พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาเช่าซื้อและการไม่มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การที่ อ. ผู้เสียหายตกลงให้จำเลยเอารถกระบะที่ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อมาไปใช้โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมีข้อตกลงกันระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย หลังจากจำเลยได้รับมอบการครอบครองรถกระบะจากผู้เสียหายแล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยพารถกระบะหลบหนีไปขายแก่บุคคลภายนอก หรือแอบอ้างว่าเป็นรถกระบะของตนเอง ด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้รับมอบรถกระบะจากผู้เสียหายแต่อย่างใด แต่จำเลยครอบครองใช้รถกระบะนั้นโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหายเรื่อยมาจำนวนถึง 5 งวดติดต่อกันต่อมาจำเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถกระบะให้ ช. โดยทำความตกลงกับ ช. ให้ ช. เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรวมทั้งที่จำเลยรับเงินมัดจำจาก ช. ในวันทำสัญญาเป็นเงิน 5,000 บาท และในสัญญาระบุว่าจำเลยและ ช. ซื้อขายรถยนต์ (รถกระบะ) นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขายแต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงให้ ช. มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป เพราะจำเลยประสงค์จะหาบุคคลอื่นมาช่วยรับภาระในการผ่อนค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย จำเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต ไม่เป็นเหตุทำให้การกระทำของจำเลยที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดไปแต่อย่างใด
การที่จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. แม้จะมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อเดิมได้ต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถกระบะคืนจากจำเลยได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก
การที่จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. แม้จะมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อเดิมได้ต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถกระบะคืนจากจำเลยได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1777/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความร้องทุกข์ยักยอกทรัพย์: การรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิด
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้ง จ. เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกแล้วย่อมถือว่า จ. เป็นตัวแทนของทายาททั้งหมด มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก ทั้งดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาต่อผู้ที่กระทำความเสียหายแก่กองมรดกด้วย ดังนั้นเมื่อ จ. นำคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกไปดำเนินการที่ธนาคาร ก. สาขาวังทอง เพื่อขอรับเงินในบัญชีของเจ้ามรดก แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งว่าจำเลยนำคำสั่งศาลแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมารับเงินในบัญชีไปแล้ว ย่อมถือว่า จ. รู้เรื่องผู้กระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว และต้องถือว่าโจทก์ร่วมในฐานะทายาททราบเรื่องกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้วด้วย
แม้วันสุดท้ายที่โจทก์ร่วมมีสิทธิร้องทุกข์ จะตรงกับวันหยุดราชการ แต่การร้องทุกข์สามารถกระทำได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ โจทก์ร่วมไม่ร้องทุกข์ในวันสุดท้าย คดีจึงขาดอายุความ
แม้วันสุดท้ายที่โจทก์ร่วมมีสิทธิร้องทุกข์ จะตรงกับวันหยุดราชการ แต่การร้องทุกข์สามารถกระทำได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ โจทก์ร่วมไม่ร้องทุกข์ในวันสุดท้าย คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการและยักยอกทรัพย์: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาเป็นเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเพื่อแสดงตัวเลขปริมาตรน้ำประปาที่ใช้และจำนวนเงินค่าน้ำประปาที่ผู้ใช้น้ำประปาจะต้องชำระเพื่อใช้อ้างแสดงประกอบการนำส่งค่าน้ำประปาให้แก่สมุห์บัญชีของผู้เสียหายเท่านั้น ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ มิใช่เอกสารสิทธิตามความใน ป.อ. มาตรา 1 (9) เมื่อจำเลยปลอมต้นขั้วใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาของผู้เสียหายซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหน่วยงานราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม ไม่ใช่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม
จำเลยปลอมต้นขั้วใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาซึ่งจำเลยใช้เรียกเก็บเงินค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำประปาแต่ละรอบเดือนจำนวนหลายฉบับ รวม 28 ครั้ง และนำเอกสารราชการปลอมไปใช้อ้างแสดงประกอบการนำส่งค่าน้ำประปาให้แก่เจ้าหน้าที่สมุห์บัญชีของผู้เสียหายเพื่อนำส่งเงินที่มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำประปาแต่ละราย แล้วเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปรวม 28 ครั้ง ต่างวันเวลากัน การปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอมกับยักยอกในแต่ละครั้งย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยปลอมต้นขั้วใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาซึ่งจำเลยใช้เรียกเก็บเงินค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำประปาแต่ละรอบเดือนจำนวนหลายฉบับ รวม 28 ครั้ง และนำเอกสารราชการปลอมไปใช้อ้างแสดงประกอบการนำส่งค่าน้ำประปาให้แก่เจ้าหน้าที่สมุห์บัญชีของผู้เสียหายเพื่อนำส่งเงินที่มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำประปาแต่ละราย แล้วเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปรวม 28 ครั้ง ต่างวันเวลากัน การปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอมกับยักยอกในแต่ละครั้งย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยทุจริตของผู้จัดการมรดกและผู้สนับสนุนความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาท แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต โดยจดทะเบียนโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 352 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตอันเป็นการสมคบกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดด้วยก็ตาม แต่ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้ เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กระทำในฐานเป็นผู้จัดการมรดกของผู้อื่นตามคำสั่งศาล คงลงโทษได้เพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353,354 ประกอบด้วยมาตรา 86
แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตอันเป็นการสมคบกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดด้วยก็ตาม แต่ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้ เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กระทำในฐานเป็นผู้จัดการมรดกของผู้อื่นตามคำสั่งศาล คงลงโทษได้เพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353,354 ประกอบด้วยมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11294/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์จากสัญญาเช่าซื้อ: อำนาจฟ้อง, การไม่ระงับคดี, และการพิสูจน์ความผิด
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 กำหนดให้ตราสารที่มิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือส่วนของตราสารเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้นใช้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานด้วย
การที่ผู้เสียหายฟ้องจำเลยในคดีแพ่งมิได้เป็นการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 8 มีนาคม 2549 เวลากลางวันถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลากลางคืน จำเลยเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน กข 3228 พัทลุง ของผู้เสียหาย จำเลยเบียดบังเอารถยนต์คันดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลอื่นโดยทุจริต ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยกระทำการเบียดบังยักยอกรถยนต์ไปอย่างไร เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้ผู้เสียหายเพียง 2 งวดแล้วไม่ชำระค่าเช่าซื้ออีกเลย และจำเลยนำรถที่เช่าซื้อไปตีใช้หนี้ให้แก่ผู้อื่นโดยจำเลยทราบอยู่แล้วว่ารถที่เช่าซื้อยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อ จ. ไปติดตามยึดรถที่เช่าซื้อแต่จำเลยบ่ายเบี่ยงไม่ให้ความร่วมมือ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก
การที่ผู้เสียหายฟ้องจำเลยในคดีแพ่งมิได้เป็นการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 8 มีนาคม 2549 เวลากลางวันถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลากลางคืน จำเลยเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน กข 3228 พัทลุง ของผู้เสียหาย จำเลยเบียดบังเอารถยนต์คันดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลอื่นโดยทุจริต ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยกระทำการเบียดบังยักยอกรถยนต์ไปอย่างไร เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้ผู้เสียหายเพียง 2 งวดแล้วไม่ชำระค่าเช่าซื้ออีกเลย และจำเลยนำรถที่เช่าซื้อไปตีใช้หนี้ให้แก่ผู้อื่นโดยจำเลยทราบอยู่แล้วว่ารถที่เช่าซื้อยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อ จ. ไปติดตามยึดรถที่เช่าซื้อแต่จำเลยบ่ายเบี่ยงไม่ให้ความร่วมมือ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวหลังศาลเปลี่ยนข้อกล่าวหา
แม้ความผิดที่โจทก์ฟ้องคือความผิดฐานปลอมเอกสารและลักทรัพย์จะเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน แต่เมื่อศาลพิจารณาแล้วได้ความว่าข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นความผิดฐานยักยอกและศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดฐานยักยอกอันเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ร่วมย่อมถอนคำร้องทุกข์ในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7680/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าไม่ถือเป็นทรัพย์ที่ถูกลักยอกได้ หากมิได้กระทำแทนโจทก์
จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองมีต่อลูกค้ารวม 23 ราย ให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองกลับใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกค้าบางรายชำระค่าสินค้าแก่จำเลยทั้งสอง แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมิใช่วัตถุมีรูปร่างที่สามารถเคลื่อนที่ได้ อันอาจจะมีการเอาไปได้ตามความหมายของคำว่า ทรัพย์ ในความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์ ทั้งการที่จำเลยทั้งสองไปขอรับเงินหรือเช็คค่าสินค้าจากลูกค้านั้น ก็ไม่ได้เป็นการกระทำแทนโจทก์ ดังนั้น เงินและเช็คดังกล่าวจึงยังมิใช่ทรัพย์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ แต่เป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอันเป็นการผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5883/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายวงแชร์ยักยอกเงินจากเช็คของผู้ประมูลได้ ถือเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์และเอาไปเสียซึ่งเอกสาร
ส. ซึ่งเป็นลูกวงแชร์ประมูลแชร์ได้ จำเลยซึ่งเป็นนายวงแชร์ได้รับเช็คตามฟ้องจากลูกวงแชร์ที่ยังประมูลไม่ได้เพื่อนำไปมอบให้แก่ ส. แต่จำเลยมิได้นำไปมอบให้ ส. กลับนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินในบัญชีของตนเองและถอนเงินไป ดังนี้ จำเลยในฐานะนายวงแชร์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงการเล่นแชร์ว่า เมื่อจำเลยได้เช็คจากลูกวงแชร์แล้วจะต้องนำเช็คไปมอบให้ ส. ซึ่งประมูลแชร์ได้ การที่จำเลยรับเช็คตามฟ้องจึงเป็นการรับไว้แทน ส. เมื่อจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและถอนเงินออกจากบัญชี จึงเป็นการครอบครองเงินของ ส.แล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไป ส. จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานยักยอกเงินตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินค่าเช่าซื้อรถแท็กซี่: ผู้เก็บเงินมีหน้าที่ส่งมอบเงินให้เจ้าของกิจการ แม้เงินนั้นไม่ใช่ของตัวเอง
โจทก์ประกอบกิจการให้เช่าซื้อรถแท็กซี่ มีเจ้าของรถแท็กซี่นำรถมาร่วมกิจการกับโจทก์โดยใช้ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถและมอบให้โจทก์นำรถแท็กซี่ออกให้เช่าซื้อ แต่สัญญาเช่าซื้อทำกันระหว่างเจ้าของรถแท็กซี่กับผู้เช่าซื้อ กำหนดชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายวัน ในการนี้ โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บค่าเช่าซื้อแทน จำเลยที่ 1 เก็บค่าเช่าซื้อไว้แล้วไม่ส่งให้โจทก์ เบียดบังเอาเงินค่าเช่าซื้อที่รับไว้แทนโจทก์ไปโดยทุจริต จึงมีความผิดฐานยักยอก และแม้เงินดังกล่าวจะมิใช่ของโจทก์ แต่โจทก์ต้องส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าของรถหลังจากหักค่าใช้จ่ายของโจทก์แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาฐานยักยอก และการพิสูจน์เจตนาทุจริตของผู้จัดการมรดก
ความผิดฐานยักยอกเป็นเรื่องที่ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต คำว่าโดยทุจริต หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่ทายาททั้งหลาย ในการประชุมทายาท โจทก์ขอแบ่งทรัพย์มรดกแต่จำเลยไม่ยินยอมแสดงว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์มรดกเป็นของตน มูลความแห่งคดีเกิดขึ้นในวันดังกล่าว และโจทก์รู้เรื่องความผิดนับตั้งแต่นั้นหาได้นับตั้งแต่โจทก์ทราบว่าจำเลยขายทรัพย์มรดก