พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานชิงทรัพย์ต้องสอดคล้องกับคำฟ้อง หากคำฟ้องบรรยายเฉพาะชิงทรัพย์ด้วยอาวุธ การลงโทษฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายจึงไม่ชอบ
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกรรม คือ ชิงทรัพย์กรรมหนึ่งแล้วจึงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่ง โจทก์หาได้บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจไม่ คำฟ้องของโจทก์เพียงแต่บรรยายว่าจำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหายโดยมีอาวุธ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง เท่านั้น จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ประกอบมาตรา 340 ตรี และวางโทษตามมาตราดังกล่าว จึงยังไม่ถูกต้อง และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15732/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ใช้/สนับสนุนการกระทำความผิด: การชิงทรัพย์เกินเลยขอบเขตที่ใช้
จำเลยที่ 2 อ้างว่า ผู้เสียหายเป็นหนี้แล้วไม่จ่าย ขอให้จำเลยที่ 1 จัดการกับผู้เสียหายโดยวิธีใดก็ได้ให้ผู้เสียหายไปอยู่ที่อื่น หรือหายไปจากโลกได้ยิ่งดีแล้วจะมีรางวัลให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท ข้อความดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยที่ 2 ใช้จำเลยที่ 1 ไปทำให้ผู้เสียหายเกรงกลัวไม่อาจใช้ชีวิตอยู่ในที่อยู่อาศัยจนต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือฆ่าผู้เสียหายอันเป็นผลกระทบต่อจิตใจและชีวิตของผู้เสียหายเท่านั้น มิได้มุ่งประสงค์ต่อผลในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์ของผู้เสียหาย จึงมิได้มีเจตนาให้จำเลยที่ 1 ไปชิงทรัพย์ผู้เสียหาย การที่จำเลยที่ 1 ไปชิงทรัพย์ผู้เสียหายย่อมเกินไปจากขอบเขตที่จำเลยที่ 2 ใช้ และโดยพฤติการณ์จำเลยที่ 2 ไม่อาจเล็งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะไปชิงทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับผู้อื่นชิงทรัพย์ผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา 87 วรรคแรก และไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 จ้างวานให้จำเลยที่ 1 ก่อเหตุคดีนี้ โจทก์หาได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 จ้างวานให้จำเลยที่ 1 ก่อเหตุคดีนี้ โจทก์หาได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15518/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์, กรรโชกทรัพย์, และความผิดต่อเสรีภาพ: การกระทำผิดฐานชิงทรัพย์และกรรโชกทรัพย์โดยมีองค์ประกอบของการข่มขู่และหน่วงเหนี่ยว
จำเลยกับพวกร่วมกันกระชากตัวโจทก์ร่วมลงจากรถแท็กซี่และรุมทำร้ายโจทก์ร่วม แล้วนำตัวโจทก์ร่วมขึ้นรถกระบะแล่นออกไปยังบ่อปลาแห่งหนึ่งโดยระหว่างที่อยู่ในรถกระบะจำเลยกับพวกทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมตลอดทางโดยใช้ขวดเบียร์และท่อนเหล็กเป็นอาวุธ และจำเลยได้ล้วงเงิน 10,000 บาท ของโจทก์ร่วมไป เมื่อจำเลยกระทำความผิดโดยมีอาวุธในเวลากลางคืนและใช้ยานพาหนะ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 335 (1) (7), 340 ตรี
การที่จำเลยและ น. เรียกร้องเงินจำนวน 23,000 บาท เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวโจทก์ร่วม โดยจำเลยเชื่อว่าโจทก์ร่วมโกงเงิน น. ย่อมเป็นเพียงความเชื่อของจำเลย หาเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมเป็นหนี้ น. ไม่ ดังนั้น เงินจำนวน 23,000 บาท ที่จำเลยเรียกร้องเพื่อแลกกับการปล่อยตัวโจทก์ร่วมจึงเป็นค่าไถ่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 313 วรรคแรก
อนึ่ง เนื่องจากจำเลยจัดให้โจทก์ร่วมได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาโดยโจทก์ร่วมมิได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต จึงลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 316
การที่จำเลยและ น. เรียกร้องเงินจำนวน 23,000 บาท เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวโจทก์ร่วม โดยจำเลยเชื่อว่าโจทก์ร่วมโกงเงิน น. ย่อมเป็นเพียงความเชื่อของจำเลย หาเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมเป็นหนี้ น. ไม่ ดังนั้น เงินจำนวน 23,000 บาท ที่จำเลยเรียกร้องเพื่อแลกกับการปล่อยตัวโจทก์ร่วมจึงเป็นค่าไถ่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 313 วรรคแรก
อนึ่ง เนื่องจากจำเลยจัดให้โจทก์ร่วมได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาโดยโจทก์ร่วมมิได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต จึงลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 316
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12564/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการชิงทรัพย์: ความผิดฐานสนับสนุนแม้ไม่มีส่วนร่วมโดยตรง แต่รู้เห็นการกระทำผิด
ขณะเกิดเหตุช่วงแรกที่จำเลยที่ 1 ขอโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายนั้น จำเลยที่ 2 นั่งอยู่ที่ม้าหินอ่อนหันหลังให้ผู้เสียหายและขณะที่ผู้เสียหายยื้อแย่งโทรศัพท์มือถือกับจำเลยที่ 1 และถูกจำเลยที่ 1 ผลักอก ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีท่าทีลุกขึ้นมาช่วยเหลือจำเลยที่ 1 หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 พูดจาข่มขู่ผู้เสียหายให้ยอมทำตามคำขอของจำเลยที่ 1 และก่อนเกิดเหตุไม่นานขณะจำเลยที่ 1 ไปพูดขอยืมรถจักรยานยนต์จากผู้เสียหายที่ร้านเกม ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มากับจำเลยที่ 1 ด้วย แม้จำเลยที่ 2 ช่วยถอดซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ถอด ตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ร่วมคบคิดกับจำเลยที่ 1 วางแผนชิงทรัพย์โทรศัพท์มือถือจากผู้เสียหายหรือไม่ แต่การที่จำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุและใกล้ชิดกับเหตุการณ์ย่อมต้องได้ยินคำพูดโต้ตอบระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ว่า ผู้เสียหายไม่ยอมให้จำเลยที่ 1 ยืมโทรศัพท์มือถือและขอโทรศัพท์มือถือคืนจากจำเลยที่ 1 รวมทั้งเห็นผู้เสียหายยื้อแย่งโทรศัพท์มือถือคืนจากจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เอาโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายไปโดยมิชอบ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมคืนโทรศัพท์มือถือให้ผู้เสียหาย และเมื่อถูกผู้เสียหายยื้อแย่ง จำเลยที่ 1 ส่งโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายให้จำเลยที่ 2 รับไว้ จากนั้นจำเลยทั้งสองวิ่งขึ้นรถจักรยานยนต์ขับหลบหนีไป ถือเป็นการให้ความช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยที่ 1 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อพาทรัพย์นั้นไป ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดดังกล่าวได้เพราะโทษเบากว่าความผิดฐานเป็นตัวการ จึงมิได้เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องชิงทรัพย์ แม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธปืนสั้นชิงทรัพย์สร้อยคอทองคำราคา 7,000 บาท พระเครื่องเลี่ยมทองคำราคา 1,800 บาท โทรศัพท์เคลื่อนที่ราคา 4,000 บาท กระเป๋าสตางค์ราคา 1,300 บาท ภายในบรรจุบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ บัตรเอทีเอ็ม ธนบัตร 4,400 บาท รวมเป็นเงิน 18,100 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อาวุธปืนยิงให้ตายหากขัดขืน เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์และให้พ้นจากการจับกุม อันเป็นการกล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุชื่อผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์องค์ประกอบแห่งความผิดดังกล่าวอยู่ที่การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ซึ่งเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตย่อมเข้าใจได้ว่าจำเลยลักเอาทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของไปโดยทุจริต เช่นนี้ฟ้องของโจทก์จึงระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้แล้ว โดยไม่จำต้องระบุชื่อผู้เสียหาย มิฉะนั้นหากไม่ทราบชื่อของผู้เสียหายก็จะทำให้ไม่มีทางที่จะฟ้องคดีในความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์ได้ซึ่งไม่ใช่เป็นเจตนารมณ์ของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์ vs. ชิงทรัพย์: การแย่งกระเป๋าและโทรศัพท์มือถือ
การที่จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นกรรมหนึ่งต่างหากและขาดตอนไปแล้ว ต่อมาผู้เสียหายจะหยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกระเป๋าถือเพื่อโทรศัพท์ติดต่อสามี จำเลยแย่งกระเป๋าถือแล้วเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่กับเงิน 9,000 บาท ในกระเป๋าถือไป และทิ้งกระเป๋าถือไว้ใต้ถุนบ้าน พฤติการณ์แห่งคดีอาจเป็นไปได้ว่าจำเลยกระทำไปเพียงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เสียหายใช้โทรศัพท์ติดต่อกับสามี คดีจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตในการเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานลักหรือชิงโทรศัพท์มือถือ ส่วนเงิน 9,000 บาท เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ จำเลยจึงคืนให้ 8,000 บาท ส่วนอีก 1,000 บาท จำเลยไม่ยอมคืนจนกว่าผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ทั้ง ๆ ที่จำเลยไม่มีสิทธิเอาเงินไปและไม่มีเหตุผลให้รับฟังได้ว่าจำเลยเอาเงินไปเพียงเพราะโกรธผู้เสียหาย กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนาให้รับฟังได้ว่า จำเลยกระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง จำเลยจึงมีเจตนาทุจริตอันเข้าองค์ประกอบความผิดฐานลักเงินดังกล่าวแล้ว แต่การที่จำเลยดึงกระเป๋าถือโดยยื้อแย่งกันจนสายกระเป๋าขาดติดมือผู้เสียหายโดยไม่ได้ผลักผู้เสียหาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหาย จำเลยไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การกระทำเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองรวมอยู่ในข้อหาชิงทรัพย์ แม้โจทก์ฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์มาศาลย่อมลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9802/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: ศาลยืนตามศาลล่าง ผู้เสียหายจำได้แม้สภาพแสงไม่ดี
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองและร่วมกันพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกในแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำเลยมิอาจอ้างเหตุใหม่นอกเหนือจากที่ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์และยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดด้วย ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายตามฟ้อง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายจึงเป็นอันยุติ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยและพิพากษาแก้เฉพาะบทจากความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นปล้นทรัพย์ มิได้แก้ไขโทษ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เกินห้าปี แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิฎีกาได้เฉพาะในปัญหาว่าจำเลยที่ 3 มิได้ร่วมกระทำความผิดด้วยอันจะทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยที่ 1 จะหวนกลับมาใช้สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายอีกไม่ได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานทำร้ายร่างกาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นโทษในความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นโทษในความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากการสอบสวนก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 และการรับฟังพยานบอกเล่า
พนักงานสอบสวนสอบคำให้การจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2542 ก่อน ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 ที่แก้ไขเพิ่มเติม โดย ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มีผลใช้บังคับ จึงเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่ต้องสอบถามจำเลยทั้งสองในฐานะผู้ต้องหาว่าต้องการทนายความหรือไม่ก่อนเริ่มถามคำให้การจำเลยทั้งสองตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ บันทึกคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6354/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขู่เข็ญด้วยอาวุธเพื่อชิงทรัพย์เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 339 วรรคสอง แม้ไม่มีการทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยใช้อาวุธมีดจี้ที่เอวด้านหลังของผู้เสียหาย เป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป ครบองค์ประกอบความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสองแล้ว หาจำต้องมีการประทุษร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายแต่อย่างใดไม่