พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3341/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์และการบังคับให้โอนสิทธิ แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอเดิม ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
เดิมฟ้องโจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยถอนการระงับการย้ายโทรศัพท์หมายเลจพิพาท ต่อมาโจทก์ขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยจัดการโอนโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว ดังนี้เมื่อคดีฟังได้ตามฟ้องโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับจำเลยตามคำขอเดิมของโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโดยให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องที่เพิ่มเติมใหม่เพื่อให้ถูกต้องได้
จำเลยขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยให้แก่โจทก์และรับเงินจากโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้.
จำเลยขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยให้แก่โจทก์และรับเงินจากโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก & การละเมิดจากทายาท การครอบครองทรัพย์มรดกโดยไม่ยินยอม
ในระหว่างจัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นได้ ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 จำเลยและบริวารเข้าครอบครองอาคารพิพาทโดยทายาทอื่นมิได้ยินยอม ทำให้ทายาทอื่นขาดผลประโยชน์จากการใช้อาคาร จึงเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะเป็นทายาทคนหนึ่ง จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์จากทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นของตนแต่ผู้เดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ และการละเมิดสิทธิในทรัพย์มรดก
ในระหว่างจัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นได้ ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 จำเลยและบริวารเข้าครอบครองอาคารพิพาทโดยทายาทอื่นมิได้ยินยอม ทำให้ทายาทอื่นขาดผลประโยชน์จากการใช้อาคาร จึงเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะเป็นทายาทคนหนึ่ง จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์จากทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นของตนแต่ผู้เดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีล้มละลาย: จำนวนหนี้ต่ำกว่าสองหมื่นบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
กรณีที่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153 การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยถึงแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีล้มละลาย: จำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น
กรณีที่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153 การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยถึงแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและแพ่ง
ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ให้ลดค่าปรับเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา198 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องของผู้ประกันในกรณีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นลดค่าปรับโดยอ้างเหตุเดิมอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของผู้ประกันฉบับหลังว่า ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในประเด็นที่ศาลตัดสินแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำที่กฎหมายห้าม
ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ให้ลดค่าปรับ เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องของผู้ประกันในกรณีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นลดค่าปรับโดยอ้างเหตุเดิมอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของผู้ประกันฉบับหลังว่า ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเช็ค: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานความพร้อมทางการเงินของจำเลยเป็นสาระสำคัญในการพิสูจน์ความผิด
อุทธรณ์ของโจทก์ที่เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ของโจทก์ในการรับฟังข้อเท็จจริงว่า คดีโจทก์มีมูลนั้น มิได้ทำให้ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป คดียังคงมีปัญหาว่า ฟ้องของโจทก์มีมูลหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแล้วเห็นว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบ (ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) ให้ปรากฏว่า วันที่เช็คถึงกำหนดจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายเงินตามเช็คพิพาทได้หรือไม่ หรือบัญชีของจำเลยปิดแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลนั้น เหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการเพียงพอแล้วที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยหักล้างเหตุผลที่โจทก์แสดงต่อศาลอุทธรณ์เพราะเหตุผลนั้นไม่เป็นสาระ ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยหักล้างอุทธรณ์ของโจทก์หรือยกเหตุผลอื่นขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ตรงตามที่โจทก์อุทธรณ์ และการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแม้จะให้เหตุผลแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์มูลคดีเช็ค: ศาลอุทธรณ์พิจารณาจากเงินในบัญชีผู้สั่งจ่าย ณ วันเช็คถึงกำหนด
อุทธรณ์ของโจทก์ที่เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นต่างๆของโจทก์ในการรับฟังข้อเท็จจริงว่าคดีโจทก์มีมูลนั้นมิได้ทำให้ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไปคดียังคงมีปัญหาว่าฟ้องของโจทก์มีมูลหรือไม่เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่ได้นำสืบ(ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง)ให้ปรากฏว่าวันที่เช็คถึงกำหนดจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายเงินตามเช็คพิพาทได้หรือไม่หรือบัญชีของจำเลยปิดแล้วหรือไม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญของคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลนั้นเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการเพียงพอแล้วที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยหักล้างเหตุผลที่โจทก์แสดงต่อศาลอุทธรณ์เพราะเหตุผลนั้นไม่เป็นสาระไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปการที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจแัยหักล้างอุทธรณ์ของโจทก์หรือยกเหตุผลอื่นขึ้นวินิจฉัยจึงไม่ใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ตรงตามที่โจทก์อุทธรณ์และการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแม้จะให้เหตุผลแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขนส่งทางทะเล, การจำกัดความรับผิด, และผลของสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นบริษัทในต่างประเทศ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพเป็นกิจการของจำเลย จึงเป็นสาขาของจำเลย เมื่อสาขาดังกล่าวมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และได้ร่วมกระทำการ ในการขนส่งสินค้ารายพิพาท จึงถือว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของสายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรคสอง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ก็หาทำให้ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง จะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัดความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบเพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็นสาระสำคัญก็ได้หา เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ก็หาทำให้ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง จะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัดความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบเพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็นสาระสำคัญก็ได้หา เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่