คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6512-6513/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทจำกัดสิทธิอุทธรณ์ฎีกา แม้มีเหตุผลด้านการดำเนินการของศาล
สำนวนแรกโจทก์ที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันใช้เงินจำนวน 173,143 บาท และโจทก์ที่ 2 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันใช้เงินจำนวน 148,132 บาทส่วนสำนวนหลังจำเลยที่ 3 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์กับจำเลยที่ 4ร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแก่จำเลยที่ 3เป็นเงิน 37,006 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีแรก และคดีหลังพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันชำระเงิน37,006 บาท แก่จำเลยที่ 3 สำนวนแรกทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท คู่ความจึงถูกห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ส่วนสำนวนหลังทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คู่ความจึงถูกห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ปล่อยปละละเลยหรือไม่สนใจในการดำเนินคดีตามที่ศาลได้วินิจฉัย แต่ติดขัดเพราะการดำเนินการขอคัดถ่ายเอกสารอันเป็นการจัดระเบียบบริหารงานธุรการของศาล เป็นการนอกเหนืออำนาจโจทก์ที่จะดำเนินการก้าวล่วงได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอให้อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นภายในเวลาที่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตามลำดับกำหนดเป็นอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง
แม้อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์เป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกามาพิจารณาว่าจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระภิกษุมีอำนาจฟ้องขับไล่: การยกทรัพย์ให้ไม่ถือเป็นการเรียกร้องมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินที่โจทก์ได้รับการยกให้จาก ล. จำเลยต่อสู้คดีว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยและบิดาจำเลย คดีมีประเด็นเฉพาะบ้านพิพาท ซึ่งคู่ความตีราคาไว้ 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ป.พ.พ.มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล.มีชีวิตอยู่ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระภิกษุมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้ แม้ได้รับการยกทรัพย์สินให้ขณะเจ้าของยังมีชีวิต ไม่ใช่การเรียกร้องมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินที่โจทก์ได้รับการยกให้ จาก ล. จำเลยต่อสู้คดีว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยและบิดาจำเลยคดีมีประเด็นเฉพาะบ้านพิพาท ซึ่งคู่ความตีราคาไว้ 200,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล. มีชีวิตอยู่โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะบุตรผู้เยาว์: ข้อจำกัดการฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูของบุตรผู้เยาว์ทั้งสาม ในฐานะเป็นบุตรผู้เยาว์ของนาง ต. ผู้ตาย จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสามควรได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องแยกพิจารณาเป็นรายบุคคลไป ดังนี้ เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาสำหรับบุตรผู้เยาว์แต่ละคนของนาง ต. ไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7979/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยค่ามัดจำที่จำเลยไม่โต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ และศาลวินิจฉัยค่าเสียหายพิเศษได้ตามวัตถุแห่งฟ้อง
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 136,000 บาท และคืนเงินค่ามัดจำอีก 81,000 บาท รวมแล้วเป็นเงิน 217,000 บาท และให้โจทก์รับผิดชำระเงินให้จำเลย 122,820 บาท เมื่อหักกลบแล้วให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ 94,180 บาท ซึ่งในส่วนค่ามัดจำจำนวน 81,000 บาท จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงถือว่าเรื่องเงินค่ามัดจำดังกล่าวได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องค่าเสียหาย 136,000 บาท และค่ามัดจำอีก 81,000 บาท รวมเป็น 217,000 บาท ฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่ามัดจำดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่อาจรับไว้วินิจฉัยได้ ฉะนั้นทุนที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงเป็นเงินเพียง 136,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
แม้ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า โจทก์ได้แจ้งข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ แต่ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าเสื้อแจกเกตที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองตัดเย็บนั้นเพื่อจะนำไปขายให้แก่บริษัท บ. พร้อมทั้งระบุข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายอันเกิดจากการส่งมอบสินค้ามีตำหนิหรือไม่ถูกต้องตามแบบ กรณีจึงเป็นเรื่องที่ฝ่ายจำเลยคาดเห็นหรือควรจะได้ความเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาทุนทรัพย์ฟ้องแย้งเพื่อวินิจฉัยสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง และประเด็นความประมาทในการซ่อมรถ
การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาว่าจะฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาส่วนของฟ้องแย้งต่างหากจากส่วนของฟ้องเดิม เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาในส่วนของฟ้องแย้งไม่เกิน 200,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์พิพาทน้อยกว่าสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลยพินิจศาล
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องอ้างว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่จำเลยบุกรุกแย่งการครอบครอง กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 20 เมตร หรือประมาณ 2.5ตารางวา โดยโจทก์ตีราคาที่ดินพิพาทตารางวาละ 91,000 บาท และเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์ 227,500 บาท ก็ตาม แต่ตามแผนที่วิวาทที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายพิพาทกันมีเนื้อที่เพียง 1.5 ตารางวา คิดเป็นเงิน 136,500 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลยพินิจของศาลอุทธรณ์
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องอ้างว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่จำเลยบุกรุกแย่งการครอบครอง กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 20 เมตร หรือประมาณ 2.5 ตารางวา โดยโจทก์ตีราคาที่ดินพิพาทตารางวาละ 91,000 บาท และเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์ 227,500 บาท ก็ตาม แต่ตามแผนที่พิพาทที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายพิพาทกันมีเนื้อที่เพียง 1.5 ตารางวา คิดเป็นเงิน 136,500 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514-3515/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, ภาระจำยอม, และสถานะผู้ครอบครอง
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา เมื่อปรากฏว่าคดีสำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และผลแห่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในสำนวนหลังด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว
ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514-3515/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่าเกณฑ์ และสิทธิการฟ้องร้องทางภารจำยอมของผู้เช่า
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา เมื่อปรากฏว่าคดีสำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และผลแห่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในสำนวนหลังด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว
ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว
of 32