พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อเนื่อง: แม้ถูกดำเนินคดีก่อนหน้า แต่หากแจ้งข้อหาใหม่ถือเป็นการจับกุมใหม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
แม้ชั้นแรกพนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266,268ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดอุดรธานีที่จะพิจารณาพิพากษา แต่เมื่อศาลจังหวัดอุดรธานีปล่อยตัวจำเลยแล้ว ต่อมาพนักงานสอบสวนได้สอบสวนและแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 กรณีย่อมถือว่าจำเลยเพิ่งถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 เมื่อพนักงานสอบสวนส่งตัวจำเลยต่อพนักงานอัยการและพนักงานอัยการได้ขอผัดฟ้องและฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ภายในกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 7วรรคสอง จึงไม่มีเหตุที่จะต้องขออนุญาตอธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายกระทง: ศาลแขวงและศาลจังหวัด กรณีความผิดเกี่ยวพันกัน
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด โดยมิต้องผัดฟ้อง ฝากขังจำเลยตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 เพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาหลายกระทง และการพิจารณาคดีในศาลที่มีอำนาจชำระคดี
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด โดยมิต้องผัดฟ้อง ฝากขังจำเลยตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499เพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2532).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน: ศาลจังหวัดพิจารณารวมได้ แม้บางความผิดอยู่ในอำนาจศาลแขวง
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลจังหวัดโดยมิต้องผัดฟ้องฝากขังจำเลยตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯเพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดเวลา 72 ชั่วโมง และผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนแล้วส่งตัวให้พนักงานอัยการฟ้อง พนักงานอัยการได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันตัวในวันเดียวกับที่ได้รับตัวจากพนักงานสอบสวนไปจนถึงวันฟ้อง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าเป็นการจับกุมจำเลยแล้วในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาหลังการมอบตัว: การจับกุมเริ่มนับเมื่อใด และผลหากพ้นกำหนด
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนแล้วส่งตัวให้พนักงานอัยการฟ้องพนักงานอัยการได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันตัวในวันเดียวกับที่ได้รับตัวจากพนักงานสอบสวนไปจนถึงวันฟ้อง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าเป็นการจับกุมจำเลยแล้วในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 2,3 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด ซึ่งยังมิได้ มีศาลแขวงเปิดทำการ สำหรับคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไมเกิน หกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เจ้าพนักงานจับจำเลยในกระทงความผิด ฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรที่สิ้นอายุพร้อมกับกระทงความผิดฐานดูดทรายในแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันโดยมิได้รับอนุญาต เมื่อกระทงความผิดฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรสิ้นอายุกฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท จึงต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้กับความผิดกระทงนี้ โดยพนักงานสอบสวนต้องส่งจำเลยให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องในกระทงความผิดนี้ภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่มีการจับกุมหรือต้องขอผัดฟ้องไว้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมิได้ขอผัดฟ้อง และนำตัวจำเลยมาฟ้องหลังจากที่จับกุมในข้อหาดังกล่าวเกินกำหนดเวลาในมาตรา 7 โดยมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 9 จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 7 และ 9 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2,3 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการสำหรับคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเจ้าพนักงานจับจำเลยในกระทงความผิดฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรที่สิ้นอายุพร้อมกับกระทงความผิดฐานดูทรายในแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันโดยมิได้รับอนุญาต เมื่อกระทงความผิดฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรสิ้นอายุ กฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท จึงต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้กับความผิดกระทงนี้ โดยพนักงานสอบสวนต้องส่งจำเลยให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องในกระทงความผิดนี้ภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่มีการจับกุมหรือต้องขอผัดฟ้องไว้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2494 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมิได้ขอผัดฟ้อง และนำตัวจำเลยมาฟ้องหลังจากที่จับกุมในข้อหาดังกล่าวเกินกำหนดเวลาในมาตรา 7 โดยมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 9 จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 7 และ 9 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตผัดฟ้อง หากไม่มีการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหา
มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ ที่ห้ามมิให้ผู้ว่าคดีฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการนั้น หมายความว่าเมื่อมีการจับและควบคุมตัวผู้ต้องหาแล้ว พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังผู้ว่าคดีเพื่อให้ผู้ว่าคดียื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลา 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ เมื่อไม่มีการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาดังเช่นคดีนี้ จุดเริ่มต้นที่จะนับเวลา 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับย่อมไม่มี และไม่จำต้องขอผัดฟ้องต่อไป กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 9 โจทก์ฟ้องผู้ต้องหาได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต่อ นิติบุคคล ไม่ต้องขออนุญาตอัยการเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย
ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นนิติบุคคล ซึ่งไม่มีการจับกุมตัวผู้ต้องหา ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2517 มาตรา 5 และไม่มีกรณีจะต้องขอรับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ ในการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 ดังที่มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ด้วย
กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่มีการจับกุม เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้ คงให้ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อการสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณี
กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่มีการจับกุม เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้ คงให้ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อการสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณี