คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1729

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนผู้จัดการมรดก กรณีละเลยหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามกฎหมาย
ศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดให้ตั้งผู้ร้อง และผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันจึงเป็นหน้าที่อันสำคัญที่ผู้จัดการมรดกดังกล่าวจะพึงตรวจสอบจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ฟังคำสั่งศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1728,1729 ฉะนั้น เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกแสดงต่อศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เพราะผู้คัดค้านปฏิเสธร่วมทำบัญชีกับผู้ร้อง โดยอ้างว่าต้องแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายให้ผู้คัดค้านครึ่งหนึ่งก่อนจึงจะยอมทำบัญชีทรัพย์มรดกดังนี้ จึงเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก มีเหตุสมควรที่ศาลจะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1731.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกตามเวลาที่กฎหมายกำหนด หากไม่ทำ ศาลมีอำนาจถอนได้
ทรัพย์มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้างเป็นเรื่องสำคัญ กฎหมายจึงได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งว่าต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน และให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาล ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกได้ การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย โดยอ้างว่าได้ดำเนินการให้เจ้าพนักงานที่ดินลงชื่อผู้คัดค้านในฐานะผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ยังไม่สามารถแบ่งปันมรดก เนื่องจากผู้ร้องได้อายัดที่ดินมรดกไว้นั้น ไม่เป็นเหตุผลอันสมควร เพราะนับตั้งแต่ผู้คัดค้านได้รับแต่งตั้งจากศาลจนถึงวันที่ผู้ร้องมาร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกเป็นเวลา 1 ปีเศษ ผู้คัดค้านมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกแต่อย่างใด ทั้งการที่ผู้ร้องอายัดที่ดินมรดกไว้ก็ไม่เป็นเหตุที่ทำให้ผู้คัดค้านไม่สามารถจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกได้ ย่อมมีเหตุที่ศาลจะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำขึ้นตามกฎหมายหมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกที่ได้จัดทำขึ้นภายหลังที่ผู้จัดการมรดกได้รับแต่งตั้งจากศาลแล้ว มิใช่บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้คัดค้านยื่นต่อศาลในวันที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: เอกสารประกอบฟ้อง, การจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก, และคุณสมบัติผู้จัดการ
บัญชีเครือญาติและมรณบัตร ไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมคำฟ้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดก
บัญชีทรัพย์มรดกในคดีที่จำเลยร้องขอให้เป็นผู้จัดการมรดกไม่ถือเป็นบัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำหลังจากรับหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728และ 1729
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิได้ให้การต่อสู้แต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นบุคคลที่ต้องห้ามตามกฎหมาย มิให้เป็นผู้จัดการมรดก และไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด ข้อฎีกาของจำเลยที่ 4 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียร้องขอถอนผู้จัดการมรดกในคดีเดิมได้ก่อนปันมรดกเสร็จสิ้น
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727ให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกโดยทำเป็นคำร้องขอก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นหมายความว่าผู้ร้องขอมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมนั่นเองส่วนปัญหาที่ว่าการจัดการมรดกรายนี้เสร็จสิ้นแล้วผู้จัดการมรดกมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่และผู้ร้องไม่มีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนั้นเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องถอนผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องในคดีเดิม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 ให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกโดยทำเป็นคำร้องขอก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้น หมายความว่าผู้ร้องขอมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนปัญหาที่ว่าการจัดการมรดกรายนี้เสร็จสิ้นแล้ว ผู้จัดการมรดกมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่และผู้ร้องไม่มีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้ จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนั้นเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: สิทธิผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องในคดีเดิม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 ให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกโดยทำเป็นคำร้องขอก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้น หมายความว่าผู้ร้องขอมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนปัญหาที่ว่าการจัดการมรดกรายนี้เสร็จสิ้นแล้วผู้จัดการมรดกมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่และผู้ร้องไม่มีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนั้นเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจัดการมรดก: นับจากวันที่จัดการมรดกเสร็จสิ้น
น. และจำเลยที่1ผู้จัดการมรดกของส. ต่างก็เป็นทายาทของเจ้ามรดกโดยน. เป็นภรรยาจำเลยที่1เป็นบุตรการที่บุคคลทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกอยู่แล้วมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก. ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้เท่านั้นหาเป็นเหตุให้อำนาจในการจัดการมรดกสิ้นสุดไปไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลถอนผู้จัดการมรดกอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกไปหมดแล้วในวันที่29ตุลาคม2518ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเมื่อวันที่4มิถุนายน2524เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามป.พ.พ.มาตรา1733 คำฟ้องโจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดให้เห็นว่าผู้จัดการมรดกก็ดีจำเลยก็ดีได้กระทำการใดๆอันจะถือได้ว่าเป็นการรับสภาพความผิดต่อโจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา172หรือกระทำการอื่นใดอันจะถือว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามป.พ.พ.มาตรา192จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นปัญหาเรื่องนี้เป็นเรื่องอายุความฟ้องร้องมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: การทำบัญชีทรัพย์มรดก ความเพิกเฉยหน้าที่ และการระบุทายาท
บัญชีทรัพย์ที่ผู้จัดการมรดกยื่นต่อศาลขณะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องลงมือจัดทำให้แล้วเสร็จภายหลังที่ได้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728,1729
เมื่อทรัพย์มรดกที่อยู่ในความครอบครองของ ส.ผู้จัดการมรดกมีเพียงสิทธิในการเช่าที่ดิน 1 แปลงกับบ้านไม้ที่ได้ปลูกอยู่ในที่ดินเท่านั้น ซึ่ง ส.ผู้จัดการมรดกก็ได้เคยยื่นบัญชีทรัพย์แสดงต่อศาลไว้ขณะยื่นคำร้องขอครั้งหนึ่งแล้ว มิได้ปิดบังทรัพย์มรดกแต่อย่างใดแสดงว่ามิได้เพิกเฉยในหน้าที่ผู้จัดการมรดกประกอบมีพฤติการณ์อื่น จึงไม่สมควรถอน ส. จากเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้จัดการมรดก: การยื่นบัญชีทรัพย์และการจัดการทรัพย์สิน
บัญชีทรัพย์ที่ผู้จัดการมรดกยื่นต่อศาลขณะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการจะต้องลงมือจัดทำให้แล้วเสร็จภายหลังที่ได้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728, 1729
เมื่อทรัพย์มรดกที่อยู่ในความครอบครองของ ส.ผู้จัดการมรดกมีเพียงสิทธิในการเช่าที่ดิน 1 แปลงกับบ้านไม้ที่ได้ปลูกอยู่ในที่ดินเท่านั้น ซึ่ง ส.ผู้จัดการมรดกก็ได้เคยยื่นบัญชีทรัพย์แสดงต่อศาลไว้ขณะยื่นคำร้องขอครั้งหนึ่งแล้ว มิได้ปิดบังทรัพย์มรดกแต่อย่างไดแสดงว่ามิได้เพิกเฉยในหน้าที่ผู้จัดการมรดกประกอบมีพฤติการณ์อื่นจึงไม่สมควรถอน ส.จากเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกและการแบ่งค่าเช่าทรัพย์มรดกแก่ทายาท โดยมิพักรอการจัดการมรดกให้เสร็จสิ้น
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตายมรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนดผู้จัดการมรดกของ ฮ. มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ. มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย. มารดาของ ซ . ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย. คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย. ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย. ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย. ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาททายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของย. ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ. ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ. จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่าเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1754 เมื่อ ซ. มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ. ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ. เป็นการกระทำแทน ซ. หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ. เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่าซ. ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของย. เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วจึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่งจะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ. ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิมไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479,1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคนการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทหาจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ. ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ. ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ยัน ซ. ก็ไม่ได้เพราะ ซ. กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ. ไม่ได้
of 4