พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้เฉพาะตัว ทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้จำเลยชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลา 18 ปี นานเกินไปไม่เหมาะสมกับความเสียหาย ถือว่าเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์รายบุคคลสำคัญกว่ารวมทั้งหมด ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งหกในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งหก จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งหกฟ้องให้ได้กลับคืนมาซึ่งทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งหก เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท ซึ่งแม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องรวมกันมา แต่การอุทธรณ์ฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะโจทก์ยื่นฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2562 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7628/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และการครอบครองที่ดินในนิคมสร้างตนเอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท กับส่งมอบที่ดินคืนและชำระค่าเสียหาย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และในการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาดังกล่าว ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงก่อนว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือครอบครองแทนจำเลยที่ 1 และต้องพิจารณาว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องมีคุณสมบัติกับปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 รวมทั้งระเบียบของนิคมสร้างตนเองคลองน้ำใสหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปได้ เป็นฎีกาที่จะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ฎีกาของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8532/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ที่พิพาท
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ทำสัญญาทั้งสามฉบับขึ้นในคราวเดียวกันเพื่อให้จำเลยรับสภาพหนี้มิได้มีเจตนาให้เป็นสัญญาตามแบบ ไม่ใช่ตราสารที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการกู้ยืมเงินได้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย แม้โจทก์จะฎีกาว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินรวมจำนวน 210,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนถึงวันชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ฉบับที่ 1 จำนวน 65,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนถึงวันชำระเสร็จแก่โจทก์แล้ว ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวน 145,000 บาท ต้องห้ามไม่ให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6948/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและการแบ่งทรัพย์มรดกโดยทายาท การฟ้องแย่งทรัพย์มรดกเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่
คดีนี้ โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1424 ให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละหนึ่งในเจ็ดส่วน และขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แบ่งแยกที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1425 ให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละหนึ่งในเจ็ดส่วน เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิฟ้องเรียกส่วนแบ่งที่ดินแต่ละแปลงจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เฉพาะตัว โจทก์แต่ละคนชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยลำพังเป็นรายแปลง แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องคดีรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกเป็นรายแปลง เมื่อที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1424 มีราคา 955,960 บาท ที่ดินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องคนละหนึ่งในเจ็ดส่วน จึงเป็นเงินคนละ 136,565.71 บาท ส่วนที่ดินหนังสือรับรองการกระทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1425 มีราคา 925,000 บาท ที่ดินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องคนละหนึ่งในเจ็ดส่วน จึงเป็นเงินคนละ 132,142.86 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนแยกเป็นรายแปลงจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องคดีนี้ ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า การที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ให้ถ้อยคำตามบันทึกถ้อยคำไม่ขอรับมรดก เอกสารหมาย จ.8 และ จ.9 หรือเอกสารหมาย ล.4 และ ล.5 ว่า ไม่มีความประสงค์ขอรับโอนมรดกที่ดินทั้งสองแปลงนั้น เพื่อให้ใส่ชื่อ ส. บิดาของโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ถือแทนส่วนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ด้วยนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10288/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกิน 2 แสน และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องชอบแล้ว
การที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิดในกรณีสินค้าที่จำเลยรับขนส่งสูญหายในขณะที่จำเลยขับรถประสบอุบัติเหตุตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 616 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่ามีสินค้าที่จำเลยรับขนสูญหายจริง ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน สองแสนบาท และไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเข้าร่วมรับจ้างขนสินค้ากับโจทก์และต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่จำเลยรับขนเนื่องจากการขับรถโดยประมาทเลินเล่อ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ ความรับผิดในฐานะผู้ขนสินค้า มิใช่ขอให้รับผิดในฐานะเป็นผู้กระทำละเมิด แม้ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้กระทำละเมิด ก็เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์ที่ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในข้อนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยโดยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเข้าร่วมรับจ้างขนสินค้ากับโจทก์และต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่จำเลยรับขนเนื่องจากการขับรถโดยประมาทเลินเล่อ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ ความรับผิดในฐานะผู้ขนสินค้า มิใช่ขอให้รับผิดในฐานะเป็นผู้กระทำละเมิด แม้ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้กระทำละเมิด ก็เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์ที่ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในข้อนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยโดยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดวงฎีกาตามทุนทรัพย์ - ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนของโจทก์ที่ 1 และ 3 เนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้รวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์แยกกัน ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 62,650 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 56,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 148,893 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 133,000 บาท แก่โจทก์ที่ 3 ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จึงไม่เกินคนละ 200,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในส่วนของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลชั้นต้นรับฎีกาจำเลยในส่วนของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย