พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12174/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาวุธปืน และการคืนของกลางแก่เจ้าของที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งข้อเท็จจริงต้องรับฟังเป็นยุติตามฟ้องและศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของโจทก์เองว่าอาวุธปืนของกลางมีรอยขูดลบเครื่องหมายทะเบียนและขูดลบแก้ไขเลขหมายประจำปืน แต่ไม่อาจยืนยันว่าเครื่องหมายทะเบียนและเลขหมายประจำปืนเดิมเป็นเลขหมายใด ศาลอุทธรณ์ย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมารับฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียนของผู้อื่น และลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 มิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงในสำนวนดังที่โจทก์ฎีกา และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาวุธปืนของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดหรือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 แม้โจทก์มิได้มีคำขอให้คืนของกลางแก่เจ้าของ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งคืนของกลางให้แก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 49, 195 วรรคสอง, 215 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10347/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นกรรมเดียว ศาลฎีกายกประเด็นความผิดซ้ำซ้อนแม้ไม่มีการฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าอาวุธปืนลูกซองเดี่ยวเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนซึ่งใช้ในราชการของกระทรวงมหาดไทยอันเป็นหน่วยราชการและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน บทมาตราที่บัญญัติให้เป็นความผิดก็เป็นบทมาตราเดียวกัน วัตถุที่ต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน การที่จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ในขณะเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนอีกกรรมหนึ่งตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่แก้ไขเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน บทมาตราที่บัญญัติให้เป็นความผิดก็เป็นบทมาตราเดียวกัน วัตถุที่ต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน การที่จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ในขณะเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนอีกกรรมหนึ่งตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่แก้ไขเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9802/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: ศาลยืนตามศาลล่าง ผู้เสียหายจำได้แม้สภาพแสงไม่ดี
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองและร่วมกันพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกในแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น จำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครอง
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยย่อมมีความผิดฐานนี้แล้ว เมื่อจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอีกฐานหนึ่งด้วยเพราะความผิดทั้งสองฐานอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดต่างกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและกระสุนปืนจำนวน 3 นัด ซึ่งใช้ยิงร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่สืบพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จำเลยยื่นฎีกาโดยมีข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยและศาลชั้นต้นได้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้คืนอาวุธปืนของกลางแก่มารดาจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามฎีกาของจำเลยและจากการไต่สวนของศาลชั้นต้นว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และศาลชั้นต้นคืนอาวุธปืนของกลางให้แล้ว ทั้งโจทก์ไม่ได้แก้ฎีกาหรือโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ต้องฟังว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเป็นเช่นนี้เห็นได้ว่าคำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยได้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังที่ศาลชั้นต้นไต่สวน จึงต้องลงโทษจำเลยตามความผิดที่จำเลยกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีความร้ายแรงมากนักและปืนเป็นของมารดาจำเลยจึงกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมและให้รอการลงโทษจำเลยไว้ตาม ป.อ. มาตรา 56
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและกระสุนปืนจำนวน 3 นัด ซึ่งใช้ยิงร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่สืบพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จำเลยยื่นฎีกาโดยมีข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยและศาลชั้นต้นได้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้คืนอาวุธปืนของกลางแก่มารดาจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามฎีกาของจำเลยและจากการไต่สวนของศาลชั้นต้นว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และศาลชั้นต้นคืนอาวุธปืนของกลางให้แล้ว ทั้งโจทก์ไม่ได้แก้ฎีกาหรือโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ต้องฟังว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเป็นเช่นนี้เห็นได้ว่าคำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยได้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังที่ศาลชั้นต้นไต่สวน จึงต้องลงโทษจำเลยตามความผิดที่จำเลยกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีความร้ายแรงมากนักและปืนเป็นของมารดาจำเลยจึงกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมและให้รอการลงโทษจำเลยไว้ตาม ป.อ. มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฆ่าโดยเจตนา แต่ไม่มีการไตร่ตรองไว้ก่อน และประเด็นการมีส่วนร่วมในการมีอาวุธปืน
นับแต่เวลาที่จำเลยที่ 5 เข้าแย่งมีดจากผู้ตาย จนกระทั่งผู้ตายถูกจำเลยที่ 6 ใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตายไม่ปรากฏว่ามีผู้อื่นเข้าทำร้ายผู้ตายอีก บาดแผลของผู้ตายที่เกิดจากการถูกแทงด้วยของมีคมจึงต้องเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 5 ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ที่ระบุว่าจำเลยที่ 5 เป็นคนใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายก่อนที่จำเลยที่ 6 จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นจำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงได้รีบพากันหลบหนีไปด้วยกันโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ ทำให้เชื่อได้ว่าเหตุการณ์เป็นไปตามคำให้การของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ในชั้นสอบสวน ซึ่งให้การหลังเกิดเหตุเพียง 2 วัน ยิ่งกว่าจะเป็นไปตามคำเบิกความหลังเกิดเหตุนานถึง 3 ปี การที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 ร่วมกันใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตายแล้วรีบพากันหลบหนีไปด้วยกัน แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 มีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 5 จึงเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 6 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่า ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 5 และที่ 6 ให้ฆ่าผู้ตาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โจทก์มิได้อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ไปฆ่าผู้ตาย โจทก์คงมีเพียงบันทึกคำให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ที่ให้การรับสารภาพว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้ไปฆ่าผู้ตาย ซึ่งเป็นพยานบอกเล่ามีน้ำหนักรับฟังน้อย และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นรับฟังประกอบบันทึกคำให้การดังกล่าวกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 ได้รับจ้างจากผู้อื่นให้ไปฆ่าผู้ตายและพยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 เตรียมวางแผนฆ่าผู้ตายไว้ล่วงหน้าอันจะเป็นการกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงเป็นเพียงความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 เท่านั้น
ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รู้มาก่อนว่าจำเลยที่ 6 พาอาวุธปืนติดตัวมาด้วยและจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จำเลยที่ 6 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า จำเลยที่ 5 เพียงแต่ร่วมฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายอันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉับพฉันนั้นเอง ส่วนการที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 หลบหนีไปด้วยกัน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 มีส่วนร่วมกับการมีและพาอาวุธปืนของจำเลยที่ 6 ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่า ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 5 และที่ 6 ให้ฆ่าผู้ตาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โจทก์มิได้อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ไปฆ่าผู้ตาย โจทก์คงมีเพียงบันทึกคำให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ที่ให้การรับสารภาพว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้ไปฆ่าผู้ตาย ซึ่งเป็นพยานบอกเล่ามีน้ำหนักรับฟังน้อย และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นรับฟังประกอบบันทึกคำให้การดังกล่าวกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 ได้รับจ้างจากผู้อื่นให้ไปฆ่าผู้ตายและพยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 เตรียมวางแผนฆ่าผู้ตายไว้ล่วงหน้าอันจะเป็นการกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงเป็นเพียงความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 เท่านั้น
ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รู้มาก่อนว่าจำเลยที่ 6 พาอาวุธปืนติดตัวมาด้วยและจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จำเลยที่ 6 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า จำเลยที่ 5 เพียงแต่ร่วมฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายอันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉับพฉันนั้นเอง ส่วนการที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 หลบหนีไปด้วยกัน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 มีส่วนร่วมกับการมีและพาอาวุธปืนของจำเลยที่ 6 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและอาวุธปืน: การลงโทษตามบทกฎหมายที่ถูกต้องและเหมาะสม
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ฐานมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นและมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นกฎหมายที่มีอัตราโทษหนักที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่งนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องลงโทษตามมาตรา 72 วรรคสอง แต่คดีได้ความว่า เครื่องกระสุนตามฟ้องคือกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามฟ้อง การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง เมื่ออาวุธปืนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามมาตรา 7, 72 วรรคสามเท่านั้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ศาลพิพากษาลงโทษเฉพาะผู้ลงมือโดยตรง
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ชกต่อยกับโจทก์ร่วม ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ไม้ตีโจทก์ร่วมโดยไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนร่วมรู้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีและพกอาวุธปืนมาด้วย หรือได้มีการคบคิดกันมาก่อนว่าจะใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม แม้จำเลยทั้งสามจะเกิดความไม่พอใจโจทก์ร่วมจากสาเหตุอย่างเดียวกันและนั่งรถมาด้วยกันก่อนเกิดเหตุ ทั้งยังขึ้นรถยนต์หลบหนีไปด้วยกันหลังเกิดเหตุ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้พูดจาหรือกระทำการใดๆ อันอาจถือได้ว่าเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการพยายามฆ่าโจทก์ร่วม และการที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ตามลำพัง อันเป็นการตัดสินใจของจำเลยที่ 1 โดยฉับพลันในขณะนั้นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสจากการถูกจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิง มิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 คงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 เพราะความผิดฐานพยายามฆ่ารวมการกระทำดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาในความผิดฐานนี้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในฐานความผิดฐานนี้แล้ว จึงเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมในความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ เพราะโจทก์ร่วมมิใช่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานดังกล่าว
ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 12 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 9 ปี ย่อมห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
จำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาในความผิดฐานนี้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในฐานความผิดฐานนี้แล้ว จึงเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมในความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ เพราะโจทก์ร่วมมิใช่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานดังกล่าว
ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 12 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 9 ปี ย่อมห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4873/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดีอาญาจากเหตุบรรเทาโทษและแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับความผิดฐานมีอาวุธปืน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกออโตเมติก ขนาด 9 มม. เครื่องหมายทะเบียน นว 7/7717 พร้อมซองกระสุนปืนจำนวน 1 กระบอก และกระสุนปืนขนาด .380 จำนวน 10 นัด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นจำเลยมีความผิดฐานนี้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นการลงโทษสำหรับกรณีที่อาวุธปืนซึ่งมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จึงเป็นคำพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นการลงโทษสำหรับกรณีที่อาวุธปืนซึ่งมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จึงเป็นคำพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7803/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่" การที่นาย ส. จำนำอาวุธปืนไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 รับมอบอาวุธปืนไว้ในครอบครองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 72 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยอายุ 15 ปี ถูกกล่าวหาใช้อาวุธปืนยิงผู้อื่นถึงแก่ความตาย แต่พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลฎีกาแก้โทษรอการลงโทษ
แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพและไม่สืบพยานแต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนัก จึงไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายตามฟ้องได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยรวม 2 กระทง จำคุก 1 ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนด 1 ปี ศาลอุทธรณ์เห็นไม่สมควรเปลี่ยนโทษจำเลยโดยส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสองต้องเป็นกรณีที่มีเครื่องกระสุนปืนเท่านั้น แต่เครื่องกระสุนปืนตามฟ้องคือกระสุนซึ่งเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคหนึ่ง เมื่อฟังว่าเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยรวม 2 กระทง จำคุก 1 ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนด 1 ปี ศาลอุทธรณ์เห็นไม่สมควรเปลี่ยนโทษจำเลยโดยส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสองต้องเป็นกรณีที่มีเครื่องกระสุนปืนเท่านั้น แต่เครื่องกระสุนปืนตามฟ้องคือกระสุนซึ่งเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคหนึ่ง เมื่อฟังว่าเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคสาม