พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8732/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามทุนทรัพย์ และการใช้สัญญากู้เงินเป็นหลักฐาน แม้ระบุสิทธิฟ้องคดีอาญา
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาข้อแรกว่า สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 เป็นนิติกรรมอำพรางการร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยนั้น เป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ซึ่งพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โดยฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยข้อนี้มาเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาข้อต่อมาว่า สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุให้โจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วย ซึ่งข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนจากสัญญากู้เงินที่เป็นคดีแพ่งให้กลายเป็นคดีอาญา จึงเป็นเอกสารที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย โจทก์ไม่อาจนำเอกสารหมาย จ.1 มาเป็นหลักฐานดำเนินคดีแก่จำเลยได้นั้น เห็นว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ความยินยอมหรือการตกลงกัน ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 จะมีข้อความระบุให้โจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วยก็ตาม ก็มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จะทำให้สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้
ที่จำเลยฎีกาข้อต่อมาว่า สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุให้โจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วย ซึ่งข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนจากสัญญากู้เงินที่เป็นคดีแพ่งให้กลายเป็นคดีอาญา จึงเป็นเอกสารที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย โจทก์ไม่อาจนำเอกสารหมาย จ.1 มาเป็นหลักฐานดำเนินคดีแก่จำเลยได้นั้น เห็นว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ความยินยอมหรือการตกลงกัน ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 จะมีข้อความระบุให้โจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วยก็ตาม ก็มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จะทำให้สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสน และการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับลายมือชื่อในสัญญากู้
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงจากการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 จึงเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยซึ่งต้องตีความและวินิจฉัยไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง ผลเท่ากับเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อสมถวิล บุญภักดี ผู้กู้ในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 เป็นลายมือชื่อของจำเลย แม้ชื่อตามลายมือชื่อนั้นจะไม่ตรงกับชื่อที่ถูกต้องแท้จริงของจำเลยคือ ถวิล บุญภักดี ก็ตาม แต่เป็นการนำสืบถึงตัวบุคคลผู้ทำสัญญาว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้กู้ตามที่ปรากฏในสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์และทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง การนำสืบของโจทก์มิได้มีผลกระทบถึงข้อความหรือข้อตกลงในสัญญากู้เงิน จึงหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ไม่
การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อสมถวิล บุญภักดี ผู้กู้ในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 เป็นลายมือชื่อของจำเลย แม้ชื่อตามลายมือชื่อนั้นจะไม่ตรงกับชื่อที่ถูกต้องแท้จริงของจำเลยคือ ถวิล บุญภักดี ก็ตาม แต่เป็นการนำสืบถึงตัวบุคคลผู้ทำสัญญาว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้กู้ตามที่ปรากฏในสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์และทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง การนำสืบของโจทก์มิได้มีผลกระทบถึงข้อความหรือข้อตกลงในสัญญากู้เงิน จึงหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง เหตุทุนทรัพย์เกินและข้อพิพาทเป็นเรื่องสัญญาหมั้นสินสอด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6927/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นค่าเสียหายเนื่องจากไม่ได้กล่าวถึงในฎีกา ทำให้จำกัดทุนทรัพย์ข้อพิพาทและขัดต่อข้อห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้โจทก์ที่ 1 จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ 298,000 บาท ซึ่งเป็นการรวมทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทจำนวน 198,000 บาท กับค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกจากจำเลยทั้งสองจำนวน 100,000 บาท เข้าด้วยกันก็ตาม แต่ฎีกาของโจทก์ที่ 1 มิได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องค่าเสียหายว่าโจทก์ที่ 1 ยังประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองตามฟ้อง จึงเท่ากับว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฎีกาในประเด็นค่าเสียหาย ฎีกาของโจทก์ที่ 1 มีเพียงประเด็นความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท เมื่อราคาที่ดินที่พิพาทอันเป็นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท โจทก์ที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจำกัด, ศาลคืนค่าขึ้นศาล, ประเด็นค่าเสียหายเกินคำขอไม่ฟัง
แม้โจทก์ทั้งสี่ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสี่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสี่ยกขึ้นเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัว และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนการพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนแยกกัน หาใช่คิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทุกคนรวมกันไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท และจำเลยทั้งสองฎีกาในประเด็นค่าเสียหาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าการปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และมีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ ดังนี้ แม้ตามคำขอจะมิได้มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งเรื่องค่าทดแทน แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 มาด้วยก็ตาม ก็พอถือได้ว่ามีประเด็นพิพาทเรื่องค่าทดแทนความเสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ด้วย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 465,000 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงประเด็นค่าเสียหายจำนวน 340,000 บาท จึงต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าการปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และมีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ ดังนี้ แม้ตามคำขอจะมิได้มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งเรื่องค่าทดแทน แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 มาด้วยก็ตาม ก็พอถือได้ว่ามีประเด็นพิพาทเรื่องค่าทดแทนความเสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ด้วย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 465,000 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงประเด็นค่าเสียหายจำนวน 340,000 บาท จึงต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณมูลค่าทรัพย์มรดกและข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา
การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสี่ เป็นการฟ้องเรียกให้ได้ทรัพย์มรดกกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท และโจทก์ทั้งสี่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์จำนวน 60,000 บาท จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินทรัพย์มรดกที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันราคา 201,000 บาท ที่ดินของโจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีหมั้นและสินสอดที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีสิทธิในครอบครัว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนของหมั้น สินสอด และชดใช้ค่าเสียหายเพราะผิดสัญญาหมั้นแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 169,500 บาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทเกินสองแสนบาทฎีกาไม่รับวินิจฉัย: การแบ่งแยกค่าเสียหายในคดีละเมิด
แม้ค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดเป็นค่าปลงศพจำนวน 50,000 บาท จะเป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิร่วมกันไม่อาจแบ่งแยกได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ทั้งสองรวมกันจำนวน 200,000 บาท นั้น เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคนได้ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสอง เมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งเป็นเงินคนละ 100,000 บาท และนำไปรวมกันค่าเสียหายที่เป็นค่าปลงศพจำนวน 50,000 บาทแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนจึงไม่เกินคนละสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องที่ดิน: การฟ้องแย้งความเป็นเจ้าของและข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
ประเด็นที่โจทก์ จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมโต้เถียงกันในชั้นฎีกามีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่สาธารณประโยชน์ โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิในที่ดินพิพาท แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณประโยชน์ จำเลยร่วมย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาและจัดการตามกฎหมาย อันมีผลให้จำเลยทั้งห้ามีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการด้วย ดังนั้น ประโยชน์ที่โจทก์ได้ตามฟ้องหรือประโยชน์ที่จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมได้ตามคำให้การ รวมทั้งประโยชน์ที่จำเลยทั้งห้าได้ตามฟ้องแย้งย่อมเป็นกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอห้ามจำเลยทั้งห้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท และจำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทมาด้วย ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นหลักเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผิดในเช็คปลอม หากไม่ได้ต่อสู้เรื่องประมาทเลินเล่อของโจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นไม่ได้
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า เช็คพิพาทเป็นของโจทก์ มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายและตราประทับตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่จำเลย จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้ ว. ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดี ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง