คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสฬส สุวรรณเนตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12137/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมลายมือชื่อในสำเนาบัตรประชาชน ไม่ถือเป็นเอกสารราชการปลอม แต่เป็นเอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264
ความผิดฐานปลอมเอกสารไม่ว่าจะเป็นการทำปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมนั้น ต้องเป็นการกระทำต่อเอกสารอันเป็นผลให้เอกสารนั้นผิดแผกแตกต่างไป ด้วยเจตนาให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง แม้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจะเป็นเอกสารราชการ แต่ได้ความว่ามีเพียงการปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการเติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้แตกต่างไปจากสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนี้แต่อย่างใด สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวยังคงเป็นเอกสารที่แท้จริง การปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจึงเป็นเพียงการปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรกเท่านั้น เมื่อจำเลยใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม คงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11216/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกกรณีเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาต่างกัน และมีทรัพย์สินร่วมกัน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกสามราย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย" แต่เจ้ามรดกทั้งสามรายมีภูมิลำเนาต่างท้องที่กัน ตามมาตรา 5 บัญญัติว่า "คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นได้" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่จะพิจารณารวมกันได้ ผู้ร้องย่อมมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายต่อศาลชั้นต้นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11216/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อมีทรัพย์สินร่วมกันและภูมิลำเนาต่างกัน
ถ. และ บ. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดเพชรบุรี อันเป็นศาลชั้นต้นในขณะที่ถึงแก่ความตาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของบุคคลทั้งสองไว้แล้วทำการไต่สวนตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. และ บ. จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่งแล้ว ส่วนคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ผ. เจ้ามรดกอีกคนหนึ่งไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะรับไว้พิจารณาเนื่องจาก ผ. มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่จังหวัดสมุทรสาครในขณะถึงแก่ความตายนั้น แม้ผู้ร้องอาจใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ผ. เป็นอีกคดีหนึ่งได้ที่ศาลชั้นต้นแห่งอื่น อันเป็นศาลที่ ผ. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายก็ตาม แต่กรณีก็ต้องปรับด้วย มาตรา 5 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อเจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกันคือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่จะพิจารณารวมกันได้ ผู้ร้องย่อมมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ผ. ต่อศาลชั้นต้นได้โดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10861/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ ต้องเป็นไปตามข้อบังคับ หากไม่เป็นไปตามข้อบังคับ การแต่งตั้งเป็นโมฆะ
ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 กำหนดให้คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ประกอบด้วยบุคคลไม่น้อยกว่า 20 คน และไม่เกิน 25 คน ซึ่งเป็นสมาชิกสโมสรไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย และได้รับการเลือกตั้งจากการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาชิกสมาคมสโมสรไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย และข้อ 7 กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะเชิญบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งจากสมาคมสโมสรไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย ตามตำแหน่งต่างๆที่กำหนดไว้ในข้อ 6 เข้าเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แทนตำแหน่งที่ได้ว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระได้ เป็นที่เห็นได้ว่า โดยหลักแล้วคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 และได้รับการเลือกตั้งจากการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาชิก โดยมีวาระอยู่คราวละ 3 ปี ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 10 การแต่งตั้งกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระจึงรู้กำหนดแน่นอน การแต่งตั้งกรรมการที่กำหนดออกตามวาระจึงต้องกระทำตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 ดังกล่าว จึงไม่ใช่กรณีไม่มีข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาใช้แต่งตั้งกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระและไม่อาจนำข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อที่ 7 ซึ่งใช้เฉพาะกรณีกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นไม่ใช่ครบกำหนดตามวาระมาใช้ได้เช่นกัน ดังนั้นที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 เข้าร่วมประชุมกันแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบและรับรองให้เลือกจำเลยที่ 16 ถึง ที่ 20 เป็นกรรมการแทนกรรมการที่ว่างลงเพราะเหตุถึงคราวออกตามวาระจึงเป็นการมิชอบ หากกรรมการของจำเลยที่ 1 ที่เหลืออยู่ไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ได้ กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 125 วรรคสาม ที่ให้กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะได้แจ้งการรับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิที่ตั้งใหม่ ซึ่งหมายถึงกรรมการมูลนิธิที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งโดยชอบตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 หรือข้อ 7 ดังกล่าว แม้จำเลยที่ 16 ถึงที่ 20 จะเป็นกรรมการโดยมิชอบ แต่ ป.พ.พ. มาตรา 124 บัญญัติว่า บรรดากิจการที่คณะกรรมการมูลนิธิได้กระทำไป แม้จะปรากฏในภายหลังว่ามีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการแต่งตั้งหรือคุณสมบัติของกรรมการมูลนิธิ กิจการนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 20 ลงมติรับรองการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และต่อมาจำเลยที่ 1 โดยผู้กระทำการแทน นำมติดังกล่าวนั้นไปจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับและอาศัยอำนาจตามข้อบังคับที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงมีมติให้ปิดการใช้ที่ทำการอาคารมูลนิธิไลออนส์ในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 1/3-4 ซอยเอกมัย 2 ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เพื่อย้ายไปที่ทำการแห่งใหม่เลขที่ 300 ซอยพงษ์เวชอนุสรณ์ ซอยสุขุมวิท 64 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร จึงมีผลสมบูรณ์ ไม่อาจเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10569/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีบริษัทจำกัดต้องมีกรรมการผู้มีอำนาจ และการแยกความผิดผลิต-ขายปุ๋ยเคมี
การฟ้องคดีอาญาต่อบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล ต้องมีกรรมการผู้อำนาจกระทำการแทนบริษัทซึ่งเป็นผู้แทนบริษัทจึงจะดำเนินคดีได้ ขณะยื่นฟ้อง ส. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงต้องนำตัว ส. มาส่งศาลชั้นต้นพร้อมกับฟ้อง โจทก์ไม่ได้นำตัว ส. มาศาลต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีตัวอยู่อย่างสมบูรณ์ตามกฎหมายและต้องถือว่าโจทก์ไม่มีตัวจำเลยที่ 1 มาศาลในวันฟ้องด้วย การที่ศาลชั้นต้นประทับรับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคหนึ่ง และทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบด้วย
การร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีปลอมและปุ๋ยเคมีที่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อการค้ากับการร่วมกันขายปุ๋ยเคมีเป็นความผิดซึ่งอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากกันได้ แม้ปุ๋ยเคมีปลอมและปุ๋ยเคมีที่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนที่ขายไปจะเป็นส่วนหนึ่งของปุ๋ยเคมีปลอมและปุ๋ยเคมีที่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันผลิตเพื่อการค้า กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขายไปในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาแยกการร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีปลอมและปุ๋ยเคมีที่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อการค้าต่างหากจากการร่วมกันขายปุ๋ยเคมีตั้งแต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันขายให้แก่ร้าน ฉ. แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10492/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญาต้องพิจารณาตามหลักการในคดีอาญา ไม่สามารถยึดตามคำพิพากษาคดีแพ่งโดยตรง
แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีแพ่งจะผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองคดีนี้ ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีแพ่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เป็นการผูกพันเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้ว คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เพราะหลักการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยานในคดีแพ่งและคดีอาญาไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ในคดีแพ่ง ศาลจะชั่งน้ำหนักคำพยานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่ากัน แต่ในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงจนแน่ใจว่าพยานหลักฐานของโจทก์พอรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีของศาลแพ่งจึงเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ในคดีนี้ว่ามีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดจริงตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะรับฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสองปักเสาปูนและล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และของจำเลยทั้งสองในคดีนี้หาได้ไม่ การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10492/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานข้ามฟากระหว่างคดีแพ่งและอาญา ศาลอาญาต้องพิจารณาพยานหลักฐานด้วยตนเอง
ในคดีอาญาไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เพราะในคดีแพ่งศาลจะชั่งน้ำหนักคำพยานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่ากัน แต่ในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงจนแน่ใจว่าพยานหลักฐานของโจทก์พอรับลงโทษจำเลยได้หรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 ดังนั้น คำพิพากษาในคดีของศาลแพ่งซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีแพ่งดังกล่าว จึงเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะรับฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยทั้งสองปักเสาปูนและล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินโจทก์ โดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้หาได้ไม่ การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 ให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10434/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ฟ้องในความผิดอื่น ศาลฎีกาลงโทษฐานครอบครองกระสุนได้
แม้ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง ได้ ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครอง เมื่อจำเลยไม่ได้ฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังยุติว่าจำเลยมีกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง ซึ่งความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามฟ้องรวมถึงความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย และความผิดดังกล่าวเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10173/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ถูกต้องตามภูมิลำเนาจำเลย และผลของการส่งหมายนัดผิดพลาดต่อสิทธิในการฎีกา
ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้ศาลอ่านคำพิพากษาในศาลต่อหน้าคู่ความโดยเปิดเผย เมื่ออ่านแล้วให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ และมาตรา 2 (15) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่ความ" ไว้ว่า หมายถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมาตรา 2 (3) บัญญัติว่า "จำเลย" หมายถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด ฉะนั้นทนายจำเลยที่ 2 จึงมิได้เป็นจำเลยที่ 2 หรือเป็นคู่ความตามความหมายดังกล่าวแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้แก่ทนายจำเลยที่ 2 เป็นการส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10076/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดผิดตามกฎหมายจราจร แม้ไม่ขับรถขณะเสพ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษฐานขับขี่ภายใต้อิทธิพลยาเสพติด
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง มุ่งประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกายเนื่องจากฤทธิ์ของยาเสพติดให้โทษทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อสมองซึ่งควบคุมระบบประสาทของผู้ขับขี่ซึ่งจะทำให้สมรรถภาพในการควบคุมยานพาหนะด้อยประสิทธิภาพลง อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ และมิได้บัญญัติว่าผู้ขับขี่นั้นต้องขับรถในทางเดินรถด้วย แต่ต้องพิจารณาเพียงว่า ผู้เสพนี้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถหรือไม่ หากผู้เสพปฏิบัติหน้าที่ขับรถไม่ว่าจะเสพในขณะขับรถหรือก่อนหน้านั้น ผู้นั้นได้กระทำผิดในข้อหาดังกล่าวแล้ว คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้เสพเมทแอมเฟตามีนในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถบรรทุกสิบล้อ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 ทวิ แล้ว และชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 แล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยและสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้
of 15