พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8698/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาเป็นสิทธิเฉพาะตัว การขยายระยะเวลาของโจทก์มิผูกพันโจทก์ร่วม เหตุผลความบกพร่องของทนายไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
สิทธิในการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพื่อใช้สิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 นั้น เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละคน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นเรื่องเฉพาะของตัวโจทก์เท่านั้น ไม่มีผลถึงโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอ้างว่า คดีมีเอกสารมากมายและมีความซับซ้อน ทนายความโจทก์ร่วมต้องใช้ระยะเวลาเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนและพยานเอกสารต่าง ๆ จากโจทก์ร่วม และติดต่อพนักงานอัยการเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนให้ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ร่วม ถือเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วมที่ไม่รวบรวมเอกสารเพื่อทำฎีกายื่นต่อศาลแต่เนิ่น ๆ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอ้างว่า คดีมีเอกสารมากมายและมีความซับซ้อน ทนายความโจทก์ร่วมต้องใช้ระยะเวลาเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนและพยานเอกสารต่าง ๆ จากโจทก์ร่วม และติดต่อพนักงานอัยการเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนให้ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ร่วม ถือเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วมที่ไม่รวบรวมเอกสารเพื่อทำฎีกายื่นต่อศาลแต่เนิ่น ๆ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8550/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรู้หรือควรรู้ตัวผู้ต้องรับผิดและระยะเวลาดำเนินการของหน่วยงาน
เหตุละเมิดคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2537 โจทก์มีหนังสือแจ้งให้แขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหาย แขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหาย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2537 ถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 และฉบับวันที่ 5 มิถุนายน ถึงจำเลยที่ 1 แสดงว่าอย่างช้าที่สุดในวันที่ 5 มิถุนายน 2538 โจทก์ได้รู้แล้วว่าผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยทั้งสาม แม้โจทก์จะอ้างว่าต้องรับผิดชอบคดีที่เกิดขึ้นทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้มีงานคั่งค้างเป็นเหตุให้รายงานอธิบดีโจทก์ทราบล่าช้า แต่การใช้เวลาดำเนินการเนิ่นนานไปจนผิดปกติเช่นนี้ โจทก์ควรมีพยานหลักฐานมาแสดงให้ปรากฏว่ามีการดำเนินการอย่างไรบ้างและไปติดขัดอยู่ที่ใด และไม่ปรากฏว่าโจทก์เร่งรัดไปยังแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 เพิ่มเติมหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งที่รู้แล้วว่าผู้ที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยทั้งสามแต่กลับเพิ่งจะมีบันทึกข้อความรายงานถึงอธิบดีโจทก์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 และอธิบดีโจทก์ลงนามรับทราบในวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ภายหลังวันเกิดเหตุเกือบ 10 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลานานเกินสมควรกว่าขั้นตอนการปฏิบัติราชการตามปกติ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์เพิ่งจะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 เชื่อว่าโจทก์ได้รู้หรือควรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2547 เกิน 1 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8529/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จำเลยต้องให้การต่อสู้คดีแพ่งชัดเจน หากมิได้ยกข้ออ้างในชั้นต้น ห้ามอุทธรณ์ฎีกา
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกเนื่องจากจำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนเกินที่โจทก์ขายที่ดินไว้ในครอบครองแล้วเบียดบังไปเป็นของตนโดยทุจริต สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจึงต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญา จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีอาญา โจทก์ย่อมนำคดีส่วนแพ่งมาฟ้องรวมกับคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะพิจารณายกฟ้องในคดีส่วนอาญา ก็ไม่ทำให้ฟ้องในส่วนแพ่งที่สมบูรณ์แล้วเสียไป
การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้รับประทับฟ้อง ย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นการสั่งให้รับฟ้องคดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งด้วย หากจำเลยจะต่อสู้คดีส่วนแพ่ง จำเลยจะต้องให้การต่อสู้ตามที่ ป.วิ.พ. ได้บัญญัติไว้พร้อมกับคำให้การต่อสู้คดีส่วนอาญาด้วยกัน โดยคำให้การคดีส่วนแพ่งนั้นจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การของจำเลยให้การต่อสู้คำฟ้องโจทก์ในคดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งรวมกันมาว่า จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นเท่านั้น คำให้การส่วนแพ่งจึงเป็นเพียงการปฏิเสธลอย ๆ หาได้โต้แย้งข้อเท็จจริงฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งซึ่งจำเลยจะต้องให้การมาโดยแจ้งชัดด้วยว่า คดีในส่วนแพ่งเป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น เพราะเหตุใด เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ จำเลยเพิ่งยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีในส่วนแพ่งเป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นหรือไม่ ถือว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้รับประทับฟ้อง ย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นการสั่งให้รับฟ้องคดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งด้วย หากจำเลยจะต่อสู้คดีส่วนแพ่ง จำเลยจะต้องให้การต่อสู้ตามที่ ป.วิ.พ. ได้บัญญัติไว้พร้อมกับคำให้การต่อสู้คดีส่วนอาญาด้วยกัน โดยคำให้การคดีส่วนแพ่งนั้นจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การของจำเลยให้การต่อสู้คำฟ้องโจทก์ในคดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งรวมกันมาว่า จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นเท่านั้น คำให้การส่วนแพ่งจึงเป็นเพียงการปฏิเสธลอย ๆ หาได้โต้แย้งข้อเท็จจริงฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งซึ่งจำเลยจะต้องให้การมาโดยแจ้งชัดด้วยว่า คดีในส่วนแพ่งเป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น เพราะเหตุใด เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ จำเลยเพิ่งยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีในส่วนแพ่งเป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นหรือไม่ ถือว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องระงับเมื่อคดีอาญาเกี่ยวกับความผิดเดียวกันถูกพิจารณาและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อน แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 17 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2547 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยนำเงิน 29,400,000 บาท ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดของเจ้าพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตาม ป.อ. หรือกฎหมายอื่น โอน รับโอน เปลี่ยนสภาพไปหรือกระทำการใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยเพื่อซุกซ่อน ปกปิด แหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น เพื่อปกปิดอำพรางไม่ให้ผู้ใดพบเห็นและทราบถึงลักษณะที่แท้จริง ตลอดจนทั้งการได้มาซึ่งทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิด อันเป็นการกระทำความผิดฐานฟอกเงินโดยฝ่าฝืนกฎหมาย แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ นอกจากจะขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 แล้ว โจทก์ยังขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 มาด้วย ส่วนคดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 17 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 จำเลยซึ่งเป็นพนักงานบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกันกล่าวคือ จำเลยได้เบิกเงินของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสว่างแดนดินไปรวม 22 ครั้ง รวมเป็นเงิน 29,400,000 บาท แล้วไม่นำมาเก็บรักษาไว้ในที่ทำการไปรษณีย์สว่างแดนดิน หรือนำไปใช้จ่ายในกิจการของที่ทำการไปรษณีย์สว่างแดนดิน แต่กลับเบียดบังเอาไปเป็นของตนเองหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ขอให้ลงโทษเฉพาะตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4, 11 เห็นได้ว่า วันเวลา สถานที่รวมถึงการกระทำที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้เป็นวันเวลา สถานที่เดียวกัน และเป็นการกระทำในคราวเดียวกันกับคดีก่อนของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาและวินิจฉัยถึงการกระทำความผิดของจำเลยต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ในคดีดังกล่าวแล้วว่า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีการทุจริตยักยอกเงินถึง 22 ครั้ง แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมมิได้เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ทั้งศาลชั้นต้นก็มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เช่นนี้ถือได้ว่าศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำความผิดของจำเลยและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงระงับไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งกันเอง การยกประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา เป็นการไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อต่อสู้ในคำให้การ จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างซึ่งปฏิบัติหน้าที่ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงรับเงินจากจำเลยที่ 2 เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว มูลคดีนี้จึงเป็นอันระงับ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับหรือปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์จริงหรือไม่ เพราะหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่จำต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ หากโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 จริง ก็เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 และกระทำละเมิดในทางการที่จ้างดังฟ้อง จึงเป็นคำให้การที่ไม่อาจให้รวมกันมาได้เพราะขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทกับจำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาททั้งสองดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7295/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม, ลักทรัพย์, และสิทธิการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วม
จำเลยปลอมใบถอนเงินของธนาคารโจทก์ร่วมโดยเขียนข้อความและลงลายมือชื่อปลอมของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินมอบฉันทะให้จำเลยเป็นผู้เบิกถอนเงิน รับเงิน และรับสมุดบัญชีเงินฝาก แล้วจำเลยใช้และอ้างใบถอนเงินปลอมแก่พนักงานโจทก์ร่วม จนพนักงานโจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารสิทธิที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องจ่ายเงินตามใบถอนเงินปลอมให้แก่จำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง
พฤติการณ์ของจำเลยที่ลักและเอาไปเสียซึ่งสมุดบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายแล้วปลอมใบถอนเงินของธนาคารโจทก์ร่วมเอาไปแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมเพื่อขอเบิกถอนเงิน เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารโจทก์ร่วมเป็นหลัก จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
พฤติการณ์ของจำเลยที่ลักและเอาไปเสียซึ่งสมุดบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายแล้วปลอมใบถอนเงินของธนาคารโจทก์ร่วมเอาไปแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมเพื่อขอเบิกถอนเงิน เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารโจทก์ร่วมเป็นหลัก จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7250/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเบิกความเท็จต้องระบุข้อสำคัญในคดีอาญา ศาลต้องพิจารณาได้ว่าคำเบิกความนั้นมีผลต่อการพิจารณาคดีหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่าอย่างไรและความจริงเป็นอย่างไร แล้วบรรยายฟ้องต่อไปถึงการกระทำต่างๆ ของจำเลยแล้วสรุปว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการเบิกความโดยรู้อยู่ว่าเป็นเท็จและเป็นข้อสาระสำคัญในการพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้น การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อให้ศาลเชื่อตามคำเบิกความของจำเลยที่ 2 อันเป็นข้อสาระสำคัญของคดี โดยโจทก์ไม่บรรยายให้เห็นว่า ในคดีอาญาดังกล่าว ประเด็นและข้อความที่เป็นเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีนั้นอย่างไร เช่นนี้ ศาลย่อมไม่อาจพิเคราะห์ได้ว่าคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องโจทก์เป็นข้อสำคัญในการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาหรือไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดฐานร่วมกันเบิกความเท็จและนำสืบอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาล พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดาน: ศาลพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนผู้เสียหายซึ่งน่าเชื่อถือกว่าคำเบิกความในชั้นศาล
ผู้เสียหายเบิกความเป็นพยานว่า ขณะจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ได้ขัดขืนเพราะเห็นว่าจำเลยเป็นบิดา แต่ให้การตามบันทึกคำให้การต่อหน้าบุคคลที่ผู้เสียหายร้องขอ พนักงานอัยการ และนักสังคมสงเคราะห์ว่า ขณะจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ผู้เสียหายได้ร้องขอไม่ให้จำเลยทำ จำเลยไม่ฟังและผู้เสียหายก็มีร่างกายไม่สมประกอบ ไม่มีแรงที่จะขัดขืน ผู้เสียหายเป็นบุตรจำเลยและเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ผู้เสียหายยังรักจำเลยและไม่ประสงค์จะเอาเรื่องจำเลย เชื่อว่าผู้เสียหายเบิกความในชั้นพิจารณาเพื่อช่วยเหลือจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจึงน่าเชื่อกว่าคำเบิกความ แม้คำให้การในชั้นสอบสวนจะเป็นพยานบอกเล่าแต่เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่าน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ ประกอบกับเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยที่บุตรจะยินยอมให้บิดากระทำชำเรา คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจึงมีเหตุผลหนักแน่นรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาเกี่ยวกับเอกสารปลอม: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ทำให้ไม่เกิดความเสียหาย
โจทก์เคยฟ้องขอให้บังคับจำเลยกับ ม. ร่วมกันชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยเชื่อว่าสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ในคดีดังกล่าวเป็นเอกสารที่โจทก์ทำปลอมขึ้น ผลแห่งคำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยกับ ม. รับผิดต่อโจทก์ได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยปลอมสัญญาค้ำประกันอันเป็นเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5802/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีที่ยังไม่สิ้นสุด และอำนาจการพิจารณาพิพากษาขององค์คณะที่ได้รับมอบหมาย
ศาลชั้นต้นให้โอกาสแก่จำเลยทั้งสองในการผ่อนชำระหนี้และเลื่อนการฟังคำพิพากษาไป จึงมีผลเท่ากับมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไป เพราะเมื่อถึงกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษา ศาลชั้นต้นต้องสอบถามโจทก์และจำเลยทั้งสองก่อนว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ เพื่อประกอบดุลพินิจว่าจะให้โอกาสจำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ต่อไปหรือมีคำพิพากษาในวันดังกล่าว จึงหาใช่การพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้เสร็จสิ้นแล้วไม่ ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาในวันนัดฟังคำพิพากษาที่เลื่อนมาว่า ศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับการชำระหนี้ตามข้อตกลง จำเลยทั้งสองแถลงว่าได้นำเงินบางส่วนมาวางต่อศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ และขอให้โอกาสจำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ต่อไป แต่โจทก์แถลงคัดค้านไม่ยอมรับเงินที่จำเลยทั้งสองวางศาลเพราะจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง ดังนี้ คดีจึงยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น มิใช่อยู่ระหว่างการทำคำพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 ผู้พิพากษาอีกคนในศาลชั้นต้นที่ได้รับมอบหมายจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลให้นั่งพิจารณาคดีแทนองค์คณะพิจารณาคดีเดิมในวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว จึงเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 (3)