พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสต่างประเทศและการสมรสซ้อน: โมฆะตามกฎหมายไทย
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์และ ส.ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส.ถ้ามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่ ส.มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสต่างประเทศมีผลทางกฎหมายไทย: การสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายต่างประเทศทำให้การสมรสภายหลังในไทยเป็นโมฆะ
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์และ ส. ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนววาดา ประเทศสหรัฐอเมริกาและชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส. สามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่ ส.มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย: การสมรสซ้อนและการคุ้มครองภริยาเดิม
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวง ส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7367/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีโมฆะสมรส: ทายาทไม่มีสิทธิฟ้องแทน หากไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิ
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้มีการตั้งเป็นประเด็นแห่งคดีไว้ ศาลชั้นต้นและศาล-อุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
บิดาโจทก์ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยได้ขาดจากกันเพราะเหตุบิดาโจทก์ถึงแก่ความตายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 แล้ว การสมรสนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของบิดาคู่สมรสเดิมอันจะก่อให้เกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะ ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิในมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตาย หรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามป.วิ.พ. มาตรา 55 ถือว่าตามคำฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดาโจทก์ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยได้ขาดจากกันเพราะเหตุบิดาโจทก์ถึงแก่ความตายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 แล้ว การสมรสนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของบิดาคู่สมรสเดิมอันจะก่อให้เกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะ ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิในมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตาย หรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามป.วิ.พ. มาตรา 55 ถือว่าตามคำฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7367/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีโมฆะการสมรส: การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายตัดสิทธิทายาทในการฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้มีการตั้งเป็นประเด็นแห่งคดีไว้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5) บิดาโจทก์ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้องการสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยได้ขาดจากกันเพราะเหตุบิดาโจทก์ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1501แล้วการสมรสนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของบิดาคู่สมรสเดิมอันจะก่อให้เกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์เช่นสิทธิในครอบครัวสิทธิในมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายหรือสิทธิอื่นใดซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55ถือว่าตามฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7367/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีโมฆกะการสมรส: การสิ้นสุดของสมรสด้วยการตายและผลกระทบต่อสิทธิทายาท
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้มีการตั้งเป็นประเด็นแห่งคดีไว้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) บิดาโจทก์ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยได้ขาดจากกันเพราะเหตุบิดาโจทก์ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 แล้ว การสมรสนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของบิดาคู่สมรสเดิมอันจะก่อให้เกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะ ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิในมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายหรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ถือว่าตามฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6077/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ฝ่าฝืนกฎหมาย การฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ และสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย
ขณะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับ น. เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2522น. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นการสมรสระหว่างจำเลยกับ น. จึงฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การตกเป็นโมฆะดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยและ น. มิได้ทำการสมรสกัน ดังนั้นการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์และ น. ในครั้งหลังจึงกระทำในขณะที่จำเลยไม่มีฐานะเป็นคู่สมรสของ น. การสมรสระหว่างโจทก์และ น. จึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 133 เดิม และมาตรา 1497 เดิม มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ น. เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 เดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6077/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ฝ่าฝืนกฎหมาย: โมฆะและสิทธิในการฟ้อง
ขณะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับ น. เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน2522 น. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นการสมรสระหว่างจำเลยกับ น. จึงฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การตกเป็นโมฆะดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยและ น.มิได้ทำการสมรสกัน ดังนั้นการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์และ น. ในครั้งหลังจึงกระทำในขณะที่จำเลยไม่มีฐานะเป็นคู่สมรสของ น. การสมรสระหว่างโจทก์และ น. จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 133เดิม และมาตรา 1497 เดิม มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ น. เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 เดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดก
จำเลยให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของ ส. กับ บ. จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียคดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเพราะส. ถึงแก่กรรมไปแล้วเป็นเหตุให้การสมรสสิ้นสุดลงตามที่จำเลยฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ การที่จำเลยขออายัดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2โดยอ้างว่าเป็นของ ส. เป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์มรดกของส. ซึ่งเป็นบิดาโจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ส.จดทะเบียนสมรสกับบ.อยู่แล้วต่อมาส. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกโดยมิได้หย่าขาดจาก บ. การจดทะเบียนสมรสระหว่างส. กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1496 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้จำเลยจะอ้างว่าจดทะเบียนสมรสโดยสุจริตก็หาเป็นเหตุให้การสมรสที่เป็นโมฆะเสียเปล่ากลับสมบูรณ์ขึ้นมาแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ได้มาระหว่างสมรส และการจัดการสินสมรส
โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุว่าโจทก์จำเลยได้ร่วมกันซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเมื่อวันที่อะไร ประจำงวดใด และได้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลขณะที่โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย และอ้างเหตุจำเป็นในการที่โจทก์ขอเป็นผู้จัดการเงินรางวัลที่จำเลยถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลแต่ผู้เดียวเอาไว้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ส่วนการที่โจทก์จำเลยจะซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ไหนจากใคร เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และจำเลยเองก็เข้าใจข้อหาโจทก์ดี สามารถต่อสู้คดีโจทก์ได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ภรรยาเดิมของจำเลยจะฟ้องเพิกถอนการหย่า และศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่าแล้วก็ตาม แต่เป็นการทำภายหลังจากที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1496 ประกอบด้วยมาตรา 1452 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
จำเลยใช้เงินของจำเลยซื้อสลากกินแบ่งฯก่อนสมรสกับโจทก์สลากกินแบ่งฯออกรางวัลหลังจากที่โจทก์จำเลยสมรสกันแล้ว และถูกรางวัล เงินรางวัลที่จำเลยได้รับมาจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างสมรสถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1474 (1)
ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1485บัญญัติว่าสามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้ ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาก่อนสมรสกันไว้ เงินรางวัลที่เหลือฝากในธนาคารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินสมรส โจทก์จำเลยย่อมเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันอยู่แล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ ที่โจทก์จะเป็นผู้จัดการเงินรางวัลดังกล่าวเพียงผู้เดียวแต่อย่างใด
แม้ภรรยาเดิมของจำเลยจะฟ้องเพิกถอนการหย่า และศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่าแล้วก็ตาม แต่เป็นการทำภายหลังจากที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1496 ประกอบด้วยมาตรา 1452 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
จำเลยใช้เงินของจำเลยซื้อสลากกินแบ่งฯก่อนสมรสกับโจทก์สลากกินแบ่งฯออกรางวัลหลังจากที่โจทก์จำเลยสมรสกันแล้ว และถูกรางวัล เงินรางวัลที่จำเลยได้รับมาจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างสมรสถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1474 (1)
ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1485บัญญัติว่าสามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้ ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาก่อนสมรสกันไว้ เงินรางวัลที่เหลือฝากในธนาคารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินสมรส โจทก์จำเลยย่อมเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันอยู่แล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ ที่โจทก์จะเป็นผู้จัดการเงินรางวัลดังกล่าวเพียงผู้เดียวแต่อย่างใด