คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1733

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องมรดกตามพินัยกรรม: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปี หากไม่มีผู้จัดการมรดก
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้รับพินัยกรรม แต่โจทก์เป็นผู้ครอบครองมรดกแต่ผู้เดียว เมื่อจำเลยมิได้ฟ้องร้องคดีเพื่อเรียกร้องเอามรดกตามพินัยกรรมจนพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงสิทธิซึ่งจำเลยมีอยู่ตามพินัยกรรมแล้ว โจทก์ย่อมกล่าวอ้างอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสอง ขึ้นใช้ยันจำเลย และฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้คัดค้านการที่โจทก์ขอรับมรดกได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องการใช้อายุความหนึ่งปีขึ้นต่อสู้ว่าต้องเป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือผู้จัดการมรดก โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรม จึงมีสิทธิกล่าวอ้างอายุความหนึ่งปีขึ้นใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมด้วยกันได้
ที่ดินมรดกมีหลายแปลง มีข้อกำหนดตามพินัยกรรมในเรื่องผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินที่พิพาทกับผู้มีชื่อ โดยไม่ได้ระบุว่าที่ดินแปลงใดอันจะเป็นมรดกที่มีผู้จัดการซึ่งมีสิทธิฟ้องเรียกเอาได้เกินหนึ่งปี เมื่อจำเลยจะอ้างประโยชน์จากอายุความเพราะเหตุนี้ ภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่จำเลย
ที่ดินมรดกหลายแปลง แปลงใดที่พินัยกรรมมิได้กำหนดให้มีผู้จัดการมรดก ผู้รับพินัยกรรมจะฟ้องเรียกเอาเกินกว่าหนึ่งปีไม่ได้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมครอบครองที่ดินมรดกมาแต่ผู้เดียวเกินกว่าหนึ่งปี ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับมรดก จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่ามรดกรายนี้มีผู้จัดการอันจะทำให้มีสิทธิฟ้องร้องเกินหนึ่งปีได้ ประเด็นนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการจัดการมรดก: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่ถูกปิดบัง ไม่ใช่การจัดการมรดกโดยรวม
โจทก์ฟ้องพี่ชายต่างมารดาซึ่งร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ว่าปิดบังทรัพย์มรดกบางรายการ โจทก์เคยบอกให้นำมาแบ่งก็เพิกเฉย ขอให้บังคับให้ชำระเงินส่วนแบ่งของโจทก์ จำเลยให้การว่า การจัดการแบ่งมรดกรายนี้มารดาโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับจำเลยและนางสาวพรรณี ได้ทำสัญญาแบ่งมรดกให้ทายาททุกคนได้รับเรียบร้อยไปแล้วจนบัดนี้เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องร้องได้แล้ว ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยอ้างอายุความที่เกี่ยวแก่การจัดการมรดก ซึ่งห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกมรดกที่จำเลยปิดบังไว้ ไม่เกี่ยวกับการจัดการมรดก ทั้งปรากฎว่าเมื่อปี พ.ศ. 2499 (นับถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี) ก็ยังมีการแบ่งมรดกกันอีก คดีจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1733 และคดีนี้เป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยมีความประสงค์ยกอายุความซึ่งเกี่ยวด้วยการจัดการมรดกขึ้นต่อสู้โดยตรงแต่อย่างเดียว มิได้ยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าขาดอายุความตามมาตรา 1754 หรือไม่ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว
แม้ไม่ได้อ้างบทมาตรามาด้วย ก็เป็นหน้าที่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าจะยกกฎหมายใดมาปรับคดีและมีอายุความเท่าใดนั้น หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่ถูกปิดบังไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการมรดก จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องพี่ชายต่างมารดาซึ่งร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ว่าปิดบังทรัพย์มรดกบางรายการ โจทก์เคยบอกให้นำมาแบ่งก็เพิกเฉย ขอให้บังคับให้ชำระเงินส่วนแบ่งของโจทก์ จำเลยให้การว่า การจัดการแบ่งมรดกรายนี้มารดาโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับจำเลยและนางสาวพรรณีได้ทำสัญญาแบ่งมรดกให้ทายาททุกคนได้รับเรียบร้อยไปแล้วจนบัดนี้เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องร้องได้แล้ว ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่า จำเลยอ้างอายุความที่เกี่ยวแก่การจัดการมรดกซึ่งห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกมรดกที่จำเลยปิดบังไว้ ไม่เกี่ยวกับการจัดการมรดก ทั้งปรากฏว่าเมื่อปี พ.