คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 242

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขนส่งทางทะเล, การจำกัดความรับผิด, และผลของสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นบริษัทในต่างประเทศ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพเป็นกิจการของจำเลย จึงเป็นสาขาของจำเลย เมื่อสาขาดังกล่าวมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และได้ร่วมกระทำการ ในการขนส่งสินค้ารายพิพาท จึงถือว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของสายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรคสอง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ก็หาทำให้ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง จะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัดความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบเพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็นสาระสำคัญก็ได้หา เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย และการรับฟังพยานเอกสารในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและเป็นผู้ลงชื่อในคำพิพากษาด้วยได้มีคำสั่งในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า"รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์" เพียงเท่านี้ไม่มีข้อความอื่นใดที่พอจะให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี จึงฟังไม่ได้ว่าได้มีการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ได้
เอกสารที่ทนายจำเลยใช้ถามค้านพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พยานโจทก์ได้ตรวจดูและรับรองความถูกต้องบางส่วน ทั้งเป็นเอกสารราชการที่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องแล้ว จำเลยมีอำนาจที่จะส่งศาลประกอบการถามค้านได้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเลยนำพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังประกอบการพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษาเฉพาะค่าขาดไร้อุปการะ ดอกเบี้ยยังคงมีผล
ในคดีละเมิด ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า แก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกัน ใช้เงิน 360,000 บาทแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แสดงว่าศาลฎีกาพิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินค่าขาดไร้อุปการะ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าสูงเกินไปเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยสำหรับเงินต้น ค่าขาดไร้อุปการะมิได้แก้ไขจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงิน 360,000 บาท ซึ่งเป็นค่าขาดไร้อุปการะด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการแก้ไขค่าขาดไร้อุปการะในคำพิพากษา: ดอกเบี้ยยังคงมีผล
ในคดีละเมิด ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า แก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกัน ใช้เงิน 360,000 บาทแก่โจทก์นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์แสดงว่าศาลฎีกา พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินค่าขาดไร้อุปการะ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าสูงเกินไปเท่านั้นส่วนดอกเบี้ยสำหรับเงินต้น ค่าขาดไร้อุปการะมิได้แก้ไขจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงิน 360,000 บาท ซึ่งเป็นค่าขาดไร้อุปการะด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นเขตที่ดินและหลังคาเรือนที่เคยตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว
ศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ไว้แล้วเห็นว่าเป็นฟ้องซ้ำจึงเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ เมื่อโจทก์อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามกฎหมายแต่ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดียังไม่เป็นการถูกต้องศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์ได้
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อน โจทก์จำเลยได้ตกลงกันถึงเขตที่ดินราชพัสดุที่โจทก์จำเลยเช่าและเรื่องหลังคาเรือนจำเลยว่าไม่รุกล้ำเข้าไปในส่วนที่โจทก์เช่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะกล่าวอ้างในคดีนี้อีกว่าจำเลยทำหลังคารุกล้ำเข้าไปในที่ดินราชพัสดุที่โจทก์เช่า ซึ่งเป็นการกระทำก่อนมีการฟ้องคดีก่อนย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 148
เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องแล้ว ไม่ว่าศาลจะสั่งคำฟ้องประการใดจำเลยย่อมเป็นคู่ความ และในกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งแม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิแก้อุทธรณ์ได้มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเดิมในคดีก่อนย่อมเป็นฟ้องซ้ำ แม้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ไว้แล้วเห็นว่าเป็นฟ้องซ้ำ จึงเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ เมื่อโจทก์อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดียังไม่เป็นการถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์ได้
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อน โจทก์จำเลยได้ตกลงกันถึงเขตที่ดินราชพัสดุที่โจทก์จำเลยเช่าและเรื่องหลังคาเรือนจำเลยว่าไม่รุกล้ำเข้าไปในส่วนที่โจทก์เช่า คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะกล่าวอ้างในคดีนี้อีกว่าจำเลยทำหลังคารุกล้ำเข้าไปในที่ดินราชพัสดุที่โจทก์เช่า ซึ่งเป็นการกระทำก่อนมีการฟ้องคดีก่อนย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 148
เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องแล้ว ไม่ว่าศาลจะสั่งคำฟ้องประการใดจำเลยย่อมเป็นคู่ความ และในกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิแก้อุทธรณ์ได้มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาตัดสินให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยขัดกับคำพิพากษาเดิม และขัดต่อพยานหลักฐานเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้พิจารณาพิพากษาใหม่ ในชั้นพิจารณาใหม่นี้ ศาลแรงงานกลางจะยกประเด็นที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาขึ้นวินิจฉัยอีกไม่ได้ ศาลแรงงานกลางยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบ
อุทธรณ์ว่าศาลวินิจฉัยคดีขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรอการลงโทษจำคุกเกินสองปี - กรณีรวมโทษหลายกระทง
จำเลยทำผิดต่อ พระราชบัญญัติป่าไม้ รวม4กระทง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกและปรับ แต่รอการลงโทษจำคุกไว้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้จำคุกสถานเดียว 4 กระทง โดยไม่รอการลงโทษ ตรงตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว จำเลยมิได้ฎีกาย่อมต้องบังคับคดีแก่จำเลยไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์ฎีกาว่าเมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยรวม 4 กระทงเกินกว่าสองปี ศาลจึงไม่มีอำนาจรอการลงโทษจำคุกได้ แม้จะวินิจฉัยฎีกาโจทก์ไปก็ไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลง ถือได้ว่าเป็นฎีกาที่ไม่มีประโยชน์อันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นผู้ทรงเช็ค: ข้อเท็จจริงในคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้เงิน ตามเช็คแก่โจทก์โดยฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า ศาลฎีกาพิพากษาคดีส่วนอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ดังนี้เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาวินิจฉัยใน คดีอาญาเพียงว่า จำเลยออกเช็คให้ อ. โดย อ. ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยไม่มีเงินในขณะออกเช็ค แม้เช็คดังกล่าวมาตกอยู่แก่โจทก์จำเลยก็ไม่มี ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คศาลฎีกามิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามคดีส่วนอาญาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฎีกาจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นผู้ทรงเช็ค: ศาลไม่ต้องยึดตามคำพิพากษาคดีอาญา หากไม่ได้วินิจฉัยถึงความเป็นผู้ทรง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำเลยใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ โดยฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่าศาลฎีกาพิพากษาคดีส่วนอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทว่า โจทก์มิใช่ผู้ทรงในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ดังนี้เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาวินิจฉัยในคดีอาญาเพียงว่า จำเลยออกเช็คให้ อ. โดย อ.ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยไม่มีเงินในขณะออกเช็ค แม้เช็คดังกล่าวมาตกอยู่แก่โจทก์จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ศาลฎีกามิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จะต้องฟ้องข้อเท็จจริงตามคดีส่วนอาญาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฎีกาจำเลย
of 27