พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการอายัดสิทธิเรียกร้อง: เงินที่ได้รับจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระไม่อยู่ในข้อยกเว้นการบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 286 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี... (3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (2) ที่นายจ้างจ่ายให้...เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท หรือตามที่ศาลเห็นสมควร..." ตามบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มี 4 กรณี คือตาม (1) ถึง (4) แห่งมาตรา 286 ดังนั้น หากเงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงิน มิใช่เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นตามมาตรา 286 (3) แล้ว แม้ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทก็ย่อมอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่โจทก์ทำงานที่โรงพยาบาล ส. ของบริษัท ป.
โดยสถานพยาบาลเป็นผู้เก็บค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์กำหนดเอง เมื่อหักค่าใช้จ่ายไว้ส่วนหนึ่งจึงจะจ่ายเงินให้โจทก์ตามสัญญาการใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพอิสระ เงินจำนวนดังกล่าวที่โจทก์ได้รับจากบริษัท ป. แม้ไม่ใช่ค่าจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวก็อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเนื่องจากไม่ใช่เงินที่อยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 286 (3) เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อบริษัท ป. ได้ กรณีไม่มีเหตุต้องเพิกถอนการอายัด
โดยสถานพยาบาลเป็นผู้เก็บค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์กำหนดเอง เมื่อหักค่าใช้จ่ายไว้ส่วนหนึ่งจึงจะจ่ายเงินให้โจทก์ตามสัญญาการใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพอิสระ เงินจำนวนดังกล่าวที่โจทก์ได้รับจากบริษัท ป. แม้ไม่ใช่ค่าจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวก็อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเนื่องจากไม่ใช่เงินที่อยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 286 (3) เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อบริษัท ป. ได้ กรณีไม่มีเหตุต้องเพิกถอนการอายัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสงเคราะห์ตกทอดหลังเสียชีวิต ไม่ใช่ทรัพย์สินที่บังคับคดีได้
เงินสงเคราะห์ตกทอดที่การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องจ่ายให้แก่ทายาทของจำเลยที่ 1 ผู้มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยเกิดขึ้นเนื่องจากการถึงแก่ความตายของจำเลยที่ 1 เงินสงเคราะห์ตกทอดดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินหรือสิทธิที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ในระหว่างมีชีวิตหรือมีอยู่ขณะตาย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องในเงินสงเคราะห์ตกทอดต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 286 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินสงเคราะห์ตกทอดดังกล่าว คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่อายัดให้นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10340-10378/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับหน่วยงานของรัฐ: สิทธิเรียกร้องขององค์การของรัฐไม่อยู่ในข้อยกเว้นการบังคับคดี
แม้การขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 และมาตรา 276 กับการร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ทำการยึดทรัพย์หรืออายัดเงินหรือสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นกระบวนการคนละขั้นตอนกันก็ตาม แต่หากศาลเห็นว่าทรัพย์สินหรือเงินหรือสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 285 และมาตรา 286 ศาลย่อมมีอำนาจปฏิเสธไม่ออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จำเลยที่ 2 จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 จึงไม่เป็นส่วนราชการ แต่มีฐานะเป็นองค์การของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมาตรา 68 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 มีรายได้จากเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ จากการลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์ กับมีรายได้จากผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วย และมาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติว่า รายได้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี สิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 2 มีต่อบุคคลภายนอกจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 285 (4) ศาลแรงงานกลางต้องออกหมายบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อบุคคลภายนอกให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเจ็ด
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จำเลยที่ 2 จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 จึงไม่เป็นส่วนราชการ แต่มีฐานะเป็นองค์การของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมาตรา 68 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 มีรายได้จากเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ จากการลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์ กับมีรายได้จากผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วย และมาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติว่า รายได้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี สิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 2 มีต่อบุคคลภายนอกจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 285 (4) ศาลแรงงานกลางต้องออกหมายบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อบุคคลภายนอกให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเจ็ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นหลังลาออกจากสมาชิกสหกรณ์ และการบังคับคดีต่อสิทธิเรียกร้องนั้น
จำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกผู้ร้องโดยการลาออกแล้ว จำเลยก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าหุ้นของจำเลยจากผู้ร้องได้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาแก่สิทธิเรียกร้องในเงินค่าหุ้นของจำเลยได้ เงินค่าหุ้นที่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องชำระแก่ผู้ร้องแล้วนั้น แม้จะเป็นเงินทุนของผู้ร้อง แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ ทั้งไม่อยู่ในข้อยกเว้นในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 285,286 แม้จะได้ความว่าจำเลยได้จำนำหุ้นดังกล่าวไว้เป็นประกันเงินกู้กับผู้ร้อง ผู้ร้องก็มีสิทธิเพียงได้รับชำระจากเงินค่าหุ้นที่ถูกอายัดไว้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งมอบเงินค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7448/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าหุ้นสหกรณ์เพื่อบังคับคดี: สิทธิเจ้าหนี้ vs. บทคุ้มครองทุนสหกรณ์
จำเลยตกลงให้นำเงินค่าหุ้นที่จำเลยมีอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์มาไว้เป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยเป็นหนี้ โดยยอมให้สหกรณ์ออมทรัพย์หักชำระหนี้จากเงินค่าหุ้นได้ทันทีเมื่อหนี้ถึงกำหนด มีผลเพียงให้สหกรณ์ออมทรัพย์มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินค่าหุ้นก่อนเจ้าหนี้อื่น เงินค่าหุ้นดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 285 และมาตรา 286 ทั้งตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2543 ก็มิได้บัญญัติให้เงินค่าหุ้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี จำเลยจึงไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดของพนักงานบังคับคดีด้วยเหตุดังกล่าวได้
พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 42 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นยังไม่สิ้นสุดลงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองทุนของสหกรณ์ที่ได้มาจากค่าหุ้นของสมาชิกมิให้ลดน้อยถอยลงเพราะเหตุที่สมาชิกเป็นหนี้บุคคลภายนอก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของสหกรณ์เท่านั้น มิใช่บทกฎหมายที่ห้ามเจ้าหนี้มิให้ใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกเป็นการเด็ดขาดตลอดไป การอายัดเงินค่าหุ้นของสมาชิกไว้ก่อนโดยให้สหกรณ์ส่งเงินค่าหุ้นเมื่อสมาชิกผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพเพื่อป้องกันสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิให้เสียหายย่อมกระทำได้และไม่ขัอต่อบทกฎหมายดังกล่าว
คำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่กำหนดให้สหกรณ์ออมทรัพย์ส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จำเลยมีสิทธิได้รับเงิน แม้ไม่เป็นการเจาะจงให้สหกรณ์ออมทรัพย์ต้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในระหว่างที่จำเลยยังเป็นสมาชิก แต่ก็ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นการกำหนดให้ส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยต่อเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในส่วนนี้เพื่อให้ชัดแจ้งและสอดคล้องกับ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 42 วรรคสอง
พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 42 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นยังไม่สิ้นสุดลงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองทุนของสหกรณ์ที่ได้มาจากค่าหุ้นของสมาชิกมิให้ลดน้อยถอยลงเพราะเหตุที่สมาชิกเป็นหนี้บุคคลภายนอก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของสหกรณ์เท่านั้น มิใช่บทกฎหมายที่ห้ามเจ้าหนี้มิให้ใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกเป็นการเด็ดขาดตลอดไป การอายัดเงินค่าหุ้นของสมาชิกไว้ก่อนโดยให้สหกรณ์ส่งเงินค่าหุ้นเมื่อสมาชิกผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพเพื่อป้องกันสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิให้เสียหายย่อมกระทำได้และไม่ขัอต่อบทกฎหมายดังกล่าว
คำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่กำหนดให้สหกรณ์ออมทรัพย์ส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จำเลยมีสิทธิได้รับเงิน แม้ไม่เป็นการเจาะจงให้สหกรณ์ออมทรัพย์ต้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในระหว่างที่จำเลยยังเป็นสมาชิก แต่ก็ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นการกำหนดให้ส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยต่อเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในส่วนนี้เพื่อให้ชัดแจ้งและสอดคล้องกับ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 42 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7448/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าหุ้นสหกรณ์ของสมาชิกเพื่อบังคับคดี: สิทธิเจ้าหนี้ vs. ปกป้องทุนสหกรณ์
การที่จำเลยตกลงให้นำเงินค่าหุ้นที่จำเลยมีอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษ จำกัด ไว้เป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยเป็นหนี้โดยยอมให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษ จำกัด หักชำระหนี้จากเงินค่าหุ้นได้ทันทีเมื่อหนี้ถึงกำหนด คงมีผลเพียงให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษ จำกัด มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินค่าหุ้นก่อนเจ้าหนี้อื่น เงินค่าหุ้นดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 285 และมาตรา 286 ทั้งตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ ก็มิได้บัญญัติให้เงินค่าหุ้นเช่นว่านี้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี จำเลยจึงไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วยเหตุดังกล่าวได้ ส่วนที่ พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นยังไม่สิ้นสุดลงนั้น ก็โดยมุ่งหมายที่จะคุ้มครองทุนของสหกรณ์ที่ได้มาจากค่าหุ้นของสมาชิกมิให้ลดน้อยถอยลงเพราะเหตุที่สมาชิกเป็นหนี้บุคคลภายนอก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของสหกรณ์เท่านั้น หาใช่บทกฎหมายที่ห้ามเจ้าหนี้มิให้ใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกเป็นการเด็ดขาดตลอดไปไม่ การอายัดเงินค่าหุ้นของสมาชิกไว้ก่อนโดยให้สหกรณ์ส่งเงินค่าหุ้นเมื่อสมาชิกผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพเพื่อป้องกันสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิให้เสียหาย จึงย่อมกระทำได้และไม่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8817/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินขวัญถุงลาออกราชการ: ไม่เป็นทรัพย์สินที่บังคับคดีได้ เพราะมีลักษณะเป็นเงินบำเหน็จ
เงินขวัญถุงที่ข้าราชการได้รับจำนวน 7 เท่า ของเงินเดือนตาม พ.ร.ฎ. เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2542 มาตรา 8 เป็นส่วนหนึ่งของเงินที่ทางราชการจ่ายเพื่อช่วยเหลือข้าราชการที่ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ ถือได้ว่าเป็นเงินบำเหน็จ ซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐบาล สิทธิบำนาญถูกบังคับคดีได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ ไม่ขึ้นอยู่กับกระทรวงทบวงกรมใด รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เพียงกำกับโดยทั่วไปหามีอำนาจร่วมจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลโดยตรงไม่ แสดงอยู่ในตัวว่าเป็นการแยกกิจการการรถไฟฯ ออกจากรัฐบาลเป็นเอกเทศต่างหาก ทั้งการรถไฟฯยังจัดทำงบประมาณประจำปีของตนเอง ไม่รวมอยู่ในงบประมาณแผ่นดินอีกด้วยจำเลยเป็นลูกจ้างของการรถไฟฯ ซึ่งผู้ว่าการรถไฟฯ มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนเลื่อนหรือลดขั้นเงินเดือนและรับรายได้เป็นเดือนจากงบประมาณของการรถไฟฯ ซึ่งมิใช่เงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยจึงหาใช่ลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)ไม่ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ของจำเลยที่มีต่อการรถไฟฯผู้เป็นนายจ้าง จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์600,000 บาท การที่ถูกอายัดยอดเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เพียงเดือนละ8,000 บาทเศษ จึงนับว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีข้อจำกัดตามกฎหมายสหกรณ์
แม้พระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ มาตรา 42 วรรคสอง จะกำหนดว่าในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกยังไม่สิ้นสุดลง ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกผู้นั้นก็ตาม แต่เงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องได้ชำระให้แก่ผู้ร้องไปแล้วนั้น ถือว่าเป็นเงินทุนของผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ ซึ่งตามระเบียบของผู้ร้องก็ระบุว่า จำเลยที่ 1 จะโอนหรือถอนคืนค่าหุ้นบางส่วนหรือทั้งหมดในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิกไม่ได้ สิทธิของจำเลยที่ 1 ในการถอนคืนเงินค่าหุ้นดังกล่าวจึงมีเงื่อนไข ซึ่งการชำระเงินค่าหุ้นคืนของผู้ร้องก็มีเงื่อนไขในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตามเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกคำสั่งอายัดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 ทวิ ประกอบด้วยมาตรา 311 วรรคสอง ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้ง ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขใดและได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอนหรือไม่ก็ตาม ในเมื่อสิทธิเรียกร้องนั้นไม่อยู่ในข้อยกเว้นในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 แต่จะกำหนดในคำสั่งอายัดให้เป็นการฝ่าฝืนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขแห่งหนี้นั้นหาได้ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อจำเลยที่ 1พ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องแล้ว จึงหามีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องไม่ ทั้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดียังสอดคล้องกับเงื่อนไขแห่งหนี้ที่ผู้ร้องต้องชำระแก่จำเลยที่ 1กรณีจึงไม่เป็นคำสั่งอายัดที่ขัดต่อพระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ มาตรา 42 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับเงินค่าป่วยการของเทศมนตรี: เงินค่าป่วยการไม่ใช่เงินเดือน จึงบังคับคดีได้
ค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งที่จำเลยได้รับจากเทศบาลนคร ซึ่งให้เหมาจ่ายเป็นรายเดือน โดยคำนวณจากรายได้จริงตามงบประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ และรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา มีลักษณะไม่คงที่อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ เงินดังกล่าวมิใช่เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) แม้ตำแหน่งเทศมนตรีที่จำเลยดำรงอยู่จะถือว่าเป็นข้าราชการการเมือง แต่เมื่อเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งมิได้อยู่ในความหมายหรือคำว่า "เงินเดือน"ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่เงินดังกล่าวได้