พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบียดบังเงินฌาปนสถานไม่ใช่ทรัพย์ของแผ่นดิน คดีขาดอายุความ
เงินรายได้ฌาปนสถานที่จำเลยเบียดบังไม่ได้ส่งกรมตำรวจตามที่โจทก์กล่าวหา เป็นเงินนอกงบประมาณไม่ใช่เงินรายได้ของแผ่นดิน และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ.มาตรา 147 ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำจัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวในคดีนี้เป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจเท่านั้น มิใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา จึงลงโทษจำเลยตามป.อ.มาตรา 147 ไม่ได้
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท.เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท.เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและการขาดอายุความของความผิดอันยอมความได้
ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวเป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นสวัสดิการต่อกรมตำรวจ หาใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาแต่อย่างใดไม่ จึงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 ไม่ได้ แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ เมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: ผู้ร้องทุกข์ต้องมีอำนาจในฐานะผู้เสียหายหรือได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย
ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ยานยนต์ฯ จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของห้างฯผู้เสียหายไปแล้วไม่ได้ส่งเงินค่างวดและได้นำรถจักรยานยนต์ไปขายให้บุคคลอื่น ส.จึงมาร้อยทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหายักยอก ข้อความในคำร้องทุกข์ไม่ได้ระบุว่า ส.เกี่ยวข้องกับห้างฯ ผู้เสียหายอย่างไรและไม่ได้ระบุว่า ส.ได้ร้องทุกข์ในนามของห้างฯ ผู้เสียหายทั้งไม่ปรากฎรอยตราของผู้เสียหายในช่องผู้ร้องทุกข์แต่อย่างใด จึงไม่อาจแปลเจตนาได้ว่า ส.ร้องทุกข์ในนามของผู้เสียหาย แม้ตามข้อเท็จจริง ส.จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้เสียหายก็ไม่อาจแปลเจตนาว่ากระทำแทนผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้ได้ เมื่อห้างฯ ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีอาญา: เจตนาการร้องทุกข์แทนผู้อื่นและผู้เสียหายที่แท้จริง
ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ยานยนต์ ฯจำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของห้าง ฯ ผู้เสียหายไปแล้วไม่ได้ส่งเงินค่างวดและได้นำรถจักรยานยนต์ไปขายให้บุคคลอื่น ส.จึงมาร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหายักยอก ข้อความในคำร้องทุกข์ไม่ได้ระบุว่า ส.เกี่ยวข้องกับห้าง ฯ ผู้เสียหายอย่างไร และไม่ได้ระบุว่า ส.ได้ร้องทุกข์ในนามของห้าง ฯผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏรอยตราของผู้เสียหายในช่องผู้ร้องทุกข์แต่อย่างใด จึงไม่อาจแปลเจตนาได้ว่า ส.ร้องทุกข์ในนามของผู้เสียหาย แม้ตามข้อเท็จจริง ส.จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้เสียหายก็ไม่อาจแปลเจตนาว่ากระทำแทนผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้ได้ เมื่อห้าง ฯ ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้ยกฟ้องข้อหาเบียดบังทรัพย์ เนื่องจากเงินที่ยักยอกไม่ใช่เงินของแผ่นดิน และคดีขาดอายุความ
เงิน รายได้ ฌา ปน สถานที่ จำเลย เบียดบัง ไม่ได้ ส่ง กรมตำรวจ ตาม ที่ โจทก์ กล่าวหา เป็น เงิน นอก งบประมาณ ไม่ใช่ เงิน รายได้ ของ แผ่นดิน และ ความผิด ต่อ ตำแหน่ง หน้าที่ ราชการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ทรัพย์ ที่ เจ้าพนักงาน เบียดบัง เอาไว้ เป็น ของ ตน หรือ ของ ผู้อื่น ต้อง เป็น ทรัพย์ ที่ เจ้าพนักงาน มี หน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือ รักษา แต่เมื่อ เงิน ที่ จำเลย ยักยอก เอาไป ใช้ ส่วนตัว ใน คดี นี้ เป็น เงิน ค่าบำรุง ที่ เจ้า ภาพ งาน ศพ มา ใช้ ฌา ปน สถาน มอบ ให้ แก่ จำเลย เพื่อ เก็บ ส่ง เป็น เงิน สวัสดิการ ต่อ กรมตำรวจ เท่านั้น มิใช่ เงิน ของ ทางราชการ หรือ ของ รัฐบาล ที่ จำเลย ผู้เป็น เจ้าพนักงาน มี หน้าที่ จัดซื้อ ทำ จัดการ หรือ รักษา จึง ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ไม่ได้ การกระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เป็น ความผิดอันยอมความได้ ซึ่ง ผู้เสียหาย จะ ต้อง ร้องทุกข์ ภายใน 3 เดือน นับแต่ รู้ เรื่อง ความผิด และ รู้ตัว ผู้กระทำ ความผิด แต่ ปรากฏว่า ผู้ช่วย อธิบดี กรมตำรวจ ปฏิบัติ ราชการ แทน อธิบดี กรมตำรวจ รู้ เรื่อง ความผิด และ รู้ตัว ผู้กระทำ ความผิด เมื่อ วันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท . เพิ่ง ได้รับ คำสั่ง จาก ผู้บังคับการ กองสวัสดิการ กรมตำรวจ ให้ ไป ร้องทุกข์ ต่อ พนักงานสอบสวน เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2530 การ ร้องทุกข์ ซึ่ง จะ ต้อง ดำเนินการ ตั้งแต่ รับคำ สั่ง จึง เกิน 3 เดือน นับแต่ รู้ เรื่อง และ รู้ตัว ผู้กระทำผิด แล้ว คดี จึง ขาดอายุความ แม้ จำเลย ไม่ได้ ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ ศาลฎีกา ก็ ยกขึ้น พิจารณา ได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นประกันภัย: เจตนาทุจริตฉ้อโกงไม่ใช่การลักทรัพย์
กรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยไว้ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอก และการที่คนร้ายอ้างว่าชื่อ ส.และ พ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันไว้จาก บ. ซึ่ง บ.เช่าซื้อมาจากโจทก์และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อ บ.บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถยนต์คันดังกล่าวไปจาก บ.แล้วคนร้ายไม่นำมาคืนนั้นเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าคนร้ายมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง บ.ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้ายดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอมมีความประสงค์จะเช่ารถยนต์ บ.หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป ความจริงคนร้ายแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและไม่มีความประสงค์จะเช่ารถยนต์แต่อย่างใด การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกอันจะเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวข้างต้นไม่ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองความเสียหายจากฉ้อโกง แม้ใช้เอกสารปลอมเช่ารถ แต่เป็นการหลอกลวงตั้งแต่ต้น
กรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยไว้ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอก และการที่คนร้ายอ้างว่าชื่อส.และพ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันไว้จากบ. ซึ่ง บ. เช่าซื้อมาจากโจทก์และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อ บ. บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถยนต์คันดังกล่าวไปจาก บ.แล้วคนร้ายไม่นำมาคืนนั้นเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าคนร้ายมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง บ.ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้ายดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอมมีความประสงค์จะเช่ารถยนต์บ.หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป ความจริงคนร้ายแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและไม่มีความประสงค์จะเช่ารถยนต์แต่อย่างใด การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกอันจะเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวข้างต้นไม่ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายผ้าผูกพันตามสัญญา แม้จำเลยนำไปตัดเย็บเพื่อหากำไร ไม่เป็นยักยอก
โจทก์มอบสินค้าผ้าให้จำเลยกับพวกไปโดยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยกับพวกจะนำผ้าเหล่านั้นไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อขาย และได้กำหนดราคาผ้ากันไว้ จำเลยกับพวกจะนำผ้ามาตัดเย็บเพื่อขายหากำไรเท่าใดเป็นเรื่องจำเลยกับพวกโดยเฉพาะ จำเลยกับพวกมีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าสินค้าผ้าตามจำนวนในใบส่งสินค้าฝากขายตามที่ได้ตกลงกัน กรณีมิใช่จำเลยกับพวกได้รับมอบหมายให้รับสินค้าผ้าไว้ในฐานะตัวแทนโจทก์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ขายเชื่อสินค้าผ้าให้จำเลยทั้งสองกับพวก แม้เมื่อถึงกำหนดชำระราคาสินค้าผ้าแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกไม่นำเงินไปชำระให้โจทก์และหลบหนีไป ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายเชื่อสินค้าและหลีกเลี่ยงหนี้ ไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอก แต่เป็นผิดสัญญาทางแพ่ง
โจทก์มอบสินค้าผ้าให้จำเลยกับพวกไปโดยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยกับพวกจะนำผ้าเหล่านั้นไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อขาย และได้กำหนดราคาผ้ากันไว้จำเลยกับพวกจะนำผ้ามาตัดเย็บเพื่อขายหากำไรเท่าใดเป็นเรื่องจำเลยกับพวกโดยเฉพาะ จำเลยกับพวกมีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าสินค้าผ้าตามจำนวนในใบส่งสินค้าฝากขายตามที่ได้ตกลงกัน กรณีมิใช่จำเลยกับพวกได้รับมอบหมายให้รับสินค้าผ้าไว้ในฐานะตัวแทนโจทก์แต่เป็นกรณีที่โจทก์ขายเชื่อสินค้าผ้าให้จำเลยทั้งสองกับพวกแม้เมื่อถึงกำหนดชำระราคาสินค้าผ้าแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกไม่นำเงินไปชำระให้โจทก์และหลบหนี้ไป ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขาย/เช่าซื้อ ไม่เข้าข่ายยักยอกเงิน
จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนฝ่ายขายมิได้เก็บเงินดาวน์ทั้งหมดจากลูกค้าที่เช่าซื้อสินค้าจากโจทก์ แต่เก็บเงินดาวน์มาเพียงบางส่วนและให้ลูกค้าชำระเงินดาวน์ส่วนที่เหลือในภายหลังนั้นโจทก์ให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบเงินดาวน์ส่วนที่เหลือเองโดยหากจำเลยทั้งสองยังมิได้นำเงินดาวน์ส่วนที่เหลือมาชำระให้โจทก์ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป โจทก์ก็จะนำเงินดาวน์ส่วนที่เหลือดังกล่าวมาหักออกจากยอดรายได้ของจำเลยทั้งสองในการคิดบัญชีของโจทก์และจำเลยทั้งสองในวันที่ 10 ของเดือนนั้นดังนี้ แม้จำเลยทั้งสองเก็บเงินดาวน์ส่วนที่เหลือจากลูกค้าเป็นจำนวนตามฟ้องแล้วยังไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวไปส่งมอบให้โจทก์ และไม่มาคิดบัญชีประจำเดือนกับโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวก็เป็นเพียงการผิดสัญญาในทางแพ่งไม่เป็นความผิดฐานยักยอก