พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7788/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการบังคับคดีและการขอค่าสินไหมทดแทน การฟ้องร้องต้องกระทำโดยตรง ไม่ใช่การอ้างในคำร้องคัดค้าน
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทรวม 6 แปลง เป็นการยึดเกินกว่าหนี้ที่มีอยู่ย่อมเป็นการไม่ชอบ ขอให้ถอนการยึด จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาและไม่มีการเจรจาตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ก่อน ขอให้ถอนการยึด ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ให้บังคับคดีต่อไป และวินิจฉัยว่าการยื่นคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลและเป็นการยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า เห็นสมควรให้วางเงินต่อศาลคนละ 5,000,000 บาท เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องว่า การยื่นคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวไม่มีมูลและเป็นการยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า เวลาผ่านไป 7 ปี โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายที่ดิน ทำให้ไม่อาจนำเงินไปลงทุนหากำไร นำไปฝากหรือให้กู้ยืมได้ดอกเบี้ย ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 4,590,000 บาท ศาลชั้นต้นยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาในตอนท้ายว่า ยกหรือยืนหรือกลับหรือแก้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 แต่ในคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในส่วนนี้ว่า โจทก์มิได้ใช้สิทธิร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหก (เดิม) แต่แรก และเพิ่งจะมาใช้สิทธิตามมาตรา 296 วรรคหก (เดิม) ภายหลัง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์มานั้น ชอบแล้ว พอแปลได้ว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ กรณีถือว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ผิดหลงเล็กน้อยหรือผิดพลาดเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 และการยื่นคำร้องของโจทก์ดังกล่าว ไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองและวรรคหก (เดิม) ประกอบมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง (เดิม) เพราะคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิใช่คัดค้านการขายทอดตลาด แม้จำเลยทั้งสี่จะเคยยื่นคัดค้านการขายทอดตลาดและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ก็ไม่ได้ร้องขอให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนภายใน 30 วัน ดังนั้น หากโจทก์เห็นว่ามีความเสียหายก็ชอบที่โจทก์จะไปยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7069/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบกพร่องของอุทธรณ์และการวินิจฉัยสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาต่อไป
อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 ที่ ป. ซึ่งถูกถอนออกจากการเป็นทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดยไม่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจใช้สิทธิอุทธรณ์นั้น ถือเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 2 ลงชื่อในอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 ได้ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเท่ากับศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องที่ 2 แก้ไขข้อบกพร่องนั้นแล้ว อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 ต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 นั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3857/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาอนุญาโตตุลาการต้องยื่นต่อศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยกคำอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติว่า การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุดแล้วแต่กรณี จึงเป็นกรณีที่กฎหมายวางหลักเกณฑ์ในเรื่องของการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้โดยเฉพาะว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุด การที่ผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยกอุทธรณ์ของผู้คัดค้านนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีกรณีที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งให้รับคำอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไว้หรือให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านทำอุทธรณ์ขึ้นมาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการวางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยฉบับลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2551 ต่อมาวันที่ 4 สิงหาคม 2551 ซึ่งยังอยู่ในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยาย จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับใหม่เข้ามา โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฉบับนี้เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ มิใช่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 จำเลยจึงไม่ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยมาจึงไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183-2184/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากลุ่มของสี: ลักษณะบ่งเฉพาะและความแตกต่างจากสินค้าอื่น
ปัญหาที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนั้น เมื่อได้มีคำวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ในชั้นนี้มาโดยละเอียดซึ่งต้องมีการพิพากษาคดีในส่วนที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วยแล้ว ย่อมไม่จำเป็นที่ต้องมีการทุเลาการบังคับคดีอีกต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองเพราะไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่ทราบข้อเท็จจริง มิฉะนั้นศาลไม่รับพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของผู้ร้อง ในวันเดียวกับที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง โดยท้ายคำร้องมีหมายเหตุว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น
ศาลชั้นต้นพิจารณาเนื้อหาของคำร้องให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบของผู้ร้อง แล้วมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน ทรัพย์ที่ถูกยึดจึงไม่ใช่ของผู้ร้อง คดีของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง เป็นการพิจารณาสั่งตามเนื้อหาของคำร้อง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า คำร้องของผู้ร้องยื่นเกินกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง อันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นพ้องด้วยในผลแห่งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะต้องพิพากษายืน แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กลับพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง จึงเป็นการพิพากษาโดยมิชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาเนื้อหาของคำร้องให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบของผู้ร้อง แล้วมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน ทรัพย์ที่ถูกยึดจึงไม่ใช่ของผู้ร้อง คดีของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง เป็นการพิจารณาสั่งตามเนื้อหาของคำร้อง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า คำร้องของผู้ร้องยื่นเกินกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง อันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นพ้องด้วยในผลแห่งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะต้องพิพากษายืน แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กลับพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง จึงเป็นการพิพากษาโดยมิชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8713/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การออก น.ส.3ก. ตามข้อเท็จจริงที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของสิทธิ การโอนสิทธิที่ดินคืน
การที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทด้วยนั้น เป็นการออกตามข้อเท็จจริงที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ไปแจ้งต่อทางราชการเพื่อดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) กรณีจึงมิใช่เป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ในส่วนที่ดินพิพาทนั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้แก้ไข เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของโจทก์คืน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 234 ป.วิ.พ. กรณีไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมหรือวางประกัน
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือหาประกันให้ไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ศาลชั้นต้นส่งศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา ดังนั้น เมื่อมีการอุทธรณ์ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะตรวจสำนวนและถ้าเห็นว่าอุทธรณ์นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นเสียได้โดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 242 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การขาดนัดพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีโดยเอกสาร
อุทธรณ์ของจำเลยบรรยายถึงการขอเลื่อนคดีของจำเลยในชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ทุกครั้งว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบต่อไปรวมอยู่ด้วย แม้ตอนท้ายสุดของอุทธรณ์จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของจำเลยใหม่ตามที่ร้องขอ อุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นการอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องอยู่ในตัว ไม่ใช่อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่แต่เพียงสถานเดียว คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยอุทธรณ์ได้พร้อมคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ซึ่งเป็นคำสั่งวินิจฉัยภายในกำหนด 1 เดือน แต่จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งไว้จึงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์และการพิจารณาคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งต้องอาศัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจากคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวเป็นพื้นฐานจึงจะพิจารณาได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ จึงไม่มีเหตุที่จะให้พิจารณาคดีใหม่
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 223
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 223
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยแต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 4 ปี ขั้นสูงไม่เกิน 6 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 (2) แต่จำเลยมีสิทธิขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ซึ่งจำเลยได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวอนุญาตแล้ว การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ไม่จำต้องขออนุญาต ให้ยกคำร้องแล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาจึงให้ยกฎีกา ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ของจำเลยและสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิจารณาแล้วให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป