พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยผิดสัญญาประกันตัว: การโต้แย้งข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมาย
การวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์หรือไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริง การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้ออ้างของจำเลยในฎีกาที่ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์เป็นการเถียงข้อเท็จจริงมิใช่การอ้างข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา
ศาลอุทธรณ์ยังมิได้สั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้
ศาลอุทธรณ์ยังมิได้สั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาชดใช้ทุนการศึกษาและการพิจารณาการรับราชการชดใช้ทุนหลังพ้นจากสมาชิกภาพข้าราชการ
มติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4ที่ผ่อนผันให้ผู้ผิดสัญญาไม่ต้องชดใช้เงินฐานผิดสัญญาซึ่งระบุว่าผู้ผิดสัญญาตามข้อ1.1พ้นจากการเป็นข้าราชการการเมืองแต่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่ผู้นั้นจะต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาแล้วส่วนราชการหรือกรมเข้าท่าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องผิดสัญญาเกี่ยวกับการศึกษาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศหลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับผู้ผิดสัญญาการศึกษาวิชาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ1.4จึงหมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่เป็นคู่สัญญาหรือที่ผู้ผิดสัญญารับราชการอยู่เดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์หาใช่หมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการในภายหลังไม่เพราะส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการภายหลังมิใช่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1มิได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ภายใน6เดือนนับจากวันพ้นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองจำเลยที่1จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้ชดใช้เงินฐานผิดสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4การที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามตั้งแต่วันที่11กุมภาพันธ์2530จึงมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้วการที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6มิถุนายน2526ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4นั้นช่วงเวลาระหว่างวันที่6มิถุนายน2526ถึงวันที่13สิงหาคม2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ1วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนกรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6มิถุนายน2526จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4หรือไม่ คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆรวมทั้งค่าปรับตามสัญญาโจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่1และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่1เหลืออยู่อีกจำเลยที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งจำเลยที่1ฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยที่1ไม่ได้ผิดสัญญาขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันค่าชดใช้สัญญาการศึกษาและการกลับเข้ารับราชการ: หลักเกณฑ์การตีความ 'ส่วนราชการเดิม'
มติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1.4 ที่ผ่อนผันให้ผู้ผิดสัญญาไม่ต้องชดใช้เงินฐานผิดสัญญาซึ่งระบุว่า ผู้ผิดสัญญาตามข้อ 1.1 พ้นจากการเป็นข้าราชการการเมืองแต่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่ผู้นั้นจะต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาแล้ว ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวนั้น เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องผิดสัญญาเกี่ยวกับการศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และการศึกษาภายในประเทศ หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับผู้ผิดสัญญาการศึกษาวิชาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และการศึกษาภายในประเทศ คำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ 1.4 จึงหมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่เป็นคู่สัญญาหรือที่ผู้ผิดสัญญารับราชการอยู่เดิม คือ มหาวิทยาลัยโจทก์ หาใช่หมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการในภายหลังไม่ เพราะส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการภายหลังมิใช่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ภายใน 6 เดือนนับจากวันพ้นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สอง จำเลยที่ 1จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้ชดใช้เงินฐานผิดสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามตั้งแต่วันที่11 กุมภาพันธ์ 2530 จึงมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าว
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 นั้น ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุน กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 หรือไม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าปรับตามสัญญา โจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่ 1 และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่ 1เหลืออยู่อีก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญา ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 นั้น ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุน กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 หรือไม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าปรับตามสัญญา โจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่ 1 และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่ 1เหลืออยู่อีก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญา ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาที่ถูกต้อง แม้หลักฐานไม่ครบถ้วน
ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังข้อเท็จจริงว่าแม้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521ซึ่งเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นหลักฐานประกอบหนี้แต่ความจริงเมื่อพิจารณาจากบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินค้านหลังคำขอรับชำระหนี้ในช่องหลักฐานประกอบหนี้แล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527หาใช่มูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521ที่มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วไม่น่าเชื่อว่าเจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดพลาดถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ภายในกำหนดสองเดือนเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาว่าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้เจ้าหนี้ต้องนำมูลหนี้นั้นไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดสองเดือนการที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยแนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521ซึ่งได้มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นหลักฐานประกอบหนี้และได้นำมูลหนี้และได้นำมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกิดบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ซึ่งไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดสองเดือนมาให้การสอบสวนทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานประกอบหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ได้จึงขัดต่อมาตรา94และมาตรา91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เป็นมูลหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ในปัญหาที่ว่าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นการขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