คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9127/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อลูกจ้าง, อำนาจฟ้อง, ทุนทรัพย์พิพาท, และการยกฟ้องจำเลยที่ ๓
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 11,830 บาท ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีของจำเลยที่ 3 จะต้องห้ามฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งต้องห้ามฎีกาด้วยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9127/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง และอำนาจฟ้องที่จำกัดตามทุนทรัพย์ รวมถึงปัญหาอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 11,830 บาท ฎีกาของจำเลยที่ 2ที่ 3 เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีของจำเลยที่ 3 จะต้องห้ามฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์ที่ 2ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งต้องห้ามฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8434/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดวงเงินฎีกาในคดีสัญญาประกันตัว: ทุนทรัพย์แยกตามสัญญาแต่ละฉบับ
ทุนทรัพย์ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา2คนต้องถือตามจำนวนเงินในสัญญาประกันแต่ละฉบับเพราะค่าปรับตามสัญญาทั้ง2ฉบับเป็นคนละรายแบ่งแยกรับผิดเป็นส่วนสัดเมื่อทุนทรัพย์แต่ละรายไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8434/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์ฎีกาในคดีค่าปรับจากสัญญาประกันตัว: แบ่งแยกรับผิดเป็นส่วนสัด
ทุนทรัพย์ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา 2 คน ต้องถือตามจำนวนเงินในสัญญาประกันแต่ละฉบับเพราะค่าปรับตามสัญญาทั้ง 2 ฉบับเป็นคนละราย แบ่งแยกรับผิดเป็นส่วนสัด เมื่อทุนทรัพย์แต่ละรายไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8194/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท และการเริ่มนับอายุความเมื่อรู้ตัวผู้รับผิด
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยร่วมฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยร่วมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เพราะฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างนั้น ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยร่วม ฎีกาของจำเลยร่วมจึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้มานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
กำหนดอายุความ 1 ปี ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 448วรรคหนึ่ง จะเริ่มนับก็ต่อเมื่อผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว หากผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดแต่ยังไม่รู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กำหนดอายุความ 1 ปี นั้นก็จะยังไม่เริ่มนับ โจทก์เพิ่งได้ทราบจากคำให้การของจำเลยที่ 2 ซึ่งยื่นต่อศาลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2533 ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขายรถยนต์คันเกิดเหตุให้แก่จำเลยร่วมไปก่อนเกิดเหตุ โจทก์จึงเพิ่งรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยร่วม ที่โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534 ยังไม่ล่วงพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8194/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกิน 200,000 บาท และฟ้องไม่ขาดอายุความเมื่อเพิ่งรู้ตัวผู้ต้องใช้ค่าสินไหม
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งความแพ่งมาตรา248ที่จำเลยร่วมฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยร่วมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพราะฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมเป็นนายจ้างจำเลยที่1จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างนั้นปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงน่าเชื่อว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยร่วมฎีกาของจำเลยร่วมจึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้มานั้นเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย กำหนดอายุความ1ปีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งจะเริ่มนับก็ต่อเมื่อผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วหากผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดแต่ยังไม่รู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนกำหนดอายุความ1ปีนั้นก็จะยังไม่เริ่มนับโจทก์เพิ่งได้รับจากคำให้การของจำเลยที่2ซึ่งยื่นต่อศาลเมื่อวันที่30สิงหาคม2533ว่าจำเลยที่2ได้ขายรถยนต์คันเกิดเหตุให้แก่จำเลยร่วมไปก่อนเกิดเหตุโจทก์จึงเพิ่งรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยร่วมที่โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่14กุมภาพันธ์2534ยังไม่ล่วงพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174-8176/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์
คดีสำนวนที่สองสำหรับโจทก์ที่4นั้นศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่4โดยฟังข้อเท็จจริงว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นเพราะความประมาทของจำเลยที่2ฝ่ายเดียวจำเลยที่1หาได้มีส่วนประมาทด้วยไม่จำเลยที่1และโจทก์ที่2ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่4ดังนั้นการที่โจทก์ที่4ฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่1และศาลอุทธรณ์ที่2ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่4เพียง2,500บาทเป็นการไม่ถูกต้องเพราะโจทก์ที่4มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเต็มจำนวน5,000บาทเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ที่4ฎีกาขอให้วินิจฉัยว่าจำเลยที่1เป็นฝ่ายประมาทกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่4ด้วยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่4นั่นเองอันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค3ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับคดีสำนวนที่สองไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สำหรับฎีกาของโจทก์ที่3และจำเลยที่2ในสำนวนแรกนั้นโจทก์ที่3และจำเลยที่2ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3ที่พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่3และจำเลยที่2ร่วมกันใช้ค่าเสียหายจำนวน172,881.25บาทแก่โจทก์ที่1คดีจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งเช่นกันที่โจทก์ที่3และจำเลยที่2ฎีกาว่าจำเลยที่1มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่2ค่าเสียหายของโจทก์ที่1มีเพียงใดและโจทก์ที่3ควรมีสิทธิได้รับค่าเสียหายหรือไม่โจทก์ที่3กับจำเลยที่2จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่1และโจทก์ที่2หรือไม่ล้วนแต่เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนฎีกาข้อกฎหมายของโจทก์ที่3และจำเลยที่2ในข้อที่ว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าเหตุละเมิดมิได้เป็นเพราะความผิดของจำเลยที่1แต่เป็นเพราะความผิดของจำเลยที่2แต่ผู้เดียวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและมิใช่เป็นประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ภาค3เพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์นั้นในข้อนี้โจทก์ที่1ได้กล่าวในอุทธรณ์ว่าเหตุที่รถยนต์เกิดชนกันจำเลยที่2เป็นผู้ก่อเพียงฝ่ายเดียวจำเลยที่1ไม่ได้ประมาทเลินเล่อจึงเป็นข้อที่โจทก์ที่1กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ภาค3ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายและการห้ามฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้บรรยายถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้อง คำให้การของจำเลย คำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้ง และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 246 โจทก์หาจำต้องระบุทางนำสืบของคู่ความแต่ละฝ่ายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ด้วยไม่
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์เพิ่มอีก 7,400 บาทเป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยมิได้คืนรถยนต์ให้โจทก์โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง และการพิจารณาความชอบของฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ได้ระบุทางนำสืบ
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้บรรยายถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้องคำให้การของจำเลย คำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้ง และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 246 โจทก์หาจำต้องระบุทางนำสืบของคู่ความแต่ละฝ่ายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ด้วยไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์เพิ่มอีก 7,400 บาท เป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยมิได้คืนรถยนต์ให้โจทก์โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7849/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในชั้นฎีกา, เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ, และการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาด-ประโยชน์จำนวน 45,000 บาท และค่าเช่าซื้อที่ขาดจำนวน 301,800 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเฉพาะค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 15,000 บาทแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นในส่วนค่าเช่าซื้อที่ขาดเป็นเงิน 301,800 บาท จำเลยที่ 1 แก้อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน 15,000 บาท แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงินเป็นค่าเช่าซื้อที่ยังขาดเพิ่มขึ้น200,000 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ก็ตาม ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องคำนวณหักค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 1 พอใจตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน 15,000 บาท ออก ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ตามข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดไว้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบ ความหมายของคำว่า "ยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีก" มีว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่จนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อถือว่าเป็นข้อตกลงเรื่องค่าเสียหาย เป็นการกำหนดเบี้ยปรับกันไว้ล่วงหน้าเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกนี้จึงมิใช่เป็นกรณีที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องมาตามสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคาหรือแทนค่าเสื่อมราคา แต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังวินิจฉัยต่อไปว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าสูงเกินส่วนย่อมลดลงได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องหรืออุทธรณ์ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ที่จำเลยฎีกาว่า กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น โจทก์ได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อคุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุนแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้น200,000 บาท เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยมาแล้วยังไม่คุ้มกับความเสียหายในส่วนนี้ เมื่อพิจารณาทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์200,000 บาท จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองว่าตามสัญญาเช่าซื้อ ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปีเป็นเบี้ยปรับ แต่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นเงินจำนวนสูงมากกว่าค่าขาดประโยชน์ใช้สอยรายเดือนเป็นจำนวนมาก เงินส่วนค่าดอกเบี้ยที่เป็นเบี้ยปรับจึงซ้ำซ้อนกับเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับไว้และมีจำนวนมากเกินควรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจำนวนนี้อีกนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดเบี้ยปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควร โดยให้โจทก์ได้รับเบี้ยปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดประโยชน์ให้จำเลยทั้งสองชำระแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาทค่าเสียหายในส่วนนี้สูงเกินควร เพราะโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปเป็นจำนวนมากคุ้มประโยชน์ของโจทก์แล้ว ขอให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เสียนั้นเห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ และจำเลยแก้อุทธรณ์ว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการขาดประโยชน์ของโจทก์ 15,000 บาท แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 32