ศ.2499(นับถึงวันฟ้องไม่เกิน5 ปี) ก็ยังมีการแบ่งมรดกกันอีก คดีจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1733 และคดีนี้เป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยมีความประสงค์ยกอายุความซึ่งเกี่ยวด้วยการจัดการมรดกขึ้นต่อสู้โดยตรงแต่อย่างเดียว มิได้ยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าขาดอายุความตามมาตรา 1754 หรือไม่ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว แม้ไม่ได้อ้างบทมาตรามาด้วย ก็เป็นหน้าที่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าจะยกกฎหมายใดมาปรับคดีและมีอายุความเท่าใดนั้น หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทแทนที่, ความไม่สุจริตผู้จัดการมรดก, และอายุความในการเรียกร้องทรัพย์มรดก
น้าของเจ้ามรดกเป็นทายาทของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629(6) อยู่แล้ว แม้จะตายไปก่อนเจ้ามรดก ผู้สืบสันดานของเขา ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ตามมาตรา 1639 โดยตรง
การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จำเลยได้ปกปิดความจริงอันควรบอกให้ชัดแจ้งว่าทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ยังคงมีตัวอยู่ถึง 3 คนแสดงความไม่สุจริตของจำเลยมาตั้งแต่ต้น และเมื่อได้รับตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยก็ไม่ปรารถนาที่จะทำบัญชีทรัพย์มรดกตามหน้าที่ที่กฎหมายบังคับไว้ในมาตรา 1728,1729 ซ้ำในชั้นศาล ในคดีนี้ จำเลยก็ยังคงยืนยันว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่จะได้รับมรดกย่อมเป็นการสมควรทุกประการที่ศาลจะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสียตามมาตรา 1731
คดีที่ทายาทเรียกร้องเอาทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ตกทอดแก่ตน โดยขอให้ถอดถอนผู้จัดการมรดกเสียก่อนโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิในกองมรดกที่จะยึดถือทรัพย์สินอันเป็นมรดกนั้นไว้อย่างไรได้แม้จำเลยจะยังคงเป็นผู้จัดการมรดกอยู่จำเลยก็ต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ จำเลยจะยกฐานะผู้จัดการมรดกมาต่อสู้อายุความกับทายาทตามมาตรา 1754,1755 หาได้ไม่
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ผู้จัดการมรดกจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ทายาทได้ก็แต่มาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนด 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสุดสิ้นลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนผู้จัดการมฤดก กรณีปกปิดข้อมูลทายาท และความรับผิดของผู้จัดการมฤดกต่อทายาท
น้าของเจ้ามฤดกเป็นทายาทของเจ้ามฤดกตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1629 (6) อยู่แล้ว แม้จะตายไปก่อนเจ้ามฤดก ผู้สืบสันดานของเขา ย่อมมีสิทธิรับมฤดกแทนที่ ตามมาตรา 1639 โดยตรง
การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมฤดกนั้น จำเลยได้ปกปิดความจริงอันควรบอกให้ชัดแจ้งว่า ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ยังคงมีตัวอยู่ถึง 3 คน แสดงความไม่สุจริตของจำเลยมาตั้งแต่ต้น และเมื่อได้รับตั้งเป็นผู้จัดการมฤดกแล้ว จำเลยก็ไม่ปรารถนาที่จะทำบัญชีทรัพย์มฤดกตามหน้าที่ที่กฎหมายบังคับไว้ในมาตรา 1728,1729 ซ้ำในชั้นศาล ในคดีนี้จำเลยก็ยังคงยืนยันว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม ที่จะได้รับมฤดก ย่อมเป็นการสมควรทุกประการที่ศาลจะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมฤดกเสียตามมาตรา 1731.
คดีที่ทายาทเรียกร้องเอาทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิตกทอดแก่ตนโดยขอให้ถอดถอนผู้จัดการมฤดกเสียก่อนโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมฤดกเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิในกองมฤดกที่จะยึดถือทรัพย์สินอันเป็นมฤดกนั้นไว้อย่างไรได้ แม้จำเลยจะยังคงเป็นผู้จัดการมฤดกอยู่ จำเลยก็ต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ จำเลยจะยกฐานะผู้จัดการมฤดกมาต่อสู้อายุความกับทายาทตามมาตรา 1754, 1755 หาได้ไม่
คดีเกี่ยวกับการจัดการมฤดก ผู้จัดการมฤดกจะยกอายุความ ขึ้นต่อสู้ทายาทได้ก็แต่มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี นับแต่การจัดการมฤดกสุดสิ้นลง.
of 5