คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าที่ดินวัดและการฟ้องขับไล่: ข้อพิพาทสิทธิเช่าและการอ้างสิทธิโดยบุคคลอื่น
ที่พิพาทเป็นที่ของวัด ศ. ให้ราษฎรเช่าโดยวัดเก็บค่าเช่าปีละ 900 บาท จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาท โจทก์จึงฟ้องขับไล่โดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่พิพาทจากวัด ศ. ดังนั้น จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยเข้ามาอยู่อาศัยในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ฟ.ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฎีกาว่าโจทก์แต่ผู้เดียวเป็นผู้เช่าที่พิพาทจำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่พิพาทโดยอ้างว่า ฟ.พี่สาวโจทก์ได้โอนสิทธิข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ฟ.ให้จำเลย เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังไม่ได้ เมื่อฟ.ตาย สิทธิอันเกี่ยวกับการเช่าที่พิพาทเป็นอันระงับไป จำเลยกับพวกอยู่ในที่พิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมการศาสนายังมีอยู่ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิการเช่าแต่ผู้เดียว เป็นการโต้แย้งว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินวัด ศ.แต่ผู้เดียวโดยมิได้ทำแทน ฟ.ด้วย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเสียชีวิต: สิทธิเรียกร้องแบ่งแยกและข้อยกเว้นการฎีกา
โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองทำละเมิดเป็นเหตุให้ ส. บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินแก่โจทก์เกินกว่า 200,000 บาทแต่สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจำนวน 187,000 บาท นั้น โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องโดยลำพังคนละครึ่งหนึ่ง ส่วนค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพจำนวน18,700 บาท นั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิร่วมกัน ไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้แต่ละคนได้แต่เมื่อนำไปรวมกับค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนดังกล่าวแล้วปรากฎว่าไม่เกิน 200,000 บาท ดังนี้ คดีย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับตามสัญญา, การมอบอำนาจ, และเจตนาในการยกทรัพย์ให้บุตร
ที่พิพาทโจทก์จำเลยตีราคาไว้จำนวน100,000บาทดังนั้นราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง100,000บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่ ว. บุตรสาวที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจนั้นให้โจทก์ไว้เพราะไม่มีการมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินให้โจทก์ตามเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาข้อ2นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายกที่พิพาทให้แก่บุตร2คนตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสองจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลยถือได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นการกระทำใดๆอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172เดิมเมื่อหนังสือมอบอำนาจลงวันที่4สิงหาคม2524อายุความจึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่4สิงหาคม2524และเริ่มนับใหม่ต่อไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่4กรกฎาคม2533ยังไม่เกิน10ปีจึงไม่ขาดอายุความ บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุยกที่พิพาทแก่บุตรทั้ง2คนโดยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้สัญญาสิ้นความผูกพันหากเหลือบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียวและเมื่อ พ.บุตรคนหนึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วจำเลยยังทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีความผูกพันที่จะโอนที่พิพาทให้แก่ ว. บุตรซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายังคงเหลืออยู่เพียงผู้เดียวโดยระบุชื่อว. เป็นผู้รับโอนไว้อย่างชัดแจ้งย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงในการยกที่พิพาทนั้นต้องการยกให้แก่บุตรเท่านั้นโดยมิได้คำนึงถึงจำนวนบุตรว่าจะอยู่ครบทั้งคู่หรือเหลือเพียงคนเดียวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ ว.ตามสัญญาและศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาททั้งแปลงแก่ ว. ได้ การที่จำเลยระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว. เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจแตกต่างไปจากสัญญาเดิมก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเดิมซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ตามที่จำเลยอ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากการมอบอำนาจโอนกรรมสิทธิ์และการบังคับตามสัญญาเดิม แม้ผู้รับโอนเปลี่ยนแปลง
ที่พิพาทโจทก์จำเลยตีราคาไว้จำนวน 100,000 บาท ดังนั้นราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 100,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่ ว.บุตรสาว ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจนั้นให้โจทก์ไว้เพราะไม่มีการมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินให้โจทก์ตามเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาข้อ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายกที่พิพาทให้แก่บุตร 2 คน ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสอง จำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลย ถือได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม เมื่อหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ 4 สิงหาคม 2524 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2524 และเริ่มนับใหม่ต่อไป โจทก์ฟ้องคดีวันที่4 กรกฎาคม 2533 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุยกที่พิพาทแก่บุตรทั้ง 2 คน โดยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้สัญญาสิ้นความผูกพันหากเหลือบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียว และเมื่อ พ.บุตรคนหนึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว จำเลยยังทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีความผูกพันที่จะโอนที่พิพาทให้แก่ ว.บุตร ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายังคงเหลืออยู่เพียงผู้เดียวโดยระบุชื่อ ว.เป็นผู้รับโอนไว้อย่างชัดแจ้ง ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงในการยกที่พิพาทนั้น ต้องการยกให้แก่บุตรเท่านั้นโดยมิได้คำนึงถึงจำนวนบุตรว่าจะอยู่ครบทั้งคู่หรือเหลือเพียงคนเดียว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ ว. ตามสัญญาและศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาททั้งแปลงแก่ ว. ได้
การที่จำเลยระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว.เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจแตกต่างไปจากสัญญาเดิม ก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเดิม ซี่งต้องห้ามตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ตามที่จำเลยอ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์คูน้ำและการครอบครองปรปักษ์ หากมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนด โจทก์ขุดร่องน้ำพิพาทซึ่งอยู่ในเขตโฉนดเพื่อรับน้ำจากคลองสาธารณมาใช้ประโยชน์ต่อมาจำเลยทั้งสองทำทำนบกั้นร่องน้ำดังกล่าว ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนทำนบออกไป จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองใช้ร่องน้ำพิพาทติดต่อกันไม่น้อยกว่า 40 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนทำนบที่ปิดกั้นร่องน้ำ ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้อ้างกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ คำขอบังคับของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทว่า คูน้ำพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์เกิน 2 แสนบาทฎีกาขัดแย้งข้อเท็จจริง ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดโจทก์ขุดร่องน้ำพิพาทซึ่งอยู่ในเขตโฉนดเพื่อรับน้ำจากคลองสาธารณมาใช้ประโยชน์ต่อมาจำเลยทั้งสองทำทำนบกั้นร่องน้ำดังกล่าวขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนทำนบออกไปจำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยทั้งสองใช้ร่องน้ำพิพาทติดต่อกันไม่น้อยกว่า40ปีจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ดังนี้แม้ คำขอท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนทำนบที่ปิดกั้นร่องน้ำซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้อ้างกรรมสิทธิ์จึงเป็น คดีมีทุนทรัพย์ คำขอบังคับของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทว่าคูน้ำพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่ราคาทรัพย์สินพิพาทต่ำกว่าสองแสนบาท และการโต้เถียงข้อเท็จจริง
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้ง จะอุทธรณ์ฎีกาได้เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนละส่วน เมื่อฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งต่างมีราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่ศาลพิพากษาว่าเป็นของจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1489/2528 ของศาลชั้นต้น พยานหลักฐานของจำเลยในคดีดังกล่าวรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์มีพยานเอกสารและพยานบุคคลหลายปากยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์นั้นเป็นการฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อราคาทรัพย์สินในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาได้เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนและส่วนเมื่อฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งต่างมีราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทคดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่ศาลพิพากษาว่าเป็นของจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่1489/2528ของศาลชั้นต้นพยานหลักฐานของจำเลยในคดีดังกล่าวรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโจทก์มีพยานเอกสารและพยานบุคคลหลายปากยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์นั้นเป็นการฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนชื่อจากน.ส.3ก. กรณีสิทธิร่วม และการยกคำขอเนื่องจากฎีกาต้องห้าม
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1แสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาทอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้นหาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจากน.ส.3ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์ที่3และท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่งกรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท.ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามแต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่1และที่2เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่3ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องนอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ.ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้แต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่3เท่านั้นมิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่1และที่2ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน ที่โจทก์ที่1และที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่3ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคนคดีจึงไม่ขาดอายุความนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่3ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่าโจทก์ที่3ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่1และที่2ยังฎีกาอีกว่า ท. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ที่1และที่2จึงต้องห้ามฎีกา ที่จำเลยฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่3ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่โจทก์ที่3และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่1และที่2ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท. ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่พ.ศ.2519แล้วโจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองนั้นปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายหลังวันฟ้อง ไม่นำมาคำนวณทุนทรัพย์ – คดีเกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกา
คดีฟ้องขับไล่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่พิพาทหลังจากวันฟ้องแล้ว โจทก์ฎีกาในเรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายเพียงอย่างเดียว เมื่อข้อพิพาทในชั้นฎีกาที่โจทก์เรียกร้องเป็นค่าเสียหายหลังวันฟ้อง จึงเป็นค่าเสียหายในอนาคต จะนำมาใช้คำนวณเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาทคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง
of 32