521มิใช่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527และเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดอันจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค1ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าการที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521มาท้ายคำขอรับชำระหนี้เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527และถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ภายในกำหนดสองเดือนแล้วซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153หากแต่เป็นฎีกาข้อกฎหมายในปัญหาที่ว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527นั้นเป็นการชอบด้วยมาตรา91และมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483หรือไม่เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำเนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าการที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้วดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ทั้งไม่ปรากฎว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้วเจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527มาด้วยแล้วเช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การพิจารณาหลักฐานประกอบหนี้และการยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า แม้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 ซึ่งเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เป็นหลักฐานประกอบหนี้ แต่ความจริงเมื่อพิจารณาจากบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ในช่องหลักฐานประกอบหนี้แล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28 มีนาคม 2527 หาใช่มูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม2521 ที่มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วไม่ น่าเชื่อว่าเจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดพลาด ถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ภายในกำหนดสองเดือน เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาว่า หนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ เจ้าหนี้ต้องนำมูลหนี้นั้นไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดสองเดือน การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยแนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 ซึ่งได้มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นหลักฐานประกอบหนี้ และได้นำมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดสองเดือนมาให้การสอบสวน ทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานประกอบหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ได้ จึงขัดต่อมาตรา 94และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เป็นมูลหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในปัญหาที่ว่า ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นการขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 มิใช่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28มีนาคม 2527 และเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด อันจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าการที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม2521 มาท้ายคำขอรับชำระหนี้เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 และถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28มีนาคม 2527 ภายในกำหนดสองเดือนแล้วซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153หากแต่เป็นฎีกาข้อกฎหมายในปัญหาที่ว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 นั้นเป็นการชอบด้วยมาตรา 91 และมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483หรือไม่ เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 และมาตรา 247 ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า การที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้ เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้ว ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้
ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 มาด้วยแล้ว เช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้ หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พะ.ศ.2483 แต่อย่างใดไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า การที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้ เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้ว ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้
ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 มาด้วยแล้ว เช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้ หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พะ.ศ.2483 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและการครอบครอง: ทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท จึงฎีกาได้
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาคือราคาที่พิพาทจำนวน162,000บาทและค่าเสียหายอันเกี่ยวเนื่องกับที่พิพาทจนถึงวันฟ้องจำนวน40,200บาทรวมเป็นเงิน202,200บาทซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เกิน200,000บาทจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าเสียหาย การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อการฎีกา
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาคือราคาที่พิพาทจำนวน162,000บาทและค่าเสียหายอันเกี่ยวเนื่องกับที่พิพาทจนถึงวันฟ้องจำนวน40,200บาทรวมเป็นเงิน202,200บาทซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เกิน200,000บาทจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินและการคิดมูลค่าคดีเพื่อการฎีกา
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาคือราคาที่พิพาทจำนวน162,000 บาท และค่าเสียหายอันเกี่ยวเนื่องกับที่พิพาทจนถึงวันฟ้องจำนวน 40,200 บาท รวมเป็นเงิน 202,200 บาท ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เกิน 200,000 บาทจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง: คดีทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาคือราคาที่พิพาทจำนวน 162,000บาท และค่าเสียหายอันเกี่ยวเนื่องกับที่พิพาทจนถึงวันฟ้องจำนวน 40,200 บาท รวมเป็นเงิน 202,200 บาท ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เกิน 200,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617-6618/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาลล่าง
การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้มีชื่อเป็นการฟ้องเรียกให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามคดีของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาทนั้นปรากฎว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อไปแล้วโจทก์ทั้งสามขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับคนละ190,000บาทจึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ต้องถือทุนทรัพย์แยกกันตามรายตัวโจทก์เมื่อจำเลยหนี้ตามสิทธิของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกแต่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยการที่โจทก์ทั้งสามฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ทั้งสามและจำเลยต้องแบ่งเงินที่ขายที่ดินพิพาทกันตามส่วนและศาลล่างวินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนจากพยานหลักฐานในสำนวนเพราะในส.ค.1เอกสารหมายจ.4จำเลยระบุไว้ว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดยบิดามารดายกให้แต่ในสัญญาซื้อขายเอกสารหมายจ.6จำเลยระบุว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองเกิน10ปีแตกต่างกันแต่ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยในปัญหานี้ไม่ล้วนแต่เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ทั้งสิ้นอันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว