คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น การที่จำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยให้การปฏิเสธและได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวย่อมถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตามมาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการฟ้องคดีเกินกำหนดตามวิธีพิจารณาความอาญา ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีอาญาจำเลยมีสิทธิที่จะให้การอย่างใดหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบพยานก่อนให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด จำเลยไม่จำต้องยกประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็มีสิทธิที่จะนำสืบในประเด็นนั้นๆ ได้ และมีอำนาจนำพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องซักถามพยานโจทก์ในเรื่องที่จำเลยจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบต่อไป
การที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนจำเลยแล้วได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันในวันเดียวกันไปจนถึงวันฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการจับกุมจำเลยในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวแล้วตามป.อ. มาตรา 136 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท จึงอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 และมาตรา 9 พนักงานอัยการโจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดสี่สิบแปดชั่วโมง หรือต้องมีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องครั้งแรกภายในสี่สิบแปดชั่วโมง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8332/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ต้องหาและการผัดฟ้องตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา เมื่อท้องที่ศาลจังหวัดหลังสวนยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการและมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2532 ลงวันที่ 17 เมษายน 2532 ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร คดีนี้จึงอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ให้จำเลยทราบวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับตั้งแต่วันดังกล่าว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้ฟ้องภายในกำหนด 48 ชั่วโมง โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 โดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8332/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาที่ศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ต้องหาและระยะเวลาการฟ้องทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จำเลยให้การปฏิเสธ ความผิดฐานดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ป.อ. มาตรา 296 ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา เมื่อท้องที่ศาลจังหวัดหลังสวนยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ สำหรับคดีอาญาที่อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการที่จะให้ใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีการตราพระราชกฤษฎีกาแล้วและมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คดีนี้จึงอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ให้จำเลยทราบวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 กรณีย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันดังกล่าว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง ถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องขอผัดฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 โดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อนและการแจ้งข้อหาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายืนคำพิพากษาเดิม
คดีก่อนจำเลยถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาปลอมและใช้ตั๋วแลกเงินปลอมแต่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยข้อหาปลอมและใช้ตั๋วแลกเงินอันเป็นเอกสารสิทธิปลอมโดยให้เหตุผลว่า ตั๋วแลกเงินดังกล่าวไม่ใช่เอกสารสิทธิ ศาลอาญากรุงเทพใต้จึงมีคำสั่งปล่อยตัวจำเลย และในวันเดียวกันจำเลยถูกจับและควบคุมตัวในคดีอื่นข้อหาปลอม ใช้หนังสือใบรับฝากตั๋วแลกเงินปลอมรวม16 กรรมแต่ต่อมาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จนกระทั่งโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264,268 ดังนี้ แม้ว่าตั๋วแลกเงินที่ถูกฟ้องในคดีนี้เป็นฉบับเดียวกับที่จำเลยถูกดำเนินคดีเป็นคดีแรก เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนคดีนี้แล้วโดยจำเลยมิได้โต้แย้งว่าการสอบสวนไม่ชอบ จึงย่อมจะผ่านขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาที่จำเลยอ้างว่าคดีนี้ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยแล้ว ฎีกาจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยถูกฟ้องในคดีอื่นต่อศาลอาญากรุงเทพใต้แม้จำเลยจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็ต้องถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วโจทก์จึงไม่ต้องนำตัวจำเลยมาศาล เมื่อจำเลยไม่ได้ถูกควบคุมตัวในคดีนี้จึงไม่ต้องขอผลัดฟ้องหรือขออนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ (อัยการสูงสุด)ฟ้องคดีนี้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 และ 9

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การผัดฟ้องและการได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบและพนักงานอัยการได้ขอผัดฟ้องจำเลยมาตลอดภายหลังจากที่มีอำนาจควบคุมตัวจำเลยไว้ 48 ชั่วโมง ตามกฎหมายแล้ว และตามคำร้องขอผัดฟ้องครั้งสุดท้าย ศาลอนุญาตให้พนักงานอัยการผัดฟ้องได้ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 โจทก์ฟ้องจำเลยในวันดังกล่าวจึงไม่ต้องขออนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและไม่จำเป็นที่โจทก์ต้องระบุไว้ในคำฟ้องด้วยว่า ได้มีการขอผัดฟ้องศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาที่ศาลได้อนุญาตไว้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาหลายกระทง ต้องผัดฟ้องทุกกระทง หากไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ สิทธิฟ้องจะขาดเสีย
กรณีที่ผู้ต้องหาถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในคราวเดียวกันโดยกล่าวหาว่าได้กระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 วรรคแรกพนักงานสอบสวนจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ภายในกำหนดเจ็ดสิบสองชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ โดยไม่มีข้อยกเว้นว่าจะเป็นกระทงความผิดใด แต่หากมีความจำเป็นไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าวพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอผัดฟ้องตามมาตรา 7 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งย่อมหมายความว่าจะต้องขอผัดฟ้องในทุกกระทงความผิดด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้นให้เลือกผัดฟ้องเฉพาะความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งได้แม้จะเกี่ยวพันกัน กระทงความผิดใดที่ไม่ได้ขอผัดฟ้องไว้จึงต้องถือว่าพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 วรรคแรกซึ่งจะต้องรับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีความผิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการสันนิษฐานตามกฎหมาย: การที่จำเลยไม่คัดค้านการได้รับอนุญาตให้ฟ้องของโจทก์ในชั้นต้น ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พนักงานอัยการโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาแล้วว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดแล้วตามหนังสืออนุญาตท้ายฟ้องย่อมสันนิษฐานได้ว่าพนักงานอัยการโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดแล้วเมื่อจำเลยไม่คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ก็ถือว่าไม่มีข้อโต้แย้งกันและตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงว่าพนักงานอัยการโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดนั้นไม่ชอบจำเลยเพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์และฎีกาย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฟ้องคดี: การสันนิษฐานตามหนังสืออนุญาตและการไม่คัดค้านในชั้นศาล
พนักงานอัยการโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาแล้วว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดแล้วตามหนังสืออนุญาตท้ายฟ้อง ย่อมสันนิษฐานได้ว่าพนักงานอัยการโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ก็ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน และตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงว่าพนักงานอัยการโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการ-สูงสุดนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6416/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรองอัยการสูงสุดรักษาราชการแทนอัยการสูงสุดในการอนุญาตฟ้องคดีหลังพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ.2534มาตรา33บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงหรือทบวงและมีฐานะเป็นกรมเมื่ออัยการสูงสุดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้รองอัยการสูงสุดจึงเป็นผู้รักษาราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534มาตรา46วรรคสามโดยรองอัยการสูงสุดผู้รักษาราชการแทนอัยการสูงสุดย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534มาตรา48วรรคหนึ่งและวรรคสามฉะนั้นเมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา9บัญญัติห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา7เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุดรองอัยการสูงสุดผู้รักษาราชการแทนอัยการสูงสุดจึงมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้
of 5