คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: ประเด็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นเกี่ยวกับนิติกรรมอำพราง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินและเพิ่มวงเงินจำนองไว้แก่จำเลย หลังจากนั้นโจทก์ขอชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองจำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงนำเงินต้นและดอกเบี้ยไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ขอให้บังคับจำเลยรับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลยจริง แต่การจดทะเบียนเพิ่มเงินจำนองเป็นการแสดงเจตนาลวงเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดิน เพราะที่ดินดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ห้ามโอนภายในกำหนดเวลา 5 ปีจึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเท่ากับราคาที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกัน ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องโต้แย้งและพิพาทกันด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกามีใจความว่าพยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังได้ว่าโจทก์กู้เงินจากจำเลยและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจากจำเลยอีกหลายครั้ง โจทก์จึงตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ไปทั้งหมด แต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ได้ เพราะที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ห้ามโอนภายในกำหนด 5 ปีจึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยและรับฟังมาว่าการจำนองที่ดินตามฟ้องไม่ได้เป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดินจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริง: ดุลพินิจผู้พิพากษาและการปฏิบัติตามขั้นตอนวิธี
การรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสี่ที่บัญญัติว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีรังรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ให้ผู้ยื่นฎีกายื่นคำร้องพร้อมฎีกานั้นเป็นเพียงแบบวิธีการขอให้รับรองดังนี้แม้ผู้ฎีกายังไม่ยื่นคำร้องและฎีกาผู้พิพากษาดังกล่าวย่อมใช้ดุลพินิจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงไว้ในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจผู้พิพากษาในการรับรองฎีกาข้อเท็จจริง แม้ไม่ได้ยื่นคำร้อง
การรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดี บทบัญญัติใน ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ให้ผู้ยื่นฎีกายื่นคำร้องพร้อมฎีกานั้นเป็นเพียงแบบวิธีการขอให้รับรอง ดังนี้ แม้ผู้ฎีกายังไม่ยื่นคำร้องและฎีกา ผู้พิพากษาดังกล่าวย่อมใช้ดุลพินิจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงไว้ในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษา แม้มิได้ยื่นคำร้องพร้อมฎีกา
การรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดี บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ให้ผู้ยื่นฎีกายื่นคำร้องพร้อมฎีกานั้นเป็นเพียงแบบวิธีการขอให้รับรอง ดังนี้ แม้ผู้ฎีกายังไม่ยื่นคำร้องและฎีกา ผู้พิพากษาดังกล่าวย่อมใช้ดุลพินิจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงไว้ในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองฎีกาข้อเท็จจริง: ดุลพินิจผู้พิพากษาและแบบวิธีการตามมาตรา 248 วรรคสี่
การรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสี่ที่บัญญัติว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ให้ผู้ยื่นฎีกายื่นคำร้องพร้อมฎีกานั้นเป็นเพียงแบบวิธีการขอให้รับรองดังนี้แม้ผู้ฎีกายังไม่ยื่นคำร้องและฎีกาผู้พิพากษาดังกล่าวย่อมใช้ดุลพินิจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงไว้ในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีบุกรุกและคดีมีทุนทรัพย์แยกจากกัน
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันบุกรุกทำให้เสียหาย หากนำไปให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 24,000 บาทจำเลยทั้งเจ็ดให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต่างแยกการครอบครอง ดังนั้นคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ในขณะยื่นฟ้อง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 5 รวมกันมา ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 5 จะยื่นคำให้การรวมกันมาในคำให้การเดียวกันก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งพิพาทกับโจทก์แยกต่างหากจากกัน เพราะฉะนั้นค่าขึ้นศาลสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต้องคิดแยกต่างหากจากกันด้วย เมื่อที่ดินพิพาทในส่วนที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 พิพาทกับโจทก์มีราคา 111,199.25 บาท และ52,037.58 บาท ตามลำดับ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของแต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4980/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยยกคำเบิกความของพยานโจทก์ จำเลยขึ้นวินิจฉัยประกอบกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการเดินเผชิญสืบ เป็นการวินิจฉัยพยานที่ปรากฏในสำนวนแล้ว
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อเท็จจริงโดยอ้างว่าต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยก็ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะเมื่อต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871-4874/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะ: ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหากจำนวนเงินไม่เกิน 2 แสนบาทต่อคน และยืนยันหลักการจ่ายค่าอุปการะทั้งปัจจุบันและอนาคต
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้นจะต้องแยกชำระให้แก่โจทก์แต่ละคนตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดปรากฎว่าโจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และที่8ได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นจำนวนคนละไม่เกินสองแสนบาทคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยที่1ถึงที่3ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์กำหนดให้จ่ายค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตให้โจทก์ที่8มากเกินสมควรเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะเพราะเหตุบิดามารดาบุตรหรือสามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยการทำละเมิดของบุคคลภายนอกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ชอบที่จะได้รับค่าอุปการะทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยผลแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามประกอบด้วยมาตรา1461,1563และ1564ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายกับผู้ขาดไร้อุปการะจะอุปการะกันจริงหรือไม่และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ผู้ขาดไร้อุปการะจะมีฐานะดีหรือยากจนก็ไม่ใช่ข้อสำคัญสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะคงมีอยู่เสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นค่าเสียหาย: ศาลจำกัดการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่ารักษาพยาบาลจำนวน 52,531 บาท ค่าขาดรายได้จากการทำงานจำนวน 40,000บาท ค่าพาหนะเดินทางจำนวน 10,000 บาท ค่าผ่าตัดรักษาเท้าจำนวน 15,000บาท และค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานจำนวน 200,000 บาทรวมเป็นเงิน 317,531 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายอันเป็นข้อเท็จจริงว่า ค่าพาหนะเดินทางไม่ควรเกิน 4,000 บาท ค่าผ่าตัดรักษาเท้าไม่ควรกำหนดให้ และค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานไม่ควรเกิน40,000 บาท ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่ยังพิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวน 181,000 บาทและเมื่อรวมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิดจนถึงวันฟ้องแล้วรวมเป็นเงิน 194,575 บาท ไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อพิพาทในชั้นฎีกามีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่ารักษาพยาบาลจำนวน 52,531 บาท ค่าขาดรายได้จากการทำงานจำนวน 40,000 บาทค่าพาหนะเดินทางจำนวน 10,000 บาท ค่าผ่าตัดรักษาเท้าจำนวน 15,000บาท และค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานจำนวน 200,000 บาทรวมเป็นเงิน 317,531 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายอันเป็นข้อเท็จจริงว่า ค่าพาหนะเดินทางไม่ควรเกิน 4,000 บาท ค่าผ่าตัดรักษาเท้าไม่ควรกำหนดให้ และค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานไม่ควรเกิน 40,000 บาท ดังนั้นทุนทรัพย์ที่ยังพิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวน 181,000 บาท และเมื่อรวมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิดจนถึงวันฟ้องแล้วรวมเป็นเงิน 194,575 บาท ไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 32