คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 242

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ และข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ส่งผลให้ฎีกาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินภายในเส้นสีน้ำเงิน จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในบริเวณเส้นสีแดงเนื้อที่ 3 ไร่เศษราคา 15,000 บาท ตามแผนที่ท้ายฟ้อง และตัดฟันต้นไม้ของโจทก์คิดค่าเสียหาย5,000 บาท กับค่าขาดประโยชน์ 250 บาท ขอให้ขับไล่และห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 5,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย มีเนื้อที่ 10 ไร่ ราคาไร่ละ 7,000 บาทรวมทุนทรัพย์ 70,000 บาท ทุนทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้อง และแผนที่ท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และค่าเสียหายโจทก์มีเพียงใด ส่วนประเด็นว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียงใด และราคาไร่ละเท่าใดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทและตรวจสอบราคาที่ดิน แทนที่โจทก์และจำเลยจะนำชี้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทในเขตสีแดงตามประเด็นแห่งคดี จำเลยกลับนำชี้เอาที่ดินนอกเขตพิพาทอันเป็นส่วนที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องรวมเข้ากับที่ดินพิพาทภายในเขตสีน้ำเงินที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่ได้นำชี้ให้รังวัดที่ดินพิพาทในแนวเขตสีแดง เช่นนี้จึงไม่อาจทราบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เท่าใด กรณีต้องถือว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ตามฟ้องโจทก์ และมีราคาไร่ละ 6,000 บาท ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองรับกันเมื่อรวมค่าเสียหายของต้นไม้ 5,000 บาท และค่าขาดประโยชน์อีก 250 บาทตามฟ้องโจทก์ คดีจึงมีทุนทรัพย์รวม 23,250 บาท
ทุนทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกิดจากการนำเอาที่ดินนอกแนวเขตพิพาทที่จำเลยนำชี้ตามแนวเขตสีน้ำเงินของโจทก์ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินนอกคำฟ้องโจทก์และนอกเหนือคำให้การของจำเลยจึงเป็นที่ดินนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่อาจนำมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาทได้ จึงเป็นการกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ แม้โจทก์จะยอมเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงทุนทรัพย์เดิมที่ถูกต้องอยู่แล้วมาเป็นทุนทรัพย์ใหม่ที่ไม่ถูกต้องได้
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าตามพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ 5,250 บาท ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์เสียการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ต้องถือว่าคดีโจทก์ยุติลงในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันควรฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ที่ยุติไปแล้วกลับฟื้นคืนมาได้อีก ทั้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะฎีกาในคดีที่ยุติไปแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดทุนทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง การรังวัดที่ดิน และการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลยุติการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินภายในเส้นสีน้ำเงิน จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในบริเวณเส้นสีแดงเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ราคา 15,000 บาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง และตัดฟันต้นไม้ของโจทก์คิดค่าเสียหาย5,000 บาท กับค่าขาดประโยชน์ 250 บาท ขอให้ขับไล่และ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย5,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย มีเนื้อที่ 10 ไร่ ราคาไร่ละ 7,000 บาทรวมทุนทรัพย์ 70,000 บาท ทุนทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องและแผนที่ท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และค่าเสียหายโจทก์มีเพียงใด ส่วนประเด็นว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียงใด และราคาไร่ละเท่าใด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทและตรวจสอบราคาที่ดิน แทนที่โจทก์และจำเลยจะนำชี้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทในเขตสีแดงตามประเด็นแห่งคดี จำเลยกลับนำชี้เอาที่ดินนอกเขตพิพาทอันเป็นส่วนที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องรวมเข้ากับที่ดินพิพาทภายในเขตสีน้ำเงินที่จำเลยต่อสู้ ว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่ได้นำชี้ให้รังวัดที่ดินพิพาทในแนวเขตสีแดง เช่นนี้จึงไม่อาจทราบว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เท่าใด กรณีต้องถือว่า ที่ดินพิพาท มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ตามฟ้องโจทก์และมีราคาไร่ละ 6,000 บาทตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองรับกันเมื่อรวมค่าเสียหายของต้นไม้ 5,000 บาท และค่าขาดประโยชน์อีก 250 บาท ตามฟ้องโจทก์คดีจึงมีทุนทรัพย์รวม 23,250 บาท ทุนทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกิดจากการนำเอาที่ดินนอกแนวเขตพิพาทที่จำเลยนำชี้ตามแนวเขตสีน้ำเงินของโจทก์ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินนอกคำฟ้องโจทก์และนอกเหนือคำให้การของจำเลยจึงเป็นที่ดินนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่อาจนำมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาทได้ จึงเป็นการกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ แม้โจทก์จะยอมเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงทุนทรัพย์เดิมที่ถูกต้องอยู่แล้วมาเป็นทุนทรัพย์ใหม่ที่ไม่ถูกต้องได้ คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าตามพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์5,250 บาท ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์เสียการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ต้องถือว่าคดีโจทก์ยุติลงในศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันควรฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ที่ยุติไปแล้วกลับฟื้นคืนมาได้อีก ทั้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะฎีกาในคดีที่ยุติไปแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากทายาท หลังตกลงขายฝากแล้วยกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ช.ให้ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืน จำเลยให้การว่า โจทก์ตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้แก่ ช. เป็นเวลา 1 ปี โดยได้รับเงินค่าขายฝากไปแล้วกับมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท และหนังสือ มอบอำนาจให้ ช. ไปจดทะเบียนขายฝากเอง แต่โจทก์ไปขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ช. หรือทายาทมีสิทธิที่จะยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้จนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนการขายฝากหรือนำเงินราคาที่ขายฝากพร้อมดอกเบี้ยไปคืนแก่ทายาท ช. และให้การว่าโจทก์จะขอให้บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่จึงครอบคลุมถึงข้อต่อสู่ตามคำให้การของจำเลยแล้ว ทั้งจำเลยก็นำสืบพยานตามข้อต่อสู้นั้นแล้วด้วย ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงและโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่เป็นเรื่องที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง อันเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเพื่อให้ขบวนการยุติธรรมได้ดำเนินไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก แม้ ช. จะเป็นผู้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทโดยโจทก์มอบให้ไว้ เนื่องจากตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาททั้งสองแปลงให้แต่การที่ ช. เคยครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้นั้น ก็เป็นเพียงการครอบครองเอกสารซึ่งแสดงว่าผู้เขียนในเอกสารนั้นได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเท่านั้น ช. ไม่ได้ครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความผูกพันที่จะต้องขายฝากให้แก่ ช.ฉะนั้นจึงถือไม่ได้ว่าช. หรือกองมรดกของช. มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท เมื่อ ช. ถึงแก่ความตายจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ช. ย่อมไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทจาก ช.เมื่อช. ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงชอบที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของ ช. คนใดก็ได้จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ช. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบหนังสือเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินคือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินแก่โจทก์เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์สำหรับการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเป็นเงินเกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูง ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากทายาท กรณีตกลงขายฝากแล้วยกเลิกมอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ช.ให้ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืน จำเลยให้การว่า โจทก์ตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้แก่ ช.เป็นเวลา 1 ปี โดยได้รับเงินค่าขายฝากไปแล้ว กับมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท และหนังสือมอบอำนาจให้ช.ไปจดทะเบียนขายฝากเอง แต่โจทก์ไปขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ช.หรือทายาทมีสิทธิที่จะยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้จนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนการขายฝากหรือนำเงินราคาที่ขายฝากพร้อมดอกเบี้ยไปคืนแก่ทายาท ช. และให้การว่าโจทก์จะขอให้บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องคืนหนังสือรับรองการทำ-ประโยชน์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยแล้ว ทั้งจำเลยก็นำสืบพยานตามข้อต่อสู้นั้นแล้วด้วย ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงและโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่เป็นเรื่องที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง อันเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเพื่อให้ขบวนการยุติธรรมได้ดำเนินไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
แม้ ช.จะเป็นผู้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทโดยโจทก์มอบให้ไว้ เนื่องจากตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาททั้งสองแปลงให้ แต่การที่ ช.เคยครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้นั้น ก็เป็นเพียงการครอบครองเอกสารซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในเอกสารนั้นได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเท่านั้น ช.ไม่ได้ครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความผูกพันที่จะต้องขายฝากให้แก่ ช. ฉะนั้นจึงถือไม่ได้ว่า ช.หรือกองมรดกของ ช.มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท เมื่อ ช.ถึงแก่ความตายจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ช.ย่อมไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 241
โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทจาก ช. เมื่อ ช.ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงชอบที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของ ช.คนใดก็ได้ จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ช. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบหนังสือเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินคือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องส่งมอบเอกสาร-สิทธิสำหรับที่ดินแก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดิน แต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์สำหรับการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเป็นเงินเกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูง ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิเช่าทำนา, การผิดสัญญา, และผลกระทบต่อการบังคับคดี
คชก.ตำบล ค.วินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดที่ 3 เป็นผู้เช่าทำนาของจำเลยแต่ผู้เดียว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะ คชก.จังหวัดยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์บุคคลอื่นที่อ้างว่าตนเป็นผู้เช่านาของจำเลยด้วย การที่ผู้ร้องสอดที่ 3 อาศัยสิทธิของ คชก.ตำบล ค.ที่ยังไม่ถึงที่สุดมาฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการฟ้องโดยที่ผู้ร้องสอดที่ 3 ยังไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 มาตรา 58
แม้จำเลยเจ้าของที่ดินไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนว่าจะขายที่พิพาทเป็นการละเว้นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 53 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นความผิดของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1โจทก์ที่ 1 และที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 ก็ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยคืนมัดจำและชดใช้ค่าเสียหายด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นประเด็นข้อพิพาทสำคัญที่คู่ความจะต้องนำสืบให้ได้ความ และคดียังมีข้อโต้แย้งอีกมากซึ่งหากคู่ความยังติดใจในปัญหาเรื่องผิดสัญญาก็อาจนำคดีไปฟ้องร้องกันใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 1 กับที่ 3 อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คดีนี้แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้ผู้ร้องสอดที่ 1 จะฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ร้องสอดที่ 2ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 และสำหรับคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกายังไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ทำให้ผู้ร้องสอดที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกา แต่โจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีประเด็นในคดีนี้แล้วว่าไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท & การวินิจฉัยผิดสัญญา: ศาลฎีกาเน้นการพิสูจน์ฝ่ายผิดสัญญา & สิทธิของผู้เช่าที่ดิน
คชก.ตำบล ค. วินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดที่ 3 เป็นผู้เช่าทำนาของจำเลยแต่ผู้เดียว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะ คชก.จังหวัดยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์บุคคลอื่นที่อ้างว่าตนเป็นผู้เช่านาของจำเลยด้วย การที่ผู้ร้องสอดที่ 3 อาศัยสิทธิของ คชก.ตำบล ค.ที่ยังไม่ถึงที่สุดมาฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการฟ้องโดยที่ผู้ร้องสอดที่ 3ยังไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 แม้จำเลยเจ้าของที่ดินไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนว่าจะขายที่พิพาทเป็นการละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นความผิดของโจทก์ที่ 1กับที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 โจทก์ที่ 1 และที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 ก็ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยคืนมัดจำและชดใช้ค่าเสียหายด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นประเด็นข้อพิพาทสำคัญที่คู่ความจะต้องนำสืบให้ได้ความ และคดียังมีข้อโต้แย้งอีกมาก ซึ่งหากคู่ความยังติดใจในปัญหาเรื่องผิดสัญญาก็อาจนำคดีไปฟ้องร้องกันใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 1 กับที่ 3อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง คดีนี้แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้ผู้ร้องสอดที่ 1 จะฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ร้องสอดที่ 2ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247 และสำหรับคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกายังไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ทำให้ผู้ร้องสอดที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกา แต่ โจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อศาลฎีกาได้ วินิจฉัยคดีประเด็นในคดีนี้แล้วว่าไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะ ฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแก้ไขรูปที่ดินและเนื้อที่ถูกต้อง การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เดิม ค.ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน ต่อมา ค.ขอแก้ไขรูปที่ดินใหม่และแก้ไขเนื้อที่เป็น2 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ให้รูปที่ดินและเนื้อที่ตรงกับที่ดินพิพาทที่ ค.มีสิทธิครอบครองอยู่ในขณะนั้นให้ถูกต้องตรงความจริง หลังจากนั้น ค.จึงโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793ดังกล่าวจะออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ที่ไม่อาจเพิกถอนได้ กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขรูปที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ให้ถูกต้องตรงความเป็นจริงต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 จึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวขัดต่อเหตุที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแก้ไขรูปที่ดินและเนื้อที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์, การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
