พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบบริษัทจำกัดและการสิทธิประโยชน์เงินทดแทนตามกฎหมาย การนำระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบเดิมมาคำนวณต่อเนื่อง
การตั้งบริษัทจำกัดเกิดขึ้นโดยอาศัย ป.พ.พ. บรรพ 3 หมวด 4 ผลการควบบริษัทจำกัดเข้ากันจึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. เช่นเดียวกัน ซึ่งมาตรา 1243 บัญญัติว่า บริษัทใหม่นี้ย่อมได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ผู้เป็นนายจ้างและลูกจ้าง จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาใช้บังคับด้วย จะใช้บังคับเพียง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 และประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ฉบับลงวันที่ 12 กันยายน 2537 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติการจัดตั้งบริษัทจำกัดและการควบบริษัทจำกัดเข้ากันหาได้ไม่ และการที่ไม่นำ ป.พ.พ. มาใช้บังคับจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่โจทก์โดยไม่เป็นธรรม และเนื่องจากโจทก์เกิดจากการควบบริษัทจำกัดเข้ากันโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงประเภทกิจการและจำเลยทั้งสองยังคงกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ตามรหัสเดิมก่อนการควบเข้ากัน ทั้งไม่ปรากฏว่าการควบบริษัทและการเพิ่มจำนวนลูกจ้างกรณีนี้ทำให้มีความเสี่ยงภัยสูงขึ้น หรือโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย โจทก์จึงสามารถนำระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบของบริษัทเดิมก่อนการควบรวมบริษัทมาคำนวณระยะเวลาต่อเนื่องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเงินทดแทนและผลกระทบการควบกิจการต่ออัตราเงินสมทบ
แม้กองทุนเงินทดแทนจะไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์ฟ้องระบุชื่อสำนักงานประกันสังคมซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเข้ามาเป็นจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
โจทก์เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นจากการควบกิจการระหว่าง 10 บริษัทตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 แม้ในการควบกิจการดังกล่าวทั้ง 10 บริษัทเดิมจะหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคล และโจทก์ซึ่งเกิดจากการควบกันย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทเหล่านั้นทั้งหมดตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 152 และมาตรา 153 ก็ตาม แต่ 10 บริษัทดังกล่าวต่างมีลักษณะการประกอบกิจการและรหัสกิจการสำหรับการประเมินเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่หลากหลายแตกต่างกัน มิได้มีลักษณะการประกอบกิจการและรหัสกิจการที่เหมือนกับโจทก์เสียทีเดียว ทั้งการควบกิจการนี้ยังทำให้ลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์อันเกิดจากการควบกิจการระหว่าง 10 บริษัทดังกล่าวระคนปนกันไปจนไม่อาจแยกออกจากกันได้ กรณีจึงไม่อาจนำอัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ของ 10 บริษัทดังกล่าวก่อนการควบกิจการมาใช้เป็นส่วนลดอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนของโจทก์ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 45 และประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2537 ข้อ 15 กับตารางที่ 2 แนบท้ายประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ได้
เมื่ออัตราเงินสมทบ หมวด 1600 ประเภทกิจการอื่นๆ รหัส 1601 สถาบันการเงิน สถาบันการประกันภัย สถาบันการศึกษา สถาบันการวิจัย การบริหารเกี่ยวกับกฎหมาย บัญชี หรือบริการด้านธุรกิจ อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.2 ของค่าจ้างนั้นใช้สำหรับการประเมินเงินสมทบในประเภทกิจการที่เป็นวัตถุประสงค์หลักในการประกอบกิจการของนายจ้าง แม้โจทก์จะอ้างว่ากิจการของโจทก์มีลูกจ้างทำงานในสำนักงานด้วย แต่เมื่อโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการผลิต จำหน่ายอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารและถนอมอาหาร ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบกิจการประเภทดังกล่าวข้างต้น จึงไม่อาจปรับเข้ารหัส 1601 ได้
โจทก์เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นจากการควบกิจการระหว่าง 10 บริษัทตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 แม้ในการควบกิจการดังกล่าวทั้ง 10 บริษัทเดิมจะหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคล และโจทก์ซึ่งเกิดจากการควบกันย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทเหล่านั้นทั้งหมดตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 152 และมาตรา 153 ก็ตาม แต่ 10 บริษัทดังกล่าวต่างมีลักษณะการประกอบกิจการและรหัสกิจการสำหรับการประเมินเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่หลากหลายแตกต่างกัน มิได้มีลักษณะการประกอบกิจการและรหัสกิจการที่เหมือนกับโจทก์เสียทีเดียว ทั้งการควบกิจการนี้ยังทำให้ลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์อันเกิดจากการควบกิจการระหว่าง 10 บริษัทดังกล่าวระคนปนกันไปจนไม่อาจแยกออกจากกันได้ กรณีจึงไม่อาจนำอัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ของ 10 บริษัทดังกล่าวก่อนการควบกิจการมาใช้เป็นส่วนลดอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนของโจทก์ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 45 และประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2537 ข้อ 15 กับตารางที่ 2 แนบท้ายประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ได้
เมื่ออัตราเงินสมทบ หมวด 1600 ประเภทกิจการอื่นๆ รหัส 1601 สถาบันการเงิน สถาบันการประกันภัย สถาบันการศึกษา สถาบันการวิจัย การบริหารเกี่ยวกับกฎหมาย บัญชี หรือบริการด้านธุรกิจ อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.2 ของค่าจ้างนั้นใช้สำหรับการประเมินเงินสมทบในประเภทกิจการที่เป็นวัตถุประสงค์หลักในการประกอบกิจการของนายจ้าง แม้โจทก์จะอ้างว่ากิจการของโจทก์มีลูกจ้างทำงานในสำนักงานด้วย แต่เมื่อโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการผลิต จำหน่ายอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารและถนอมอาหาร ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบกิจการประเภทดังกล่าวข้างต้น จึงไม่อาจปรับเข้ารหัส 1601 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13962/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบรวมบริษัทและการประเมินเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน: ฐานะนายจ้างใหม่
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 45 ให้ความสำคัญเรื่องการเรียกเก็บเงินสมทบโดยคำนึงถึงตัวนายจ้างเป็นหลัก หากข้อเท็จจริงจากตัวนายจ้างเปลี่ยนแปลงไปย่อมทำให้การประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบจากนายจ้างเปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อโจทก์เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือเดียวกันเข้าด้วยกันและก่อนควบรวมกิจการบริษัททั้ง 7 แห่งต่างก็มีฐานะเป็นนายจ้างแยกจากกันซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แยกประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบแยกกันไปตามรายกิจการ เมื่อบริษัททั้ง 7 มาควบรวมกิจการกันเป็นบริษัทใหม่ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวนายจ้างของแต่ละบริษัทเปลี่ยนแปลงไป ต้องถือว่าบริษัทโจทก์ที่จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นใหม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลใหม่และเป็นนายจ้างใหม่ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ใหม่ด้วย เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนในอัตราเงินสมทบร้อยละ 0.40 ของค่าจ้าง การที่โจทก์จะขอนำระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบของบริษัทในเครือมารวมคำนวณเพื่อขอลดอัตราดังกล่าวเพื่อชำระเงินสมทบน้อยลงย่อมไม่ชอบ ทั้งการควบรวมบริษัทในเครือเข้าด้วยกันก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของโจทก์ในการดำเนินธุรกิจ มิใช่เพื่อประโยชน์ของลูกจ้างโดยตรง และวิธีการในการประเมินเงินสมทบได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วใน พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 โจทก์จะยกอ้างเอาสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1243 ซึ่งเป็นหลักทั่วไปมาปรับใช้แก่กรณีของโจทก์หาได้ไม่