คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 242

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีรื้อถอนสิ่งกีดขวางลำน้ำสาธารณะ: โจทก์ต้องเสียหายเป็นพิเศษหรือไม่
จำเลยให้การว่า ลำบางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะและนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้จำเลยที่ 2 เช่า จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิทำคันดินปิดกั้นในที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ และมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 มิใช่ลำบางสาธารณะการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเอง ครั้งคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทเป็นลำบางสาธารณะฉะนั้นจึงต้องวินิจฉัยปัญหาต่อไปอีกว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองที่ทำการปิดกั้นลำบางพิพาทหรือไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ยุติ และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคู่ความได้นำสืบเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องไว้แล้วและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้เสร็จไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ โจทก์มีอาชีพค้าขาย ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นเลย และลำบางพิพาทอยู่ห่างบ้านโจทก์ถึง 5 เส้นเศษ โจทก์เพียงแต่เคยใช้เรือผ่านลำบางพิพาทเฉพาะฤดูที่มีน้ำหลาก และทำการจับกุ้งบางครั้งบางคราวตั้งแต่ปี 2516 ต่อมาปรากฎว่าลำบางตื้นเขินเนื่องจากจำเลยมาปิดเส้นทาง โจทก์ก็ไม่ได้ใช้ลำบางพิพาทอีกเลย การที่จำเลยทั้งสองทำการปิดกั้นลำบางพิพาทแม้จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ในการที่ประสงค์จะใช้ลำบางพิพาทในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ฉะนั้นแม้จำเลยทั้งสองปิดกั้นลำบางพิพาทซึ่งเป็นลำบางสาธารณะก็เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองของรัฐ ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสอง โจทก์หามีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปิดกั้นออกไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดปิดกั้นลำน้ำสาธารณะ: โจทก์ต้องมีเสียหายเป็นพิเศษและมีสิทธิโดยตรง
จำเลยให้การว่า ลำบางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ และนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้จำเลยที่ 2เช่า จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิทำคันดินปิดกั้นในที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ และมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 มิใช่ลำบางสาธารณะการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั่นเอง ครั้นคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทเป็นลำบางสาธารณะ ฉะนั้นจึงต้องวินิจฉัยปัญหาต่อไปอีกว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองที่ทำการปิดกั้นลำบางพิพาทหรือไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ยุติ และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคู่ความได้นำสืบเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องไว้แล้วและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้เสร็จไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
โจทก์มีอาชีพค้าขาย ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นเลย และลำบางพิพาทอยู่ห่างบ้านโจทก์ถึง 5 เส้นเศษ โจทก์เพียงแต่เคยใช้เรือผ่านลำบางพิพาทเฉพาะฤดูที่มีน้ำหลากและทำการจับกุ้งบางครั้งบางคราวตั้งแต่ปี 2516 ต่อมาปรากฏว่าลำบางตื้นเขินเนื่องจากจำเลยมาปิดเส้นทาง โจทก์ก็ไม่ได้ใช้ลำบางพิพาทอีกเลย การที่จำเลยทั้งสองทำการปิดกั้นลำบางพิพาท แม้จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ในการที่ประสงค์จะใช้ลำบางพิพาทในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ฉะนั้นแม้จำเลยทั้งสองปิดกั้นลำบางพิพาทซึ่งเป็นลำบางสาธารณะก็เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองของรัฐ ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสอง โจทก์หามีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปิดกั้นออกไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ การคิดดอกเบี้ย และผลของการผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้วประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่22เมษายน2534ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก95,460.45บาทแต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัดโดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่5มิถุนายน2534หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัดเมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534ตามที่กำหนดไว้หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ3ปีตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6อยู่อีกต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ข้อ1.3วรรคสองตอนท้ายโดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้นเมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น149,600บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45บาทจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่5มิถุนายน2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวจึงต้องคิดณวันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12มีผลบังคับคือวันที่21กุมภาพันธ์2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใดผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไปคือตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ การคำนวณดอกเบี้ย และผลของการผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้วประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่22เมษายน2534ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก95,460.45บาทแต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัดโดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่5มิถุนายน2534หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัดเมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534ตามที่กำหนดไว้หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ3ปีตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6อยู่อีกต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ข้อ1.3วรรคสองตอนท้ายโดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้นเมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น149,600บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45บาทจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่5มิถุนายน2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวจึงต้องคิดณวันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12มีผลบังคับคือวันที่21กุมภาพันธ์2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใดผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไปคือตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผลกระทบต่อสิทธิในการผ่อนชำระ และการคำนวณดอกเบี้ย
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลา แต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วง ย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้ว ประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22เมษายน 2534 ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 95,460.45 บาท แต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัด โดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่ 5มิถุนายน 2534 หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัด เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5 มิถุนายน 2534 ตามที่กำหนดไว้ หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ 3 ปี ตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ไม่
มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสองตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก 95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน 95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534
ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534 เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด? มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลอย่างไร? การคิดดอกเบี้ยหลังผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้ว ประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2534 ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 95,460.45บาท แต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัด โดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัด เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ตามที่กำหนดไว้ หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ 3 ปี ตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสอง ตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาท ยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23 เมษายน 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องได้ เว้นแต่โอนด้วยเจตนาฉ้อฉล
เช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989
ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ.โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา914
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้จะมีการโอนโดยไม่ชอบ หากโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็น
เช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 905 และมาตรา 916 จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา 914 ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา กู้เบิกเงินเกินบัญชี ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน
โจทก์ฟ้องขอ ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ศาลชั้นต้นให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยในอัตราตามฟ้องได้หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหานี้เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกดอกเบี้ยตามฟ้อง แม้ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ศาลชั้นต้นให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยในอัตราตามฟ้องได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหานี้เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
of 27