พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาในคดีเช่าทรัพย์สิน: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีฟ้องเรียกค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์อันมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท และขอให้ขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 3 และต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การไม่ยกข้อเท็จจริง/กฎหมายชัดแจ้ง และการฟ้องร้องที่ไม่สุจริต
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยเพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ดังนี้ การที่จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ถูกต้องไม่สามารถจะทำได้ เพราะศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีให้เป็นไปตามลำดับชั้นของศาล
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ให้ชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร และจำเลยควรจะชนะคดีได้เพราะเหตุใด ทั้งข้อเท็จจริงที่กล่าวงอ้างไว้ในอุทธรณ์ก็ไม่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ให้ชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร และจำเลยควรจะชนะคดีได้เพราะเหตุใด ทั้งข้อเท็จจริงที่กล่าวงอ้างไว้ในอุทธรณ์ก็ไม่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยฎีกาฟังไม่ขึ้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยเพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ดังนี้ การที่จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ถูกต้องไม่สามารถจะทำได้ เพราะศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีให้เป็นไปตามลำดับชั้นของศาล
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ให้ชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไรและจำเลยควรจะชนะคดีได้เพราะเหตุใด ทั้งข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์ก็ไม่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ให้ชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไรและจำเลยควรจะชนะคดีได้เพราะเหตุใด ทั้งข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์ก็ไม่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ต้องอาศัยประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้ว และขอบเขตการฎีกาของจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุก ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่ดินโฉนดที่ 1174 ของบุตรจำเลย จำเลยมิได้ทำละเมิด และค่าเสียหายไม่ถึงจำนวนที่ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นที่ดินนอกโฉนดที่ 1174 และเป็นที่ดินของ ก. เมื่อ ก. ตายแล้วฝ่ายโจทก์ครอบครองตลอดมาจำเลยเพิ่งโต้แย้งการครอบครองไม่ถึง 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องเรียกคืนการครอบครอง โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของ ก. จึงมีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ฎีกาประเด็นที่ว่า ที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่1174 ของจำเลยหรือไม่ โจทก์ขาดสิทธิครอบครองและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เสียหายจริงแล้ว จำเลยคงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในประเด็นเรื่องละเมิดและค่าเสียหายเท่านั้น จะรื้อฟื้นประเด็นที่ยุติไปแล้วเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาต่อไปอีกหาได้ไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่สามารถรื้อฟื้นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วได้ และจำเลยร่วมไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุก ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่ดินโฉนดที่ 1174 ของบุตรจำเลย จำเลยมิได้ทำละเมิด และค่าเสียหายไม่ถึงจำนวนที่ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นที่ดินนอกโฉนดที่1174 และเป็นที่ดินของ ก. เมื่อ ก. ตายแล้วฝ่ายโจทก์ครอบครองตลอดมา จำเลยเพิ่งโต้แย้งการครอบครองไม่ถีง 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องเรียกคืนการครอบครอง โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของ ก. จึงมีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ฎีกา ประเด็นที่ว่าที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ 1174 ของจำเลยหรือไม่ โจทก์ขาดสิทธิครอบครองและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เสียหายจริงแล้ว จำเลยคงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในประเด็นเรื่องละเมิดและค่าเสียหายเท่านั้นจะรื้อฟื้นประเด็นที่ยุติไปแล้วเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาต่อไปอีกหาได้ไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นที่ฝ่ายชายอายุไม่ครบ 17 ปี ไม่เป็นโมฆะ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยเหตุเพราะจำเลยผิดสัญญาหมั้น จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1) ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานะเมิดจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดไปจากคำฟ้องของโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีเสียใหม่ ให้ถูกต้องตามประเด็นแห่งคดีได้
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 โดยฝ่ายชายมีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบ คือการสมรสที่ฝ่าฝืนผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445 ในเรื่องอายุทำนองเดียวกับมาตรา 1489 ก็มิได้บัญญัติให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับบัญญัติว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นมีอำนาจต้องขอต่อศาลได้ และไม่ได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งให้เพิกถอนโดยเด็ดขาดด้วย แต่ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนเสียก็ได้เท่านั้น คงมีแต่เฉพาะในเรื่องการผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(2),(3),(4) และ (5) เท่านั้นที่ให้ถือว่าเป็นโมฆะ
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 เป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ศาลล่างยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเสียเองโดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้จึงไม่ชอบ
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร. และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ร.ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสีย และมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 โดยฝ่ายชายมีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบ คือการสมรสที่ฝ่าฝืนผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445 ในเรื่องอายุทำนองเดียวกับมาตรา 1489 ก็มิได้บัญญัติให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับบัญญัติว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นมีอำนาจต้องขอต่อศาลได้ และไม่ได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งให้เพิกถอนโดยเด็ดขาดด้วย แต่ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนเสียก็ได้เท่านั้น คงมีแต่เฉพาะในเรื่องการผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(2),(3),(4) และ (5) เท่านั้นที่ให้ถือว่าเป็นโมฆะ
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 เป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ศาลล่างยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเสียเองโดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้จึงไม่ชอบ
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร. และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ร.ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสีย และมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นที่ฝ่ายชายอายุไม่ถึง 17 ปี และการเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายทางกายชื่อเสียง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยเหตุว่าเพราะจำเลยผิดสัญญาหมั้นจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439(1) ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดจากจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดไปจากคำฟ้องของโจทก์กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีเสียใหม่ให้ถูกต้องตามประเด็นแห่งคดีได้
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435โดยฝ่ายชายมีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบ คือ การสมรสที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(1) ในเรื่องอายุทำนองเดียวกัน มาตรา 1489 ก็มิได้บัญญัติให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับบัญญัติว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นมีอำนาจร้องขอต่อศาลได้ และไม่ได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งให้เพิกถอนโดยเด็ดขาดด้วย แต่ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนเสียก็ได้เท่านั้น คงมีแต่เฉพาะในเรื่องการผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(2)(3)(4)และ (5) เท่านั้นที่ให้ถือว่าเป็นโมฆะ
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 เป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ศาลล่างยกประเด็นนข้อนี้ขึ้นวินิจฉํยเสียเองโดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้จึงไม่ชอบ
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร.และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นร. ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสียง และมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435โดยฝ่ายชายมีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบ คือ การสมรสที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(1) ในเรื่องอายุทำนองเดียวกัน มาตรา 1489 ก็มิได้บัญญัติให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับบัญญัติว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นมีอำนาจร้องขอต่อศาลได้ และไม่ได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งให้เพิกถอนโดยเด็ดขาดด้วย แต่ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนเสียก็ได้เท่านั้น คงมีแต่เฉพาะในเรื่องการผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(2)(3)(4)และ (5) เท่านั้นที่ให้ถือว่าเป็นโมฆะ
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 เป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ศาลล่างยกประเด็นนข้อนี้ขึ้นวินิจฉํยเสียเองโดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้จึงไม่ชอบ
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร.และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นร. ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสียง และมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาที่ว่าบ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของผู้ร้องและพี่น้องอันจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหรือไม่นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้นไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 941/2512)ดังนั้น หากไม่เป็นปัญหาที่ได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้เสียโดยไม่วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ปัญหากรรมสิทธิ์ส่วนควบที่ไม่เคยยกขึ้นสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้น
ปัญหาที่ว่าบ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของผู้ร้องและพี่น้องอันจะตกเป็กรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหรือไม่นั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 941/2512) ดังนั้นหากไม่เป็นปัญหาที่ได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้เสียโดยไม่วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาสมรสและภาระการพิสูจน์ การยอมให้ศาลชี้ขาดเฉพาะค่าเสียหายมิใช่การสละข้อต่อสู้ทั้งหมด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาสมรส ขอให้คืนของหมั้นและใช้ค่าเสียหายค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส เงินรับไหว้และสร้อยคอที่โจทก์ที่ 2 ซื้อให้โจทก์ที่ 3 จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญาสมรส โจทก์มิได้เสียหายตามฟ้องวันชี้สองสถานคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า ในประเด็นค่าเสียหายทั้งหมดตามฟ้องโจทก์ฝ่ายจำเลยตกลงยอมให้ศาลชี้ขาดไปตามฟ้อง ตามสิทธิในกฎหมายโดยจำเลยสละข้อเท็จจริงซึ่งยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ ดังนี้ ถือว่าเฉพาะแต่ประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้นที่จำเลยยอมให้ศาลชี้ขาดไปได้ โดยจำเลยยอมสละข้อเท็จจริงที่ยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ประเด็นเรื่องผิดสัญญาสมรส จำเลยหาได้สละข้อต่อสู้อย่างใดไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาสมรส เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใดว่าโจทก์ยังติดใจสืบพยานในประเด็นข้อนี้อยู่และโจทก์ก็มิได้นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในฟ้องของตน จึงจะฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาสมรสมิได้
จำเลยได้กล่าวในอุทธรณ์แล้วว่า'คดีนี้โดยข้อเท็จจริงแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาสมรสแต่ประการใด' ฉะนั้น ในการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาสมรสหรือไม่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อโจทก์ผู้มีหน้าที่หรือภาระในการนำสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาสมรสตามฟ้องโจทก์หรือไม่ มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เลยศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกหน้าที่หรือภาระในการนำสืบพิสูจน์ของโจทก์ขึ้นกล่าวอ้างเป็นข้อยกฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ได้หาเป็นการเกินคำขอของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ไม่
จำเลยได้กล่าวในอุทธรณ์แล้วว่า'คดีนี้โดยข้อเท็จจริงแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาสมรสแต่ประการใด' ฉะนั้น ในการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาสมรสหรือไม่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อโจทก์ผู้มีหน้าที่หรือภาระในการนำสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาสมรสตามฟ้องโจทก์หรือไม่ มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เลยศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกหน้าที่หรือภาระในการนำสืบพิสูจน์ของโจทก์ขึ้นกล่าวอ้างเป็นข้อยกฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ได้หาเป็นการเกินคำขอของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ไม่