พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาซื้อขายทรัพย์สินสมรสที่ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส โดยอ้างกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาททั้งแปลง ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนเพียงครึ่งหนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีเพียงครึ่งหนึ่งของราคาที่พิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นสามี ถือได้ว่าโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกันทำนองเดียวกับการมีกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1356แห่ง ป.พ.พ. การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกันในฐานะเจ้าของรวมคนละกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 และพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่พิพาทกึ่งหนึ่ง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่ข้อวินิจฉัยที่นอกประเด็นที่กำหนดไว้ เพราะคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นสามี ถือได้ว่าโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกันทำนองเดียวกับการมีกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1356แห่ง ป.พ.พ. การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกันในฐานะเจ้าของรวมคนละกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 และพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่พิพาทกึ่งหนึ่ง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่ข้อวินิจฉัยที่นอกประเด็นที่กำหนดไว้ เพราะคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่ง: ทุนทรัพย์พิพาทเกินสองแสนบาท
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงิน 2 จำนวน คือจำนวน 149,512.88 บาท กับจำนวน62,248.90 บาท เมื่อรวมแล้วเป็นเงินจำนวน 211,761.78 บาท แม้จะเกินสองแสนบาท แต่ในคำพิพาษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยยอมให้จำเลยหักค่าเช่าฉางและค่ากรรมกรขนข้าวที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยออกก่อนเป็นจำนวน66,280.97 บาท จึงเท่ากับว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเหลือเพียง145,480.81 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยตามฟ้องแย้งจำนวน 120,000.97 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้ยกฟ้องแย้งจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยตามฟ้องแย้งจำนวน 120,000.97 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้ยกฟ้องแย้งจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากวัวกินอ้อย: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำฟ้องได้และวินิจฉัยความรับผิดชอบตามส่วน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งแปดฎีกาว่า จำเลยทั้งแปดไม่เคยนำวัวไปเลี้ยงในไร่อ้อยของโจทก์ จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งฟังว่าจำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นคู่สามีภรรยากันต่างคู่ต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์อันเป็นละเมิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งแปดต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 จึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมทำให้คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบย่ำต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ 60 ไร่เศษ ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่าจดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งแปดต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 จึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมทำให้คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบย่ำต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ 60 ไร่เศษ ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่าจดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์เกินสองแสน - ศาลไม่รับวินิจฉัย
ทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นทรัพย์ที่พิพาทกันมาในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทมีราคา 136,000 บาท และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลย จะต้องชำระแก่โจทก์ในกรณีที่สภาพไม่เปิดช่องให้จัดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเท่ากับราคาที่ดินพิพาทจำนวน 136,000 บาทคู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคัดค้านราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว คดีนี้จึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งแม้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลขึ้นฎีกาในทุนทรัพย์ 1,000,000 บาทก็ไม่ทำให้เป็นฎีกาที่ไม่ต้องห้ามได้ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลย มานั้นเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แม้จะเสียค่าขึ้นศาลสูง
ทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นทรัพย์ที่พิพาทกันมาในศาลชั้นต้นซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทมีราคา 136,000 บาท และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ในกรณีที่สภาพไม่เปิดช่องให้จัดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเท่ากับราคาที่ดินพิพาทจำนวน 136,000 บาท คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคัดค้านราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว คดีนี้จึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง แม้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ 1,000,000 บาท ก็ไม่ทำให้เป็นฎีกาที่ไม่ต้องห้ามได้ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้นเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดวงเงินฎีกาในคดีแพ่ง, การรับช่วงสิทธิค่าเสียหาย, และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงกับคดีอาญา
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยที่1ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องมีเพียง194,114.18บาทจึงไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งจำเลยที่1ฎีกาว่าเหตุพิพาทคดีนี้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่2แม้ศาลจะฟังว่ารถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋งก็เป็นเหตุสุดวิสัยฎีกาของจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ขับรถโดยประมาทมิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทมาตราดังกล่าวข้างต้น ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่2ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,46,157รัฐเป็นผู้เสียหายจำเลยที่1ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใดศาลจึงกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438การที่โจทก์ไปตกลงค่าเสียหายกับผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าเสียหายไปโดยไม่ปรากฏว่าค่าเสียหายมีเพียงใดโจทก์จะเรียกร้องเอาเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวเต็มจำนวนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่งและขอบเขตการเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาประกันภัย
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องมีเพียง 194,114.18 บาทจึงไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เหตุพิพาทคดีนี้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 2 แม้ศาลจะฟังว่ารถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋งก็เป็นเหตุสุดวิสัย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ขับรถโดยประมาท มิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทมาตราดังกล่าวข้างต้น
ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 46, 157 รัฐเป็นผู้เสียหายจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว ในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า รถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใด ศาลจึงกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 การที่โจทก์ไปตกลงค่าเสียหายกับผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าเสียหายไปโดยไม่ปรากฏว่าค่าเสียหายจริงมีเพียงใด โจทก์จะเรียกร้องเอาเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวเต็มจำนวนหาได้ไม่
ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 46, 157 รัฐเป็นผู้เสียหายจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว ในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า รถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใด ศาลจึงกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 การที่โจทก์ไปตกลงค่าเสียหายกับผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าเสียหายไปโดยไม่ปรากฏว่าค่าเสียหายจริงมีเพียงใด โจทก์จะเรียกร้องเอาเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวเต็มจำนวนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การรุกล้ำที่ดิน, และความรับผิดของกรรมการบริษัท
คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อกำแพงของจำเลยที่ปิดกั้นที่ดินโจทก์และให้รื้อหลังคาที่คร่อมที่ดินโจทก์ออกไป เป็นคดีที่โจทก์ใช้สิทธิการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เรียกร้องให้ขจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไป ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังก่อความเดือดร้อนรำคาญอยู่โจทก์ย่อมฟ้องร้องขอให้บังคับได้ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งการแสดงออกย่อมกระทำโดยทางกรรมการ ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกให้บังคับตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยตัวแทน เมื่อหลังคาโรงงานของจำเลยที่ 1รุกล้ำเป็นละเมิดต่อที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจจึงต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อกำแพงของจำเลยที่ปิดกั้นที่ดินโจทก์และให้รื้อหลังคาที่คร่อมที่ดินโจทก์ออกไป เป็นคดีที่โจทก์ใช้สิทธิการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เรียกร้องให้ขจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไป ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังก่อความเดือดร้อนรำคาญอยู่โจทก์ย่อมฟ้องร้องขอให้บังคับได้ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งการแสดงออกย่อมกระทำโดยทางกรรมการ ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกให้บังคับตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยตัวแทน เมื่อหลังคาโรงงานของจำเลยที่ 1รุกล้ำเป็นละเมิดต่อที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจจึงต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของจำเลยทั้งสองจากการซื้อขายที่ดิน โดยจำเลยที่ 2 ดำเนินการทั้งในฐานะส่วนตัวและนิติบุคคล
จำเลยที่ 2 ตกลงเรื่องถมดินกับโจทก์ประมาณเดือนมีนาคม2531 แต่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2531 ดังนั้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ไปเจรจาซื้อที่ดินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำในฐานะส่วนตัวเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่มีตัวตน แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพราะจำเลยที่ 2 รับราชการอยู่ จึงให้ ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และในทางปฏิบัติจำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารงานและดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 และหลังจากจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจำเลยที่ 2 ได้ซื้อดินจากโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1
ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้ง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้ง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและฐานะส่วนตัวในการซื้อขาย กรณีจำเลยที่ 2 เจรจาซื้อดินก่อนบริษัทจดทะเบียน
จำเลยที่ 2 ตกลงเรื่องถมดินกับโจทก์ประมาณเดือนมีนาคม 2531 แต่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2531 ดังนั้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ไปเจรจาซื้อที่ดินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำในฐานส่วนตัวเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่มีตัวตน แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพราะจำเลยที่ 2 รับราชการอยู่ จึงให้ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และในทางปฏิบัติจำเลยที่ 2เป็นผู้บริหารงานและดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 และหลังจากจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจำเลยที่ 2 ได้ซื้อดินจากโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะหุ้นส่วนจำพวกจำพวกจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนนี้เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย