คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1525

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา อำนาจฟ้องแทน และการนำสืบการลงชื่อในโฉนด
ผู้เยาว์ซึ่งเกิดจากบิดาและมารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา และมารดามีอำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์ได้
การนำสืบว่าผู้มีชื่อในโฉนดไม่ใช่เจ้าของที่ดิน แต่ลงชื่อในโฉนดแทนผู้อื่นนั้น หาใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากบุตรโดยเจตนาดีเพื่ออุปการะเลี้ยงดูและการศึกษา ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317
บิดาพรากบุตรนอกสมรสไปเสียจากการปกครองของมารดาเพื่อให้การอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา การกระทำโดยมีเจตนาดีต่อบุตร เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการพรากโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความเป็นบิดาเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์แต่งงานอยู่กินกันกับจำเลยหลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระหว่างอยู่ด้วยกันเกิดบุตร 1 คน จำเลยได้แจ้งความต่อนายทะเบียนท้องถิ่นว่า เด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลยและใช้ชื่อบุคคลอื่นว่าเป็นบิดาของเด็ก ดังนี้ โจทก์ผู้เป็นสามีจะฟ้องจำเลยภริยานั้น ว่าบังอาจแจ้งความเท็จ เพื่อให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137หาได้ไม่ เพราะโจทก์มิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแจ้งเท็จ: กรณีคู่สมรสไม่จดทะเบียนสมรส และการพิสูจน์ความเป็นบิดา
โจทก์สามีแต่งงานอยู่กินกันกับจำเลยหลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระหว่างอยู่ด้วยกันเกิดบุตร 1 คน จำเลยได้แจ้งความต่อนายทะเบียนท้องถิ่นว่า เด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลยและใช้ชื่อบุคคลอื่นว่าเป็นบิดาของเด็ก ดังนี้ โจทก์ผู้เป็นสามีจะฟ้องจำเลยภริยานั้น ว่าบังอาจแจ้งความเท็จเพื่อให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 หาได้ไม่ เพราะโจทก์มิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังการรับรองบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิในการกำหนดที่อยู่ของบุตรเป็นของผู้ใช้อำนาจปกครอง
(1) เมื่อคู่ความรับกันว่า ศาลได้พิพากษาในอีกคดีหนึ่งถึงที่สุดแล้วว่าบุตรเป็นของบิดา แล้วต่างไม่สืบพยาน เป็นแต่ขอให้ศาลวินิจฉัยต่อไปตามท้องสำนวนคดีนี้ที่มีมาในประเด็นว่า โจทก์มีอำนาจตามกฎหมายเรียกบุตรคืนจากจำเลย (หมายถึงบิดา) หรือไม่ หาใช่เป็นการท้ากันแต่เพียงว่า ถ้ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์จำเลย ซึ่งทำให้ฟ้องคดีต่อศาลได้แล้ว ก็ให้โจทก์ชนะคดีไม่ยาก แต่ขอให้ศาลวินิจฉัยไปตามท้องสำนวนว่าจะทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งเด็กชายสุรินทร์หรือไม่ ทำให้จำเลยมีนิติสัมพันธ์ต้องส่งเด็กชายสุรินทร์แก่โจทก์หรือไม่ (2) เมื่อคดีที่รับกันนั้นฟังได้ว่าบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองซึ่งมาตรา1537 บัญญัติว่าอำนาจนี้อยู่แก่บิดา และให้ผู้ใช้อำนาจนี้มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร แต่โจทก์หามีสิทธิเช่นว่านี้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเด็กชายสุรินทร์จากจำเลย จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ไม่มีหน้าที่ต้องส่งเด็กชายสุรินทร์แก่โจทก์โจทก์จึงไม่มีทางชนะคดีตามข้อตกลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับรองบุตร การรับสารภาพและการพิสูจน์ความจริง
การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 1527
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับรองบุตรเมื่อฝ่ายแม่คัดค้าน ต้องพิสูจน์เหตุผลตามกฎหมาย
การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1527 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสันดานของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาเสียชีวิตก่อนรับรอง เด็กไม่มีสิทธิรับมรดก
หญิงชายได้เสียอยู่กินด้วยกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรสการสมรสย่อมไม่สมบูรณ์ จะเรียกว่าเป็นสามีภริยากันไม่ได้และบุตรที่เกิดจากหญิงนั้นก็มิใช่บุตรอันชอบด้วยกฎหมายของชายนั้นและเมื่อชายนั้นตายเสียในระหว่างหญิงตั้งครรภ์ เมื่อบุตรนั้นคลอดออกมา ชายนั้นก็ไม่มีโอกาสจะรับรองเด็กนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1627 ได้เด็กนั้นจึงไม่ใช่บุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว จึงย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับมรดกจากชายนั้น ในฐานะผู้สืบสันดาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรนอกกฎหมายและการรับรองเด็กหลังเสียชีวิต: สิทธิในมรดก
หญิงชายได้เสียอยู่กินด้วยกันแต่มิได้จะทะเบียนสมรส การสมรสย่อมไม่สมบูรณ์ จะเรียกว่าเป็นสามีภริยากันไม่ได้
และบุตรที่เกิดจากหญิงนั้นก็มิใช่บุตรอันชอบด้วยกฎหมายของชายนั้น และเมื่อชายนั้นตายเสียในระหว่างหญิง
ตั้งครรภ์ เมื่อบุตรนั้นคลอดออกมา ชายนั้นก็ไม่มีโอกาศจะรับรองเด็กนั้นตาม แ.ม.แพ่งฯมาตรา 1627 ได้ เด็กนั้นจึง
ไม่ใช่บุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว จึงย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับมรดกจากชายนั้น ในฐานะผู้สืบสันดาน./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของบุตรเกิดนอกสมรสและบิดาที่มิได้จดทะเบียนรับรอง
ชายหญิงได้เสียกันเองโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อเกิดบุตรขึ้นมา บุตรที่เกิดมานั้น ย่อมไม่ใช่บุตรอันชอบด้วยกฎหมายของชาย และเมื่อต่อมาชายก็มิได้จดทะเบียนรับรองหรือร้องขอต่อศาลให้แสดงว่า เป็นบุตรอีกเช่นนี้ ชายนั้นจึงไม่ใช่บิดาหรือทายาทของบุตรนั้น และย่อมไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกของบุตร และไม่อาจที่จะยกอายุความมรดก 1 ปีมาต่อสู้แก่ทายาทได้
of 3