คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 352

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาตกทอดแก่ทายาท ผู้จัดการมรดกมีสิทธิถอนคำร้องได้ แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่ง ป.วิ.อ.มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อได้ความตามคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ว่าบรรดาทายาททุกคนของผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอนฟ้องคดีอาญาที่ยอมความได้ของผู้จัดการมรดกของผู้เสียหาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อได้ความตามคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ว่า บรรดาทายาททุกคนของผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากจำเลย
โจทก์ตกลงให้ อ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากสหกรณ์เป็นเงิน 500,000 บาท โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินของโจทก์เป็นประกันหนี้ เหตุที่ต้องให้ อ. เป็นผู้กู้ยืม เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหกรณ์ดังกล่าว ต่อมา อ. ไปรับเงินที่กู้ยืมซึ่งเมื่อคิดหักชำระหนี้สินและค่าหุ้นแล้ว คงได้รับเป็นเงิน 431,928 บาท จึงต้องถือว่า อ. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ และเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในเงินที่กู้ยืมจากสหกรณ์ ตราบเท่าที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ต่อให้แก่ผู้ใด ทั้งโจทก์ไม่ได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนไปรับเงินจาก อ. ดังนั้นการที่ อ. มอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อฝากต่อให้แก่โจทก์ย่อมเป็นเรื่องความรับผิดระหว่าง อ. กับจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าวที่เป็นของ อ. ไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6540/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์จากการเช่าซื้อ: การไม่ยอมให้ตรวจสอบและนำไปขายต่างประเทศถือเป็นความผิด
จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไป แม้จำเลยจะมีสิทธิใช้สอยและครอบครองรถจักรยานยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อ แต่รถจักรยานยนต์ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมประสงค์จะตรวจดู จำเลยจำต้องยอมให้ผู้เช่าซื้อตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้เป็นครั้งคราวในเวลาและระยะอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 555 การที่จำเลยไม่สามารถนำรถจักรยานยนต์มาให้โจทก์ร่วมตรวจดูได้ แม้จำเลยได้แสดงเจตนาที่จะชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ร่วม แต่จำเลยกับพวกนำรถไปขายที่ต่างประเทศแล้ว ถือได้ว่าจำเลยเบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยสุจริต เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์กรณีซ่อมรถ: ผู้ครอบครองรถยนต์เบียดบังอะไหล่เป็นของตนเอง
ผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองรถยนต์เพื่อทำการซ่อมที่อู่ของจำเลย จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ การที่จำเลยถอดอะไหล่และเครื่องเสียงในรถยนต์ให้บุคคลอื่นหรือนำไปขายจึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต มีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 357 เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซื้อขายเผื่อชอบ-ยักยอก: เมื่อมีข้อสงสัยต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
จำเลยรับนาฬิกาข้อมือจำนวน 7 เรือน ของผู้เสียหายไปเพื่อให้สามีตรวจดูโดยมีเจตนาจะซื้อขายกันและมีข้อตกลงจะใช้เวลาในการตรวจดูประมาณ 14 วัน หากจำเลยไม่ตกลงซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าไม่ซื้อหรือส่งนาฬิกาคืน ถ้าครบกำหนด 14 วัน แล้วจำเลยไม่แจ้งต่อผู้เสียหายและไม่ส่งมอบนาฬิกาคืน ย่อมถือว่าจำเลยตกลงซื้อนาฬิกาทั้ง 7 เรือน อันเป็นผลให้การซื้อขายเผื่อชอบมีผลบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 508 จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้เสียหาย หากไม่ชำระผู้เสียหายต้องไปว่ากล่าวแก่จำเลยในทางแพ่งตามสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" และ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขายให้จำเลยผู้ซื้อยืมสินค้าไปตรวจดูเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่หรือไม่เป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายเผื่อชอบกันแล้ว กรณีก็ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นเรื่องสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จะนำ ป.พ.พ. มาตรา 11 มาใช้ตีความเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ยักยอกเงินและใช้เอกสารปลอมเพื่อหลอกลวง
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายได้ยักยอกเงินที่ลูกค้านำมาชำระให้ผู้เสียหายแล้วจำเลยใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปอ้างแสดงต่อผู้เสียหาย ก็เพื่อให้ผู้เสียหายเข้าใจว่าจำเลยนำเงินที่ลูกค้าชำระให้ผู้เสียหายส่งมอบให้แผนกการเงินของผู้เสียหายแล้ว แม้การใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินปลอมจะต่างวาระกับความผิดฐานยักยอก แต่ก็เป็นเจตนาของจำเลยที่จะใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินปลอมเป็นหลักฐานเพื่อยักยอกเงินของผู้เสียหายนั่นเอง ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและความผิดฐานยักยอกจึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นกรรมเดียว การกระทำของจำเลยในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและฐานยักยอก จึงเป็นกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีความผิดหลายกรรมต่างกันที่เกี่ยวเนื่องกัน และจำกัดโทษรวมตามกฎหมาย
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้และคดีก่อนทั้งยี่สิบหกคดี จำเลยเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ. ซึ่งได้รับความเสียหายด้วยในทุกคดี โดยจำเลยถือโอกาสที่เป็นกรรมการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และเอกสาร โดยมีเจตนาเพื่อเบียดบังเอาเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน บ. ที่มอบหมายให้จำเลยนำไปชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน บ. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งความผิดปรากฏเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 พนักงานสอบสวนอาจสอบสวนความผิดทุกสำนวนแล้วเสนอความเห็นและส่งสำนวนไปยังโจทก์พร้อมกันได้ ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีนี้และคดีดังกล่าวทั้งยี่สิบหกคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ซึ่งเป็นกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) รวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้ เมื่อศาลลงโทษจำคุกจำเลยคดีทั้งยี่สิบหกคดีติดต่อกันมีกำหนด 20 ปีแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษคดีก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกันและการนับโทษจำคุกเมื่อศาลได้พิพากษาลงโทษจนเต็มตามกฎหมายแล้ว
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้และคดีก่อนทั้งยี่สิบหกคดี จำเลยเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ. ซึ่งได้รับความเสียหายด้วยในทุกคดี โดยจำเลยถือโอกาสที่เป็นกรรมการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และเอกสารโดยมีเจตนาเพื่อเบียดบังเอาเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน บ. ที่มอบหมายให้จำเลยนำไปชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน บ. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งความผิดปรากฏเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 พนักงานสอบสวนอาจสอบสวนความผิดทุกสำนวนแล้วเสนอความเห็นและส่งสำนวนไปยังโจทก์พร้อมกันได้ ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีนี้และคดีดังกล่าวทั้งยี่สิบหกคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) รวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้ เมื่อศาลลงโทษจำคุกจำเลยคดีทั้งยี่สิบหกคดีติดต่อกันมีกำหนด 20 ปีแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษคดีก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9051/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีอาญาหลังประนีประนอมและฟ้องแพ่ง – ศาลมีอำนาจลงโทษฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้ฟ้องไม่ตรงตาม ป.อ. มาตราที่ถูกต้อง
จำเลยปลอมเช็คของโจทก์ร่วมแล้วนำเช็คไปเบิกเงินและยักยอกเงินตามเช็คไป โจทก์ร่วมไปแจ้งความร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมในความผิดฐานยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนการที่โจทก์ร่วมนำมูลหนี้ตามเช็คไปฟ้องคดีแพ่งในมูลละเมิด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วม คดีถึงที่สุด ก็มีผลเพียงห้ามคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยมูลเหตุอย่างเดียวกันเฉพาะมูลคดีแพ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่เคยมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารตั๋วเงินและใช้เอกสารตั๋วเงินปลอมอันเป็นมูลคดีนี้ ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องคดีนี้ของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเช็คอันเป็นเอกสารสิทธิ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ดังนั้น เมื่อทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมสืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คและใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
of 93