คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 242

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: ศาลไม่อนุญาตให้คิดค่าใช้ที่ดินหากฟ้องแต่ค่าเสียหายจากการรุกล้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นค่าเสียหายของโจทก์ โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจากจำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อโดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าใช้ที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายเนื่องจากโรงเรือนของจำเลยทั้งสองรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการพิพากษาให้ชดใช้ค่าใช้ที่ดินเป็นการนอกประเด็นฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้วจำเลยเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่า ไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอา เป็นค่าเสียหายของโจทก์โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดิน จากจำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อ โดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้าง โดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็น เรื่องค่าใช้ที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย เนื่องจากโรงเรือนของจำเลยรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบศาลฎีกาย่อม พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลย ชำระ ค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน ศาลฎีกาพิพากษายกประเด็นค่าเช่าที่ดิน หากฟ้องไม่ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นค่าเสียหายของโจทก์ โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจาก จำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อโดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าใช้ที่ดินการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายเนื่องจากโรงเรือนของจำเลยทั้งสองรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และข้อโต้แย้งเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
คดียังคงเหลือประเด็นต้องวินิจฉัยเฉพาะจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น แต่พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ระบุพยานเพิ่มเติมซึ่งเป็นพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้นำพยานหลักฐานเฉพาะต่อจำเลยที่ 2 มานำสืบสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เพราะเป็นพยานหลักฐานคนละส่วนกัน
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังบัญญัติไว้ในมาตรานี้เกิดขึ้นให้เชื่อไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องเสมอไปไม่ แม้เจ้าหนี้มิได้ทวงถามหรือการทวงถามไม่ชอบตามมาตรา 8 (9) ดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ นำสืบได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่ฟ้อง เจ้าหนี้ก็มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องตามคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องของจำเลยไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 โดยอ้างว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อปรากฏว่ากรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวมาตราใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งปัญหาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา ซึ่งจำเลยก็มิได้ ยื่นคำคัดค้านหรือฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาด้วย กรณีจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ ทั้งไม่มีเหตุที่จะส่ง คำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6588/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ไม่ชอบ
การที่ทนายโจทก์อ้างว่ามีอาการป่วยวิงเวียนศีรษะต้องจอดรถอาเจียนข้างถนนจึงทำให้มาถึงศาลช้าไปนั้นโจทก์ก็รับว่ามาศาลหลังเวลานัดสืบพยานโจทก์ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที และภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีไปแล้ว 10 นาที ถือว่าโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเป็นกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณา ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งบัญญัติบังคับให้ศาลสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความและเมื่อคำสั่งให้จำหน่ายคดีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่ง ศาลชั้นต้นได้ เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้จำหน่ายคดีของโจทก์ โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลจำหน่ายคดี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 แล้ว ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6588/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โดยมิชอบ
การที่ทนายโจทก์อ้างว่ามีอาการป่วยวิงเวียนศีรษะต้องจอดรถอาเจียนข้างถนนจึงทำให้มาถึงศาลช้าไปนั้น โจทก์ก็รับว่ามาศาลหลังเวลานัดสืบพยานโจทก์ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที และภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีไปแล้ว 10 นาที ถือว่าโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดจึงเป็นกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณา ซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง บัญญัติบังคับให้ศาลสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และเมื่อคำสั่งให้จำหน่ายคดีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นได้
เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้จำหน่ายคดีของโจทก์ โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลจำหน่ายคดี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 แล้ว ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิก่อนจำเลย ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
++ เรื่อง เครื่องหมายการค้า ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
โจทก์เป็นเจ้าของและเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า ORIENTEXPRESS มาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนของจำเลยคำว่า VENICESIMPLON - ORIENT - EXPRESS เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ORIENT EXPRESS ของจำเลย และเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนคือเครื่องหมายคำว่า ORIENT-EXPRESS ดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้ ตามบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2477 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้แล้วก็ตาม แต่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นการกระทำโดยนำเอาทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาจดทะเบียน โจทก์จึงไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิในทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อห้ามจำเลยจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศที่โจทก์ไม่ได้รับการจดทะเบียนไว้นั้น เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่โต้แย้งสิทธิกันระหว่างโจทก์กับจำเลย มิใช่การโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับบุคคลอื่นเมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนและยื่นขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลย ดังนี้แม้จะวินิจฉัยข้อฎีกาดังกล่าวของจำเลยให้ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อฎีกาดังกล่าวของจำเลยอีกต่อไป
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยรวม 19 ฉบับ และเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่184378 ของจำเลย กับห้ามจำเลยใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าORIENT EXPRESS อีกต่อไป และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้นั้น ปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยรวม19 ฉบับ และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ฉบับ โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยและเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยดังกล่าวดีกว่าจำเลย ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในกรณีนี้คือจำเลย หาใช่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยไม่ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาห้ามจำเลยใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ORIENT EXPRESS อีกต่อไปนั้น ปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ย่อมไม่อาจนำคดีมาสู่ศาลเพื่อฟ้องขอให้ห้ามผู้อื่นมิให้ใช้หรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นอันเป็นการฟ้องเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา29 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิได้ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหาทั้งสองดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้แบบพิมพ์คำร้องอุทธรณ์คำสั่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ศาลสั่งผิดพลาด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคท้ายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้การยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือ เอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงานคู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์นั้น และมาตรา 156 วรรคท้าย บัญญัติโดยชัดแจ้งให้การอุทธรณ์คำสั่งต้องทำเป็นคำร้อง ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง (แบบ 7)เท่านั้น หาใช่ต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งทั่วไปโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ไม่ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยก คำขอของจำเลยที่ขอฎีกาอย่างคนอนาถาโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง(แบบ 7) ตามที่ศาลจัดไว้ตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่ง จึงเป็นการใช้แบบพิมพ์ถูกต้องแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยจัดทำอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32)ย่อมเป็นการสั่งโดยผิดหลงและไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังกล่าว ทั้งต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับฎีกาและให้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลย เสียด้วย ก็เป็นการสั่งและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รูปแบบคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง: การใช้แบบพิมพ์ที่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 และ 156
ป.วิ.พ.มาตรา 67 วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้การยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงานคู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์นั้น..." และมาตรา 156วรรคท้าย บัญญัติโดยชัดแจ้งให้การอุทธรณ์คำสั่งต้องทำเป็นคำร้อง ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง(แบบ 7) เท่านั้นหาใช่ต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งทั่วไปโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ไม่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอของจำเลยที่ขอฎีกาอย่างคนอนาถาโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง (แบบ 7) ตามที่ศาลจัดไว้ตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งจึงเป็นการใช้แบบพิมพ์ถูกต้องแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 จัดทำอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ย่อมเป็นการสั่งโดยผิดหลงและไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา และให้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยที่ 1 เสียด้วยก็เป็นการสั่งและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งหมดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การขาดอายุความ จำเลยต้องแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความในคำให้การ มิเช่นนั้นถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องอย่างคดีมโนสาเร่ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 193 วรรคสอง บัญญัติให้จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับมาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 195 โดยจำเลย ต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการ ปฏิเสธนั้นด้วย แม้จำเลยไม่จำต้องอ้างตัวบทกฎหมายว่า ขาดอายุความตามมาตราใดก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องให้การโดย แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏจำเลยจึงต้องบรรยาย ด้วยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้อง การที่จำเลยให้การเพียงว่า คดีโจทก์ขาดอายุความโดยมิได้ กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะคดีโจทก์ขาดอายุความการที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอายุความโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
of 27