พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จบำนาญของจำเลยซึ่งเดิมเป็นทหารประจำการที่มีต่อกระทรวงกลาโหม ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยพิเศษข้าราชการตายมิใช่เงินมรดก แต่เงินสะสมถือเป็นมรดกของผู้ตาย
เงินช่วยพิเศษซึ่งจ่ายให้ในกรณีข้าราชการตายในระหว่างรับราชการเป็นจำนวนสามเท่าของอัตราเงินเดือน ในอัตราที่ถือจ่ายอยู่เมื่อถึงแก่ความตายนั้น มิใช่เงินเดือนของข้าราชการ แต่เป็นเงินพิเศษอีกส่วนหนึ่งซึ่งทางราชการจ่ายให้เมื่อข้าราชการผู้นั้นถึงแก่ความตายแล้ว จะตกได้แก่ผู้ใด ต้องเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกาบัญญัติไว้ จึงมิใช่มรดกของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะมิใช่เป็นเงินที่ผู้ตายมีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย
เงินสะสมเป็นเงินที่ทางราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งจะจ่ายคืนเมื่อข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการ เงินสะสมจึงเป็นมรดกของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะเป็นเงินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย หากแต่ทางราชการยังไม่ได้จ่ายให้ เพราะยังไม่ถึงคราวที่จะต้องจ่าย
เงินสะสมเป็นเงินที่ทางราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งจะจ่ายคืนเมื่อข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการ เงินสะสมจึงเป็นมรดกของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะเป็นเงินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย หากแต่ทางราชการยังไม่ได้จ่ายให้ เพราะยังไม่ถึงคราวที่จะต้องจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่คนงานของรัฐฯ เงินเดือนตกอยู่ในบังคับการบังคับคดี
ลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่เป็นคนงานของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2514)
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่คนงานของรัฐฯ เงินเดือนบังคับคดีได้ตาม กม.วิธีพิจารณาความแพ่ง
ลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่เป็นคนงานของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2514)
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ ชำระหนี้ได้ แม้ยังมิได้เลือกวิธีรับเงิน
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟฯ กรณีออกจากงานอยู่ 2 ฉบับ ซึ่งผู้ออกจากงานไม่ว่าเพราะเหตุใด (นอกจากถูกไล่ออก) อาจเลือกรับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวหรือเป็นรายเดือนตามข้อบังคับฉบับหนึ่งฉบับใดก็ได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นพนักงานของการรถไฟฯ และลาออกจากงานย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ สุดแต่จะเลือก แม้ยังไม่เลือกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้วิธีหนึ่งให้การรถไฟฯส่งเงินนั้นมายังศาลได้
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่ว่าทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่ว่าทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ ไม่เป็นการบังคับคดีต่อทรัพย์สินโดยตรง
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟฯ กรณีออกจากงานอยู่ 2 ฉบับ ซึ่งผู้ออกจากงานไม่ว่าเพราะเหตุใด (นอกจากถูกไล่ออก)อาจเลือกรับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวหรือเป็นรายเดือนตามข้อบังคับฉบับหนึ่งฉบับใดก็ได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นพนักงานของการรถไฟฯ และลาออกจากงานย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯสุดแต่จะเลือก แม้ยังไม่เลือก เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้วิธีหนึ่ง ให้การรถไฟฯส่งเงินนั้นมายังศาลได้
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 ที่ว่า ทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 ที่ว่า ทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ถูกจำกัดสิทธิเนื่องจาก พ.ร.ฎ. แนวทางหลวง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการบังคับคดีเป็นไปตามกฎหมาย
จำเลยฎีกาขอให้สั่งงดการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดจากจำเลยโดยอ้างว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกโจทก์นำยึดจะขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เป็นที่ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งได้มีประกาศห้ามทำการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในเขตส่วนกว้างของแนวทางหลวงหนึ่งพันเมตร โดยการขายแลกเปลี่ยน ให้ หรือโดยประการอื่น ฯลฯ นั้น ถือว่าแม้ที่ดินจะตกอยู่ภายใต้พระราชกฤษฎีกาตามที่จำเลยอ้างแต่ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 มาตรา 57 ซึ่งได้บัญญัติ ให้นำมาตรา 46 มาใช้บังคับในกรณีนี้โดยอนุโลม ก็ได้บัญญัติโดยมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ย่อมจำหน่ายจ่ายโอนกันได้ มิได้บังคับไว้เด็ดขาด และกรณีเช่นนี้ จำเลยก็ไม่มีสิทธิจะร้องขอให้งดการขาย เพราะเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ตกอยู่ในบังคับที่เจ้าหนี้มีสิทธิจะขอให้ยึดมาใช้หนี้ได้ ทั้งเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการจำหน่ายทรัพย์สินที่ถูกจำกัดสิทธิโดย พ.ร.ฎ.แนวทางหลวง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการบังคับคดีสามารถทำได้หากได้รับอนุญาต
จำเลยฎีกาขอให้สั่งงดการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดจากจำเลย โดยอ้างว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกโจทก์นำยึดจะขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เป็นที่ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งได้มีประกาศห้ามทำการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในเขตส่วนกว้างของแนวทางหลวงหนึ่งพันเมตร โดยการขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโดยประการอื่น ฯลฯ นั้น ถือว่า แม้ที่ดินจะตกอยู่ภายใต้พระราชกฤษฎีกาตามที่จำเลยอ้าง แต่ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 มาตรา 57 ซึ่งบัญญัติให้นำมาตรา 46 มาใช้บังคับในกรณีนี้โดยอนุโลม ก็ได้บัญญัติโดยมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ย่อมจำหน่ายจ่ายโอนกันได้ มิให้บังคับไว้เด็ดขาด และกรณีเช่นนี้ จำเลยก็ไม่มีสิทธิ์จะร้องขอให้งดการขาย เพราะเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ตกอยู่ในบังคับที่เจ้าหนี้มีสิทธิ์จะขอให้ยึดมาใช้หนี้ได้ ทั้งเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดี