คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 242

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงและการมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง
ในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ ตลอดจนให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการดังกล่าวตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ส.ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องและแต่งตั้งทนายความแทนโจทก์ได้ ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส.ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้ตามหนังสือมอบอำนาจและมอบอำนาจช่วงที่ได้แนบมาท้ายฟ้อง แม้วันที่ที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจช่วงจะเป็นวันที่ภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วก็ตาม เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ได้ระบุเงื่อนเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจช่วงว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงเริ่มมีอำนาจเมื่อใด จึงเป็นที่เห็นได้ว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส.ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้หาทำให้กลับกลายเป็นการมอบอำนาจช่วงภายหลังยื่นคำฟ้องอันจะทำให้ ว.ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ไม่
คดีนี้ยังมีประเด็นตามอุทธรณ์โจทก์และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่ได้วินิจฉัย และหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วคดีอาจต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุนเมื่อผู้ขับขี่ได้รับความยินยอม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้น เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เองเมื่อ พ.ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุน แม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายแม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิคัดค้าน, กำหนดเวลา, และการวินิจฉัยของศาล
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องว่าในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดและโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และมาตรา 296 วรรคสอง โดยจำเลยจะต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า8 วัน นับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเพื่อให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยไปนั้นก็เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดหลงและเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาเป็นหลัก หากจำเลยไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญา ศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่นำสืบ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยถูกพนักงานอัยการฟ้องตามที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวร้องทุกข์ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและฉ้อโกง กับขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา ยกฟ้องเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 1 ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวตามลำดับ ทั้งความรับผิดทางแพ่งคดีนี้ เกิดจากการ กระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดี ส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 นั้น ไม่ได้เป็นคู่ความ ในคดีอาญาดังกล่าว ศาลจะรับฟังข้อวินิจฉัยส่วนอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อเท็จจริงอันคดีแพ่ง ต้องถือตามหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยถูกพนักงานอัยการฟ้องตามที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวร้องทุกข์ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและฉ้อโกงกับขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 1 ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายและจำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวตามลำดับ ทั้งความรับผิดทางแพ่งคดีนี้เกิดจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ มาตรา 46 โดยต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 นั้น ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว ศาลจะรับฟังข้อวินิจฉัยส่วนอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อเท็จจริงอันคดีแพ่งต้องถือตามหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากการชนรถยนต์: การประเมินความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และขอบเขตความรับผิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัย
ปัญหาว่าเหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายเดียวหรือเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้น จำเลยที่ 3 ได้ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 จะไม่ได้อุทธรณ์เพราะจำเลยที่ 3 ชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิด จำเลยที่ 3 ก็ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์จึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่ 1 ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร จำเลยที่ 1 กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปได้ครึ่งคัน จำเลยที่ 1 ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนน จึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลอง ดังนี้เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ขับรถหลบหนี้เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างประสงค์ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่าง ๆด้วย ก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในทางแพ่งที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 รถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนน โดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมายแม้จำเลยที่ 1 ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญา ก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบ และเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยอันจะทำให้จำเลยที่ 3 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของผู้ขับรถในทางการจ้าง และข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
ปัญหาว่าเหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายเดียวหรือเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่1ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นจำเลยที่3ได้ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่3จะไม่ได้อุทธรณ์เพราะจำเลยที่3ชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดจำเลยที่3ก็ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่3ต้องร่วมรับผิดศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่3ไม่ได้อุทธรณ์จึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่1ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจรจำเลยที่1กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่1ขับไปได้ครึ่งคันจำเลยที่1ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนนจึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่1ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลองดังนี้เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1ฝ่ายเดียว ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่1ขับรถหลบหนี้เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่2ผู้เป็นนายจ้างประสงค์แม้การกระทำของจำเลยที่1ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่างๆด้วยก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่1ในทางแพ่งที่จำเลยที่1กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 รถยนต์ของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่3เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนนโดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใดๆที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่1และที่2มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมายแม้จำเลยที่1ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญาก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบและเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมายตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยอันจะทำให้จำเลยที่3ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อของผู้ขับและนายจ้าง, การยกเว้นความรับผิดของประกันภัย
ปัญหาว่าเหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายเดียวหรือเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่ 1ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้น จำเลยที่ 3 ได้ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 จะไม่ได้อุทธรณ์เพราะจำเลยที่ 3 ชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิด จำเลยที่ 3 ก็ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์จึงไม่ชอบ
เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่ 1 ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร จำเลยที่ 1 กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปได้ครึ่งคัน จำเลยที่ 1 ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนน จึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลอง ดังนี้ เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว
ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ขับรถหลบหนีเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างประสงค์ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่าง ๆ ด้วย ก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในทางแพ่งที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
รถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนน โดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญา ก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบ และเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย อันจะทำให้จำเลยที่ 3 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด
of 27