พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7849/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ และจำเลยมิอาจอ้างเหตุที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไปแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน45,000บาทและค่าเช่าซื้อที่ขาดจำนวน301,800บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเฉพาะค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน15,000บาทแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นในส่วนค่าเช่าซื้อที่ขาดเป็นเงิน301,800บาทจำเลยที่1แก้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่1เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน15,000บาทแม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงินเป็นค่าเช่าซื้อที่ยังขาดเพิ่มขึ้น200,000บาทแล้วจำเลยที่1ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ก็ตามทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่1ย่อมต้องคำนวณหักค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่1พอใจตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน15,000บาทออกทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ตามข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดไว้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบความหมายของคำว่า"ยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีก"มีว่าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่จนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อถือว่าเป็นข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายเป็นการกำหนดเบี้ยปรับกันไว้ล่วงหน้าเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกนี้จึงมิใช่เป็นกรณีที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องมาตามสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคาหรือแทนค่าเสื่อมราคาแต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังวินิจฉัยต่อไปว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าสูงเกินส่วนย่อมลดลงได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องหรืออุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ที่จำเลยฎีกาว่ากรณีน่าเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นโจทก์ได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อคุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุนแล้วและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้น200,000บาทเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าเงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยมาแล้วยังไม่คุ้มกับความเสียหายในส่วนนี้เมื่อพิจารณาทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้วเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์200,000บาทจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองว่าตามสัญญาเช่าซื้อดอกเบี้ยอัตราร้อยละ18ต่อปีเป็นเบี้ยปรับแต่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นเงินจำนวนสูงมากกว่าค่าขาดประโยชน์ใช้สอยรายเดือนเป็นจำนวนมากเงินส่วนค่าดอกเบี้ยที่เป็นเบี้ยปรับจึงซ้ำซ้อนกับเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับไว้และมีจำนวนมากเกินควรแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจำนวนนี้อีกนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดเบี้ยปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควรโดยให้โจทก์ได้รับเบี้ยปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยว่าศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดประโยชน์ให้จำเลยทั้งสองชำระแก่โจทก์เดือนละ5,000บาทเป็นเงิน15,000บาทค่าเสียหายในส่วนนี้สูงเกินควรเพราะโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปเป็นจำนวนมากคุ้มประโยชน์ของโจทก์แล้วขอให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เสียนั้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์และจำเลยแก้อุทธรณ์ว่าจำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการขาดประโยชน์ของโจทก์15,000บาทแล้วฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7661/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท และผลของการฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว
คดีฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินคืน เป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ในการคำนวณทุนทรัพย์ค่าขึ้นศาลศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงไว้ 70,000 บาท และมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนของโจทก์ทั้งสอง และผู้ร้องสอดกับทายาทอื่นเพียงจำนวน 10 ใน 14 ส่วน แล้วให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนให้โจทก์ทั้งสองคนละ 10 ใน 14 ส่วนและให้ผู้ร้องสอด 7 ใน 14 ส่วน จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์หรือราคาที่ดินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์คือราคาที่ดินส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดชนะคดีคำนวณเป็นเงินแล้วไม่เกิน 50,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อฎีกาของจำเลยที่ 2เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นได้รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ แต่คำรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วย่อมไม่เป็นผลศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7661/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณราคาที่ดินพิพาทและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในการคำนวณทุนทรัพย์ค่าขึ้นศาลศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงไว้70,000บาทและมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2เฉพาะส่วนของโจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดกับทายาทอื่นเพียงจำนวน10ใน14ส่วนแล้วให้จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนให้โจทก์ทั้งสองคนละ10ใน14ส่วนและให้ผู้ร้องสอด7ใน14ส่วนจำเลยที่2อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์หรือราคาที่ดินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์คือราคาที่ดินส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดชนะคดีคำนวณเป็นเงินแล้วไม่เกิน50,000บาทคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำวินิจแัยของศาลชั้นต้นแล้วเมื่อฎีกาของจำเลยที่2เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นได้รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้แต่คำรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วย่อมไม่เป็นผลศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ที่ดินถูกล้อมรอบสิทธิใช้ทางแม้ไม่ติดกัน ศาลกำหนดความกว้างทางพอสมควร
