คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1732

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4857/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจัดการมรดก: สิทธิรับมรดกยังไม่เกิด การจัดการมรดกไม่เสร็จสิ้น ไม่เป็นเหตุฟ้องร้อง
การที่จำเลยให้การยอมรับตามคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์เป็นทายาท แต่การจัดการมรดกตามคำสั่งศาลของจำเลยยังไม่เสร็จสิ้นนั้นข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดก ขอให้จำเลยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งปันทรัพย์มรดกตามบัญชีดังกล่าวจึงยังมิได้มีการโต้แย้งจากจำเลย สิทธินำคดีมาสู่ศาลของโจทก์ยังไม่เกิดส่วนข้อกล่าวอ้างตามคำฟ้องที่โจทก์ว่าจำเลยจัดการทรัพย์มรดกล่าช้าส่อไปในทางทุจริต ไม่จัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมายก็เป็นเพียงข้ออ้างที่โจทก์จะร้องต่อศาลชั้นต้นในคดีขอเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลย ขอให้ศาลชั้นต้นเร่งรัดจำเลยให้จัดการมรดกให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว มิใช่ข้อโต้แย้งสิทธิโจทก์ที่ก่อให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก, สิทธิหน้าที่ของผู้จัดการมรดก, และการส่งมอบเอกสารบัญชีทรัพย์มรดก
สิทธิในการดำเนินคดีทางศาลเป็นสิทธิโดยชอบของบุคคลตามกฎหมายในเมื่อสิทธิของตนถูกโต้แย้งหรือมีกรณีจะต้องใช้สิทธิทางศาลการที่พินัยกรรมมีข้อกำหนดห้ามทายาทผู้ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมฟ้องคดีต่อศาลเกี่ยวกับทรัพย์ตามพินัยกรรม มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้นั้นถูกตัดออกจากกองทรัพย์สินนั้น เช่นนี้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงไม่เป็นการกระทำที่ต้องถูกตัดมิให้รับมรดก การฟ้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกใหม่นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 มิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องร้องเข้ามาในคดีเดิม ดังนั้น โจทก์จึงอาจฟ้องเป็นคดีใหม่หรือร้องเข้ามาในคดีเดิมก็ได้ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล จึงมีหน้าที่จะต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ยังไม่มีการแบ่งปันมรดกให้ทายาทเลย อีกทั้งยังได้จำหน่ายทรัพย์มรดกบางส่วนไปโดยมิได้ประชุมปรึกษาทายาท รวมทั้งไม่มีบัญชีแสดงให้ทายาททราบถึงการที่ได้จัดการไป และหลังจากที่ได้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วถึง 4 ปีเศษจึงได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดก แสดงว่าจำเลยไม่นำพาต่อหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1729 และ 1732 จึงมีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียข้อคัดค้านของจำเลยที่จะไม่ให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เจ้ามรดกทำพินัยกรรมระบุให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน เมื่อโจทก์ที่ 1 ถอนฟ้อง ส่วนผู้ร้องสอดที่ 1 ถูกโต้แย้งว่า ได้นำทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งไปจำหน่าย ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 มีข้อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก กรณีเห็นได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ไม่อาจเข้าร่วมจัดการเพื่อประโยชน์ของกองมรดกโดยไม่มีข้อขัดแย้งได้ ตามพฤติการณ์จึงไม่อาจตั้งผู้ร้องสอดที่ 1ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกกับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ต่อมาศาลมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้จำเลยส่งมอบบัญชีทรัพย์มรดกที่จำเลยทำขึ้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกให้ผู้จัดการมรดกคนใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีผู้จัดการมรดก ประเด็นข้อพิพาทต่างกัน ห้ามฎีกาเรื่องฟ้องซ้ำที่เพิ่งยกขึ้น
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก ไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่าละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก คดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีจัดการมรดก: ประเด็นข้อพิพาทคนละกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่า ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก คดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกา ไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ฟ้องซ้อน: ประเด็นข้อพิพาทต่างกันและข้ออ้างใหม่ในชั้นฎีกา
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน1ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายคดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่าละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน1ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกคดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกันฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสถานะผู้จัดการมรดกเมื่อผู้รับมอบหมายถึงแก่กรรม และผลกระทบต่อคดีความ
ผู้ร้องได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหลังจากนั้นผู้ร้องกับผู้คัดค้านมีข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินหลายประการ จนเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งปันมรดกได้ ตามคำแถลงของผู้ร้องและผู้คัดค้านนั้น เมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำสั่งของศาลที่แต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไป และการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของผู้ร้อง จะรับมรดกความกันไม่ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของผู้คัดค้านที่ขอให้บังคับผู้ร้องให้จัดการแบ่งมรดกตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอีก ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อผู้จัดการมรดกถึงแก่กรรม และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ผู้ร้องได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หลังจากนั้นผู้ร้องกับผู้คัดค้านมีข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินหลายประการ จนเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งปันมรดกได้ตามคำแถลงของผู้ร้องและผู้คัดค้านนั้น เมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำสั่งของศาลที่แต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไปและการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของผู้ร้อง จะรับมรดกความกันไม่ได้จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของผู้คัดค้านที่ขอให้บังคับผู้ร้องให้จัดการแบ่งมรดกตาม คำสั่งของศาลชั้นต้นอีก ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้โรงพยาบาล การจัดการมรดก และการมีสิทธิรับเงินของผู้รับประโยชน์
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยทำพินัยกรรมมีข้อความในข้อ 1 ถึงข้อ 3 ยกที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยและผู้อื่น ข้อ 4 ว่า ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว ขอยกให้จำเลยแต่ผู้เดียวและขอให้จัดการกุศลดังกล่าวต่อไป ข้อ 5 ทรัพย์สินที่เป็นเงินสด ให้จำเลยนำไปมอบแก่เจ้าอาวาสวัด ช. เพื่อซ่อมแซมพระอุโบสถ 50,000 บาท ข้อ 6 เงินสดที่เหลือจากที่กล่าวในข้อ 5 ให้จำเลยมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ หรือจะสร้างเป็นตึกคนไข้ก็ได้ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่คณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล แม้พินัยกรรม ข้อ 4 ระบุว่า ยกทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวในข้อ 1, 2, 3 ให้จำเลยแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ตกอยู่ในภาระติดพันที่จะต้อง นำเงินสดของผู้ตายที่เหลือจากจ่ายแล้วในข้อ 5 มอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ พินัยกรรมข้อนี้จึงมีผลบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ข้อ 6 จำเลยไม่ยอมก่อตั้งมูลนิธิหรือร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชในการตั้งมูลนิธิ โจทก์จึงเป็นผู้ร้องขอให้ก่อตั้งมูลนิธิได้ตามมาตรา 1677 และการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา 81 นั้น ในประการแรกจะต้องมีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ เมื่อจำเลยว่าไม่มี โจทก์สืบทราบว่ามี ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินของผู้ตายเพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิได้
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้างแต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรมที่มีภาระผูกพัน และสิทธิของโรงพยาบาลศิริราชในการรับทรัพย์สิน
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยทำพินัยกรรมมีข้อความในข้อ 1 ถึงข้อ 3 ยกที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยและผู้อื่น ข้อ 4 ว่า ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว ขอยกให้จำเลยแต่ผู้เดียวและขอให้จัดการกุศลดังกล่าวต่อไป ข้อ 5 ทรัพย์สินที่เป็นเงินสด ให้จำเลยนำไปมอบแก่เจ้าอาวาสวัด ช. เพื่อซ่อมแซมพระอุโบสถ 50,000 บาท ข้อ 6 เงินสดที่เหลือจากที่กล่าวในข้อ 5 ให้จำเลยมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิหรือจะสร้างเป็นตึกคนไข้ก็ได้ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่คณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล แม้พินัยกรรม ข้อ 4 ระบุว่า ยกทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวในข้อ 1, 2, 3 ให้จำเลยแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ตกอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องนำเงินสดของผู้ตายที่เหลือจากจ่ายแล้วในข้อ 5 มอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ พินัยกรรมข้อนี้จึงมีผลบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ข้อ 6 จำเลยไม่ยอมก่อตั้งมูลนิธิหรือร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชในการตั้งมูลนิธิ โจทก์จึงเป็นผู้ร้องขอให้ก่อตั้งมูลนิธิได้ตามมาตรา 1677 และการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา 81 นั้นในประการแรกจะต้องมีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ เมื่อจำเลยว่าไม่มีโจทก์สืบทราบว่ามี ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินของผู้ตายเพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิได้
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้าง แต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิในที่ดิน, ค่าเช่า, และการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตาย มรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนด ผู้จัดการมรดกของ ฮ.มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ.มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย.มารดาของ ซซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย.คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย.ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย.ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย.ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาท ทายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของ ย.ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ.ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดก ย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ.จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่า เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1755 เมื่อ ซ.มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ.ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ.เป็นการกระทำแทน ซ.หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ.เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่า ซ.ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของ ย.เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว จึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่ง จะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ.ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิม ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479, 1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคน การจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ.ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ.ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ยัน ซ.ก็ไม่ได้เพราะ ซ.กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ.จึงยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ.ไม่ได้
of 3