พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชั้นศาล & การพิจารณาคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีตามลำดับชั้น
คดีที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับรับฟ้องแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาด ต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาต่อไปตามรูปคดี ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีโดยมิให้ศาลชั้นต้นได้สืบพยานแล้วพิจารณาและพิพากษาเสียก่อนตามลำดับชั้นศาล ย่อมไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: สิทธิทนายความ-เงินรางวัล: กฎหมายพิเศษ-ไม่ต้องใช้ ป.วิ.อ. มาตรา 173
บทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยการไต่สวนและไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำ ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับได้ ศาลจึงไม่จำต้องสอบถามผู้ถูกกล่าวหาเรื่องทนายความและตั้งทนายความให้ผู้ถูกกล่าวหาตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลชั้นต้นตั้งทนายความให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลดังเช่นคดีอาญาทั่วไป และคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมไม่ได้ออกระเบียบให้ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่าย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทนายความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับรายวันจากการฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคาร แม้จะยกอาคารให้เป็นสาธารณสมบัติ ก็ยังต้องชำระจนกว่าจะรื้อถอน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร วันละ 100 บาท นับแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งหมายความว่า จำเลยต้องชำระค่าปรับรายวันในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 และ 66 ทวิ วรรคสอง ดังนั้น จำเลยจึงต้องชำระค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 42 กล่าวคือ จนกว่าจำเลยจะได้รื้อถอนอาคารพิพาทตามมาตรา 42 แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงตามทางไต่สวนไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอนอาคารพิพาทแล้ว จำเลยจึงยังคงต้องชำระค่าปรับรายวันตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต่อไปจนกว่าจะได้รื้อถอนอาคารพิพาท
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจงดการบังคับชำระค่าปรับรายวันเพราะเหตุจำเลยได้ยกอาคารพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์แล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจงดการบังคับชำระค่าปรับรายวันเพราะเหตุจำเลยได้ยกอาคารพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดช่วงเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 1 (11) เพื่อใช้ในการพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์
ป.อ. มาตรา 1 (11) คำว่า "กลางคืน" หมายความว่า เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายเมื่อระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม 2555 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2555 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง เวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ดังนั้น เวลาเกิดเหตุตามฟ้องของโจทก์คือ ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกของวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ถึงเวลา 24 นาฬิกา ของวันเดียวกัน และเวลา 0.01 นาฬิกา ของวันที่ 21 สิงหาคม 2555 ไปแล้ว จนถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นของวันเดียวกัน จึงเป็นเวลากลางคืนของวันที่ 20 และ 21 สิงหาคม 2555 ติดต่อกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษจำคุกอย่างเดียวตาม ป.อ. มาตรา 20 ไม่จำเป็นต้องระบุในคำพิพากษา
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนด ให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว โดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษ ที่ศาลจะต้องระบุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 20 ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีหลอกลวงเอาทรัพย์ การพิสูจน์องค์ประกอบความผิดทางอาญาที่ต้องแสดงให้เห็นการได้ทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัท ด. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน 3 แปลง ทำสัญญานายหน้ากับโจทก์กับพวกเพื่อให้โจทก์กับพวกทำหน้าที่ชี้ช่องติดต่อหาผู้ซื้อที่ดินดังกล่าว ต่อมาโจทก์กับพวกติดต่อจำเลยที่ 2 ว่าจะซื้อที่ดิน แต่ยังไม่มีการนัดจดทะเบียนโอน จำเลยทั้งสองร่วมกันไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการจดทะเบียนโอนที่ดินทั้ง 3 แปลง และจำเลยที่ 2 ให้บริษัท จ. ซึ่งมี ธ. เป็นตัวแทนเป็นผู้ซื้อที่ดิน โจทก์กับพวกมีสิทธิได้รับค่านายหน้าตามสัญญาเป็นเงิน 5,560,000บาท แต่จ่ายค่านายหน้าให้โจทก์เพียง 250,000 บาท การให้บริษัท จ. โดย ธ. เป็นผู้ซื้อที่ดินทั้งสามแปลง เพื่อให้ตนได้รับค่านายหน้าทั้งหมดหรือบางส่วน อันเป็นการแสดงตนเป็นคนอื่น และการติดต่อทำสัญญากับโจทก์และพวกให้มีการซื้อขายที่ดินของจำเลยทั้งสอง ก็เป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงได้ไปซึ่งเงินค่านายหน้าของโจทก์ ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวงเช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยทั้งสองได้เงินไปจากโจทก์ซึ่งอ้างว่าถูกหลอกลวงแต่อย่างใด เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้เท่านั้น เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง ทั้งข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองแสดงตนเป็นบุคคลอื่นหรือฉ้อโกงประชาชนแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามฟ้องโจทก์และไม่มีมูลเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาล: ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจพิจารณารับหรือไม่รับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น และคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ถือเป็นที่สุด