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะแต่โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยออกตามทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินของโจทก์ซึ่งกว้างประมาณ8เมตรยาวประมาณ300เมตรแล้วผ่านทางพิพาทยาวประมาณ100เมตรและผ่านทางสาธารณประโยชน์ยาวประมาณ100เมตรสู่ถนนซอยอมรพันธ์ุนิเวศน์4ทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของจำเลยจึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349มีความหมายว่าเมื่อที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้แล้วเจ้าของที่ดินแปลงนั้นย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่จำกัดว่าจะมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่เฉพาะที่ดินแปลงที่อยู่ติดกับที่ดินแปลงนั้นเท่านั้นดังนั้นเมื่อฟังได้เป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินของผู้อื่นก่อนแล้วผ่านที่ดินของจำเลยและที่ดินอื่นแม้ที่ดินของจำเลยมิได้อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อมอยู่ก็มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่จำเลยฎีกาในส่วนของฟ้องแย้งว่าจำเลยได้รับความเสียหาย100,000บาทไม่ใช่10,000บาทดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา248วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุดจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยให้มีความกว้างถึง8เมตรและควรกำหนดให้ทางจำเป็นมีความกว้าง3050เมตรซึ่งพอสมควรที่จะใช้เป็นทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนในรถยนต์รวมทั้งรถบรรทุกผ่านเข้าออกได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ แม้ที่ดินจำเลยไม่ติดกับที่ดินผู้ใช้ทาง ศาลกำหนดความกว้างทางจำเป็นตามความเหมาะสม
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยออกตามทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินของโจทก์ซึ่งกว้างประมาณ 8 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร แล้วผ่านทางพิพาทยาวประมาณ 100 เมตร และผ่านทางสาธารณประโยชน์ยาวประมาณ 100 เมตร สู่ถนนซอยอมรพันธุ์นิเวศน์ 4ทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของจำเลย จึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349มีความหมายว่าเมื่อที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้แล้ว เจ้าของที่ดินแปลงนั้นย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่จำกัดว่าจะมีสิทธิผ่านที่ดิน ที่ล้อมอยู่เฉพาะที่ดินแปลงที่อยู่ติดกับที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อฟังได้เป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินของผู้อื่นก่อนแล้วผ่านที่ดินของจำเลยและที่ดินอื่น แม้ที่ดินของจำเลยมิได้อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อมอยู่ก็มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่จำเลยฎีกาในส่วนของฟ้องแย้งว่าจำเลยได้รับความเสียหาย100,000 บาท ไม่ใช่ 10,000 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยให้มีความกว้างถึง 8 เมตร และควรกำหนดให้ทางจำเป็นมีความกว้าง3.50 เมตร ซึ่งพอสมควรที่จะใช้เป็นทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนในรถยนต์รวมทั้งรถบรรทุกผ่านเข้าออกได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นแม้ที่ดินจำเลยไม่ติดกับที่ดินโจทก์ และการกำหนดขอบเขตทางจำเป็นที่สมควร
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยออกตามทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินของโจทก์ซึ่งกว้างประมาณ 8 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร แล้วผ่านทางพิพาทยาวประมาณ 100 เมตร และผ่านทางสาธารณประโยชน์ยาวประมาณ 100 เมตรสู่ถนนซอยอมรพันธุ์นิเวศน์ 4 ทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของจำเลย จึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์
บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1349 มีความหมายว่าเมื่อที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้แล้ว เจ้าของที่ดินแปลงนั้นย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่จำกัดว่าจะมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่เฉพาะที่ดินแปลงที่อยู่ติดกับที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อฟังได้เป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินของผู้อื่นก่อนแล้วผ่านที่ดินของจำเลยและที่ดินอื่น แม้ที่ดินของจำเลยมิได้อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อมอยู่ก็มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้
ที่จำเลยฎีกาในส่วนของฟ้องแย้งว่าจำเลยได้รับความเสียหาย100,000 บาท ไม่ใช่ 10,000 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยให้มีความกว้างถึง 8 เมตร และควรกำหนดให้ทางจำเป็นมีความกว้าง 3.50 เมตร ซึ่งพอสมควรที่จะใช้เป็นทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนให้รถยนต์รวมทั้งรถบรรทุกผ่านเข้าออกได้เท่านั้น
บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1349 มีความหมายว่าเมื่อที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้แล้ว เจ้าของที่ดินแปลงนั้นย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่จำกัดว่าจะมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่เฉพาะที่ดินแปลงที่อยู่ติดกับที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อฟังได้เป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินของผู้อื่นก่อนแล้วผ่านที่ดินของจำเลยและที่ดินอื่น แม้ที่ดินของจำเลยมิได้อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อมอยู่ก็มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้
ที่จำเลยฎีกาในส่วนของฟ้องแย้งว่าจำเลยได้รับความเสียหาย100,000 บาท ไม่ใช่ 10,000 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยให้มีความกว้างถึง 8 เมตร และควรกำหนดให้ทางจำเป็นมีความกว้าง 3.50 เมตร ซึ่งพอสมควรที่จะใช้เป็นทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนให้รถยนต์รวมทั้งรถบรรทุกผ่านเข้าออกได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7513/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ปัญหาทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ทั้งสามแล้วให้ลงชื่อโจทก์ทั้งสามเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมให้จำเลยที่4และที่5ออกจากที่พิพาทและใช้ค่าเสียหายจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งจำเลยที่2ที่4และที่5ฎีกาว่าจำเลยที่2รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่1โดยสุจริตเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ – ศาลอุทธรณ์ลดจำนวนเงินที่พิพาท ทำให้ไม่สามารถฎีกาได้
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากราคาทรัพย์สินในชั้นฎีกาลดลงต่ำกว่า 200,000 บาท
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน 248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษา กลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน 128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อเท็จจริง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นสัญญาประกันตัว เนื่องจากเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างได้วินิจฉัยแล้ว
การวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์หรือไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นการวินิจยข้อเท็จจริงข้ออ้างของจำเลยในฎีกาที่ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์เป็นการเถียงข้อเท็จจริงมิใช่การอ้างข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลอุทธรณ์ยังมิได้สั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้