พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทการเช่าซื้อรถยนต์: การชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนและการโอนกรรมสิทธิ์
คดีที่โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้เถียงกันว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าซื้อให้แก่โจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วหรือไม่ หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท ส่วนคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยร่วมกันโอนใส่ชื่อโจทก์ในสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์พิพาทนั้นเป็นเพียงผลจากการที่ศาลได้พิพากษาว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทนั่นเอง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ อันได้แก่ราคารถยนต์นั่นเอง ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระเงินให้จำเลยเป็นค่าเช่ารถยนต์และชำระหนี้มิใช่ค่าเช่าซื้อนั้นก็เท่ากับปฏิเสธอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาท และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน และยกขึ้นเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ได้
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระเงินให้จำเลยเป็นค่าเช่ารถยนต์และชำระหนี้มิใช่ค่าเช่าซื้อนั้นก็เท่ากับปฏิเสธอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาท และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน และยกขึ้นเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช่าซื้อรถยนต์: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาททำให้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง และประเด็นการชำระค่าเช่าซื้อที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้
คดีที่โจทก์จำเลยที่1และที่2โต้เถียงกันว่าจำเลยที่1และที่2ได้โอนสิทธิการเช่าซื้อให้แก่โจทก์หรือไม่และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วหรือไม่หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทส่วนคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยร่วมกันโอนใส่ชื่อโจทก์ในสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์พิพาทนั้นเป็นเพียงผลจากการที่ศาลได้พิพากษาว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทนั่นเองจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อันได้แก่ราคารถยนต์นั่นเองซึ่งไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่1และที่2ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ชำระเงินให้จำเลยเป็นค่าเช่ารถยนต์และชำระหนี้มิใช่ค่าเช่าซื้อนั้นก็เท่ากับปฏิเสธอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทและศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยที่1และที่2ครบถ้วนแล้วหรือไม่จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วนและยกขึ้นเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้เกินคำขอ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท
คดีล้มละลายในชั้นขอรับชำระหนี้ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระถ้ามีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 แม้ตามบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินค้านหลังคำขอรับชำระหนี้ปรากฎอยู่ในช่องหลักฐานประกอบหนี้ระบุว่าจำนวนเงิน104,000บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่5กุมภาพันธ์2534จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามแต่ในช่องรายการเจ้าหนี้คงระบุแต่เพียงว่าค่าซื้อสินค้าและในช่องจำนวนเงินก็ระบุจำนวน104,000บาทเท่านั้นโดยหาได้ระบุคำนวณจำนวนดอกเบี้ยไว้ด้วยไม่เมื่อดอกเบี้ยก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา100การที่เจ้าหนี้มิได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้มาเช่นนี้จึงไม่อาจถือว่าเจ้าหนี้ได้ขอรับชำระค่าดอกเบี้ยด้วยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ด้วยจึงเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การระบุจำนวนดอกเบี้ยในคำขอรับชำระหนี้มีผลต่อการพิพากษา
คดีล้มละลายในชั้นขอรับชำระหนี้ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระ ถ้ามีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
แม้ตามบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ปรากฏอยู่ในช่องหลักฐานประกอบหนี้ระบุว่า จำนวนเงิน 104,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่ในช่องรายการเจ้าหนี้คงระบุแต่เพียงว่าค่าซื้อสินค้าและในช่องจำนวนเงินก็ระบุจำนวน 104,000 บาท เท่านั้น โดยหาได้ระบุคำนวณจำนวนดอกเบี้ยไว้ด้วยไม่ เมื่อดอกเบี้ยก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 100 การที่เจ้าหนี้มิได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้มาเช่นนี้จึงไม่อาจถือว่าเจ้าหนี้ได้ขอรับชำระค่าดอกเบี้ยด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ด้วยจึงเกินคำขอ
แม้ตามบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ปรากฏอยู่ในช่องหลักฐานประกอบหนี้ระบุว่า จำนวนเงิน 104,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่ในช่องรายการเจ้าหนี้คงระบุแต่เพียงว่าค่าซื้อสินค้าและในช่องจำนวนเงินก็ระบุจำนวน 104,000 บาท เท่านั้น โดยหาได้ระบุคำนวณจำนวนดอกเบี้ยไว้ด้วยไม่ เมื่อดอกเบี้ยก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 100 การที่เจ้าหนี้มิได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้มาเช่นนี้จึงไม่อาจถือว่าเจ้าหนี้ได้ขอรับชำระค่าดอกเบี้ยด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ด้วยจึงเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6309/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แม้เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นเงิน207,000บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน57,000บาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยฎีกายกเหตุอ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณาอันเป็นข้อเท็จจริงแม้ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้องและคำให้การก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณาก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน57,000บาทตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6309/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์พิพาทเกินสองแสนบาท และประเด็นขาดนัดพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นเงิน207,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 57,000 บาท แก่โจทก์จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกายกเหตุอ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณา อันเป็นข้อเท็จจริงแม้ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้องและคำให้การก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 57,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดมูลค่าทุนทรัพย์ในคดีฟ้องแย้งเพื่อประกอบการฎีกา
คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งเรียกที่ดินพิพาทคืนจากโจทก์ทั้งสามและเรียกค่าเสียหายจำนวน 365,000 บาท มาด้วย ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ห้ามโจทก์และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้อง และให้โจทก์ทั้งสามชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีทั้งหมด รวมทั้งไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายด้วย เช่นนี้ ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงต้องถือตามทุนทรัพย์ในคดีที่จำเลยฟ้องแย้งอันได้แก่ราคาที่ดินพิพาท จำนวน 80,000 บาทกับค่าเสียหายจำนวน 365,000 บาท รวมเข้าด้วยกัน คดีโจทก์ทั้งสามจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจากคดีฟ้องแย้ง เพื่อพิจารณาการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งเรียกที่ดินพิพาทคืนจากโจทก์ทั้งสามและเรียกค่าเสียหายจำนวน365,000บาทมาด้วยซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยห้ามโจทก์และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องและให้โจทก์ทั้งสามชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้งดังนั้นเมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีทั้งหมดรวมทั้งไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายด้วยเช่นนี้ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงต้องถือตามทุนทรัพย์ในคดีที่จำเลยฟ้องแย้งอันได้แก่ราคาที่ดินพิพาทจำนวน80,000บาทกับค่าเสียหายจำนวน365,000บาทรวมเข้าด้วยกันคดีโจทก์ทั้งสามจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกาและการเกินขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
ผู้ร้องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดลำดับที่2ถึง37ซึ่งมีราคาประเมินรวมกัน78,150บาทแต่มิได้คัดค้านการอายัดเงินจำนวน70,000บาทที่เทศบาลเมืองพะเยาจะต้องจ่ายให้แก่ร้านของผู้ร้องการที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยถึงจำนวนเงินที่อายัดด้วยนั้นจึงเป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดอันเป็นการมิชอบแม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าขึ้นศาลในจำนวนเงินที่อายัดมาด้วยในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงขึ้นมาก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียงจำนวน78,150บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้การที่จำเลยยังคงอยู่อาศัยกับผู้ร้องก็เนื่องจากเพื่อมิให้มารดาของผู้ร้องผิดสังเกตทั้งมีข้อตกลงกันว่าจำเลยเคยมาพักอาศัยอยู่กับผู้ร้องอย่างใดก็ให้เป็นไปเช่นนั้นและจำเลยเคยออกใบเสร็จรับเงินแทนผู้ร้องอย่างใดก็ให้คงทำเช่นนั้นต่อไปโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์นั้นฎีกาของผู้ร้องดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันโดยเจตนาลวงซึ่งแท้จริงแล้วผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่กินฉันสามีภรรยากันทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยาจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์หลังหย่าและการโต้แย้งดุลพินิจศาลเกี่ยวกับสถานะการสมรสและทรัพย์สิน
ผู้ร้อง ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดลำดับที่ 2 ถึง 37ซึ่งมีราคาประเมินรวมกัน 78,150 บาท แต่มิได้คัดค้านการอายัดเงินจำนวน70,000 บาท ที่เทศบาลเมืองพะเยาจะต้องจ่ายให้แก่ร้านพิสิษฐ์การไฟฟ้าของผู้ร้อง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยถึงจำนวนเงินที่อายัดด้วยนั้น จึงเป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด อันเป็นการมิชอบ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าขึ้นศาลในจำนวนเงินที่อายัดมาด้วยในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ทั้งได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงขึ้นมา ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียงจำนวน78,150 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ การที่จำเลยยังคงอยู่อาศัยกับผู้ร้อง ก็เนื่องจากเพื่อมิให้มารดาของผู้ร้องผิดสังเกต ทั้งมีข้อตกลงกันว่าจำเลยเคยมาพักอาศัยอยู่กับผู้ร้องอย่างใดก็ให้เป็นไปเช่นนั้น และจำเลยเคยออกใบเสร็จรับเงินแทนผู้ร้องอย่างใดก็ให้คงทำเช่นนั้นต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์นั้น ฎีกาของผู้ร้องดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2ที่ฟังว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันโดยเจตนาลวง ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่กินฉันสามีภริยากัน ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ได้มาในระหว่างเป็นสามีภริยา จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ การที่จำเลยยังคงอยู่อาศัยกับผู้ร้อง ก็เนื่องจากเพื่อมิให้มารดาของผู้ร้องผิดสังเกต ทั้งมีข้อตกลงกันว่าจำเลยเคยมาพักอาศัยอยู่กับผู้ร้องอย่างใดก็ให้เป็นไปเช่นนั้น และจำเลยเคยออกใบเสร็จรับเงินแทนผู้ร้องอย่างใดก็ให้คงทำเช่นนั้นต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์นั้น ฎีกาของผู้ร้องดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2ที่ฟังว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันโดยเจตนาลวง ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่กินฉันสามีภริยากัน ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ได้มาในระหว่างเป็นสามีภริยา จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง