คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสฬส สุวรรณเนตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 กรณีอ้างตนเป็นเจ้าพนักงานและเรียกรับเงินเพื่อเอื้อประโยชน์ในการประกวดราคา
คณะกรรมการตรวจการจ้างมิใช่เป็นบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะมีอำนาจในการพิจารณาว่าจะให้บุคคลใดชนะการประกวดราคา ดังนั้น แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ทั้งสองนำสืบว่าจำเลยกล่าวอ้างต่อโจทก์ทั้งสองว่าจำเลยเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง หากให้เงินจำเลยก็จะให้ห้างหุ้นส่วนของโจทก์ทั้งสองชนะการประกวดราคาก็ตาม การกระทำของจำเลย ก็มิได้เป็นการกล่าวอ้างต่อโจทก์ทั้งสองเพื่อกระทำการเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจในการพิจารณาว่าจะให้ห้างหุ้นส่วนของโจทก์ทั้งสองชนะการประกวดราคาอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 145 วรรคแรก แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่มีผลผูกพันจำเลย: บันทึกจ่ายค่าตอบแทนการค้ำประกันนอกวัตถุประสงค์บริษัท
ขณะที่กรรมการบริษัทจำเลยทำบันทึกจ่ายค่าตอบแทนการทำสัญญาค้ำประกันให้โจทก์นั้น โจทก์สมัครใจทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่มีต่อธนาคารอยู่ก่อนแล้ว โดยมิได้เรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนสำหรับการทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว และเหตุที่ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวก็เห็นได้ว่าทำขึ้นจากการขอร้องของฝ่ายโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำการใดเพื่อเป็นการตอบแทน มีแต่จะขอปลดเปลื้องภาระที่ตนทำขึ้นเท่านั้น มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือโจทก์ให้มีรายได้ดังที่นาย ส. กรรมการจำเลยเบิกความ บันทึกการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวจึงมิใช่การกระทำเพื่อกิจการค้าของบริษัท เป็นการกระทำนอกขอบ วัตถุประสงค์ของจำเลย และในเรื่องการชำระเงินนี้ ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่านาย ส. เป็นผู้จ่ายเงินตามบันทึกข้อตกลงเอง ซึ่งเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยเช่นกัน ไม่อาจถือว่าจำเลยให้สัตยาบัน บันทึกการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15953/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวุธปืนเถื่อน: การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและการริบของกลาง
จำเลยมีอาวุธปืนพก ขนาด .32 (7.65 มม.) มีเครื่องหมายทะเบียน แต่นายทะเบียนมิได้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ใดไว้ในครอบครอง ซึ่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 9 บัญญัติว่า "ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องอาวุธปืนให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สินหรือในการกีฬาหรือยิงสัตว์ ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก" และมาตรา 10 บัญญัติว่า "อาวุธปืนที่ได้ออกใบอนุญาตให้ตามมาตราก่อน ให้นายทะเบียนทำเครื่องหมายประจำอาวุธปืนนั้นไว้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง" ดังนี้ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและพาไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น มิใช่เป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อาวุธปืนดังกล่าวจึงเป็นอาวุธปืนที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15505/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: การหลอกลวงเฉพาะกลุ่มไม่เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ป.อ. มาตรา 343 บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน" คำว่า "ประชาชน" หมายถึงบุคคลทั่วไปไม่จำกัดตัวว่าเป็นผู้ใด แต่คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกซึ่งเป็นคนต่างด้าวและคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น โดยคนต่างด้าวดังกล่าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาหลอกลวงเฉพาะคนต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวเท่านั้น อันเป็นการจำกัดตัวผู้ถูกหลอกลวงว่าเป็นผู้ใดมิใช่หลอกลวงบุคคลทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 คงมีความผิดตามมาตรา 341 ตามที่จำเลยให้การรับสารภาพเท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งหกว่าจำเลยได้ชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายทั้งหกแล้ว และผู้เสียหายทั้งหกไม่ติดใจดำเนินคดีนี้แก่จำเลยอีก ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวย่อมระงับไปตาม .ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15397/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งยาเสพติดจากจำนวนเดิมเพื่อจำหน่าย ไม่ถือเป็นความผิดต่างกรรม
ยาเสพติดให้โทษที่จำเลยนำมาเพื่อจำหน่าย 20 เม็ด เป็นจำนวนเดียวกันกับที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 141 เม็ด การที่จำเลยแบ่งแยกออกมาจากจำนวนเดียวกันเพื่อนำไปจำหน่ายโดยยังไม่มีการจำหน่ายนั้น เป็นเจตนาเดียวกับที่จำเลยมีอยู่เดิมแล้ว ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยเป็นการครอบครองยาเสพติดให้โทษเพื่อจำหน่ายอีกกรรมหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14381/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระหนี้ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ และมีผลสะดุดอายุความ
กรณีที่จะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 850 กล่าวคือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน แต่ตามบันทึกการเจรจาตกลงชดใช้ชำระหนี้ค่าปรับที่นามีความว่า เมื่อเดือนมกราคม 2541 โจทก์ได้รับจ้างใช้รถแทรกเตอร์ปรับที่นาให้จำเลยในราคา 20,000 บาท จำเลยชำระเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว ในวันทำบันทึกจำเลยชำระเงินให้โจทก์อีก 2,000 บาท ส่วนที่ค้างชำระ 12,000 บาท จำเลยขอผ่อนชำระเป็น 2 งวด งวดที่ 1 ในวันที่ 30 เมษายน 2542 เป็นเงิน 6,000 บาท และงวดที่ 2 ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542 เป็นเงิน 6,000 บาท ดังนี้จะเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์เพียงฝ่ายเดียวยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วได้ อันเป็นการที่โจทก์สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาของโจทก์เองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง บันทึกดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ หากแต่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาจ้างทำของตามมาตรา 193/14 (1) อันเป็นผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น โจทก์ในฐานะผู้รับจ้างต้องเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับภายในกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 193/14 (7) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ค่าจ้างค้างชำระแต่ละงวดถึงกำหนด คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13417/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการจ่ายเงินรางวัลค่าปรับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ: ข้อบังคับกระทรวงการคลังมิได้กำหนดหน้าที่โดยตรง
แม้ข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินรางวัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร พ.ศ.2544 ข้อ 5 กำหนดว่า "เงินค่าปรับที่ส่วนราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับ ให้หักไว้จ่ายเป็นเงินรางวัล เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรในอัตราร้อยละ 95 ก่อนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน" ก็ตาม แต่ข้อบังคับดังกล่าวเป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการหักเงินค่าปรับจ่ายเป็นเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรก่อนนำส่งคลังเท่านั้น ไม่ใช่ข้อบังคับที่กำหนดให้ศาลจ่ายเงินรางวัลค่าปรับแก่ผู้จับกุม โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นคำขอให้ศาลจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้จับกุมตามข้อบังคับดังกล่าว
of 15