เมื่อศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาคำร้องนั้นแล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยทำนองว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องและสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่ พ. จะไม่ชอบก็เป็นเพียงเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อจะรับอุทธรณ์ของโจทก์หรือไม่เท่านั้น และผลที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นโจทก์ของบาดเจ็บที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และการพิจารณาพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกาย
ผู้เสียหายถูกคนร้ายทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงเป็นกรณีผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ถ้าผู้เสียหายจะเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาของผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) ประกอบมาตรา 5 (2) การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเองโดยมีการพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในใบแต่งทนายความ แม้จะมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ก็ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือด้วยตนเอง เนื่องจากผู้เสียหายไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ จึงมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เป็นการไม่ถูกต้อง ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วม จึงไม่มีสิทธิฎีกา และแม้กรณีเช่นว่านั้นสามารถที่จะแก้ไขความบกพร่องได้ แต่คดีล่วงเลยมานานมากแล้ว ทั้งการพิจารณาคดีก่อนหน้านั้นของโจทก์ร่วมมิได้เสียไป ประกอบกับพนักงานอัยการก็ว่าคดีต่างโจทก์ร่วมอยู่แล้ว จึงเห็นควรไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งผู้เสียหายแก้ไขข้อบกพร่องในการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการให้บริบูรณ์ใหม่เสียก่อน และสมควรพิจารณาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21697/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพลเรือนในการชันสูตรพลิกศพผู้ต้องขังทหาร: คดีไม่อยู่ในอำนาจหากผู้กระทำผิดเป็นทหาร
ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมีอำนาจทำการไต่สวนและมีคำสั่งในการชันสูตรพลิกศพต่อเมื่อคดีนั้นอยู่ในอำนาจของศาลนั้น และการไต่สวนและมีคำสั่งนั้นเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. กรณีไม่อาจนำ ป.วิ.อ. ใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 45 ได้ เพราะตามคำร้องผู้กระทำความผิดต่อผู้ตายเป็นพลทหารกองประจำการ ซึ่งต้องถูกฟ้องยังศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 13 และมาตรา 16 (3) คดีของผู้กระทำความผิดดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือน แม้การไต่สวนและทำคำสั่งในการชันสูตรพลิกศพของศาลชั้นต้นไม่ใช่การฟ้องคดีต่อผู้กระทำให้ตายดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างในฎีกา แต่ก็เป็นวิธีการพิเศษที่บัญญัติให้ศาลต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 150 วรรคห้า และวรรคสิบเอ็ด ดังนี้ ศาลพลเรือนจะรับไต่สวนและทำคำสั่งในการชันสูตรพลิกศพได้ก็เฉพาะแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลพลเรือน มิใช่ว่าเมื่ออัยการจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์เห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารและต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือน แล้วอัยการจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์ส่งสำนวนการสอบสวนให้ผู้ร้องเพื่อดำเนินการตาม ป.วิ.อ. ซึ่งผู้ร้องจะส่งสำนวนกลับคืนไปยังอัยการจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์ไม่ได้ จะทำให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนต้องไต่สวนและมีคำสั่งในการชันสูตรพลิกศพคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20608/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประกันตัว – การโต้แย้งคำสั่งศาล – การสิ้นสุดของกระบวนการพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับนายประกัน ออกคำบังคับให้นายประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายแจ้งคำสั่ง การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องว่า ผู้ประกันจะพยายามติดตามตัวจำเลยมาส่งศาลให้ได้ และขอผัดส่งตัวจำเลยภายใน 1 เดือน ขอให้ศาลงดการบังคับคดีตามสัญญาประกันไว้ก่อน ถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งให้บังคับตามสัญญาประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ประกัน ผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง