดก เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตาย
ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคารโดยมอบหมายให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ด้วย ในขณะถึงแก่ความตายผู้ตายยังเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารเจ้าหนี้แห่งนั้นอยู่จำนวนในยอดเงินกู้ที่ยังไม่เต็มวงเงิน หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันไปเข้าบัญชีของจำเลย โดยโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายไม่ทราบ แม้จะเป็นเหตุให้กองมรดกของผู้ตายต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคาร ผู้เป็นเจ้าหนี้ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เงินตามจำนวนที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกไปจาก บัญชีกระแสรายวันที่ผู้ตายมีอยู่แก่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายเงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย แต่เป็นเงินของธนาคารเจ้าหนี้ที่ตกลงให้ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้เท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ระงับหรือสิ้นสุดลง และนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระงับหรือนับแต่ วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันในนามของผู้ตายอีก การที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ทราบถึงการตายของผู้ตายจนทำให้กองมรดก ของ ม. ต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคารก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยไม่มีอำนาจซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ในทางแพ่งต่อกองมรดกของผู้ตายเป็นการส่วนตัว การกระทำของ จำเลยในกรณีนี้จึงไม่มีความผิดทางอาญาฐานยักยอกมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352