เดิม ค. ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน ต่อมา ค. ขอแก้ไขรูปที่ดินใหม่และแก้ไขเนื้อที่เป็น2 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ให้รูปที่ดินและเนื้อที่ตรงกับที่ดินพิพาทที่ ค. มีสิทธิครอบครองอยู่ในขณะนั้นให้ถูกต้องตรงความจริง หลังจากนั้น ค. จึงโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ดังกล่าวจะออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ที่ไม่อาจเพิกถอนได้กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขรูปที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ให้ถูกต้องตรงความเป็นจริงต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 จึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2และที่ 3 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวขัดต่อเหตุที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4610/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินและขอบเขตการแบ่งแยกโฉนด การไม่พิพากษาฟ้องแย้งเป็นเหตุให้ต้องแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.และ จ.ฟ้องจำเลยออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 14613 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวา ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ป.และ จ. อ้างว่าจำเลยขออาศัยปลูกบ้านอยู่ชั่วคราว ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของกว่า 10 ปีแล้ว การออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวกระทำโดยมิชอบ จำเลยขอให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยให้จำเลย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินภายในเส้นสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายคำให้การและฟ้องแย้งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของจำเลย เมื่อตามคำฟ้องแย้งและคำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และศาลชั้นต้นให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทปรากฏว่าคู่ความแถลงรับกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าที่ดินที่จำเลยอ้างว่าจำเลยครอบครองอยู่และโจทก์ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของจำเลยนั้นมีจำนวนเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดิน-พิพาทราคาไร่ละ 60,000 บาท และศาลชั้นต้นกำหนดราคาตามที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาท ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวาดังนั้นราคาทรัพย์สินที่พิพาททั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงมีราคาจำนวนละ 107,400บาท ไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนกันมาโดยมิได้พิพากษาในส่วนฟ้องแย้งโดยให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4610/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินและการครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกายกฟ้องแย้ง แต่แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. และ จ. ฟ้องจำเลยออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 14613 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวาซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ป. และ จ. อ้างว่าจำเลยขออาศัยปลูกบ้านอยู่ชั่วคราว ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของกว่า 10 ปีแล้ว การออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวกระทำโดยมิชอบ จำเลยขอให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยให้จำเลย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินภายในเส้นสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายคำให้การและฟ้องแย้งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของจำเลย เมื่อตามคำฟ้องแย้งคำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และศาลชั้นต้นให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทปรากฎว่าคู่ความแถลงรับกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าที่ดินที่จำเลยอ้างว่าจำเลยครอบครองอยู่และโจทก์ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของจำเลยนั้นมีจำนวนเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 16ตารางวา เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดินพิพาทราคาไร่ละ60,000 บาท และศาลชั้นต้นกำหนดราคาตามที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาท ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่1 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา ดังนั้นราคาทรัพย์สินที่พิพาททั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงมีราคาจำนวนละ 107,400 บาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนกันมาโดยมิได้พิพากษาในส่วนฟ้องแย้งโดยให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ตามศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
of 27