คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาพ้นกำหนดระยะเวลาและขาดการอนุญาตจากอธิบดีอัยการ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ผัดฟ้องแล้วโดยโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ จึงไม่มีอำนาจฟ้องศาลจำต้องพิพากษายกฟ้องกรณีมิใช่เรื่องจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงต้องยึดถือระยะเวลาการแจ้งข้อหาใหม่ หากเปลี่ยนข้อหาเดิมเป็นข้อหาใหม่ภายหลัง
บทบัญญัติในมาตรา 9 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ที่ห้ามมิให้ผู้ว่าคดีฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการก่อน นั้น หมายความเฉพาะคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้
ชั้นแรกพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนสอบสวนแล้วเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พนักงานอัยการสั่งให้ฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 พนักงานสอบสวน จึงแจ้งข้อหาตามมาตรา 334 ให้จำเลยทราบ และยื่นฟ้องต่อศาลแขวงในวันเดียวกันกรณีนี้ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามมาตรา 334เมื่อได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงภายในกำหนดเวลา 72 ชั่วโมงแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตจาก อธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีและโจทก์ร่วม: เมื่อฟ้องของผู้ว่าคดีต้องห้าม โจทก์ร่วมก็ย่อมเสียอำนาจฟ้องไปด้วย
การที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้ว่าคดีโจทก์ ตามอำนาจที่ให้ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 นั้น คำร้องของผู้เสียหายไม่ใช่คำฟ้องที่ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องคดีหนึ่งอีกต่างหากจากฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์ เมื่ออำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์สำหรับคดีนั้นไม่มีต้องยกฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์แล้ว ย่อมเป็นผลตามกฎหมายที่ต้องยกฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมไปด้วยเพราะไม่มีคำฟ้องเหลืออยู่ที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 1274/2481)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมย่อมเป็นไปตามคำฟ้องของผู้ว่าคดี หากคำฟ้องของผู้ว่าคดีต้องยกฟ้อง อำนาจฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย
การที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้ว่าคดีโจทก์ ตามอำนาจที่ให้ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 นั้น คำร้องของผู้เสียหายไม่ใช่คำฟ้องที่ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องคดีหนึ่งอีกต่างหากจากฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์เมื่ออำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์สำหรับคดีนั้นไม่มีต้องยกฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์แล้ว ย่อมเป็นผลตามกฎหมายที่ต้องยกฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมไปด้วยเพราะไม่มีคำฟ้องเหลืออยู่ที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้(อ้างฎีกาที่ 1274/2481)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจอนุญาตฟ้องได้ แม้พ้นกำหนดผัดฟ้อง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 9 ได้ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการไว้อย่างกว้างขวางในอันที่จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปว่า คดีอาญาคดีใดที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว หากผู้ว่าคดีมิได้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับก็ดี หรือเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงไปแล้วมิได้มีการขอผัดฟ้องก็ดี อธิบดีกรมอัยการจะเห็นสมควรอนุญาตให้ฟ้องคดีนั้น ๆ หรือไม่ แม้ในการสอบสวนไม่มีการขอผัดฟ้องทั้ง ๆ ที่ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวตลอดมานับแต่วันเวลาที่จำเลยถูกจับก็ตามเมื่ออธิบดีกรมอัยการได้พิจารณาแล้วอนุญาตให้ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
บทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯมุ่งถึงการควบคุมตัวผู้ต้องหาเป็นสารสำคัญ ส่วนกำหนดเวลาที่พนักงานสอบสวนหรือผู้ว่าคดีจะต้องปฏิบัติในการยื่นฟ้องหรือขอผัดฟ้องผู้ต้องหา ย่อมเป็นไปตามมาตรา 7 อำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามความในมาตรา 9 หาได้ถูกลบล้างแต่ ประการใดไม่ (อ้างฎีกาที่ 661/2503 และ 133/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาหลังขอผัดฟ้องไปแล้ว แม้จะเกินกำหนด ไม่ถือเป็นเหตุต้องห้ามฟ้อง
เมื่อไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องแล้ว. หากเผอิญไปขอผัดฟ้องเข้าเพราะความเข้าใจผิด. กรณีจึงไม่เข้าข้อห้ามตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499. ที่ห้ามไว้ไม่ให้ฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอผัดฟ้องโดยไม่จำเป็นและการฟ้องคดีอาญาภายหลัง กรณีไม่เข้าข้อห้ามตามกฎหมาย
เมื่อไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องแล้วหากเผอิญไปขอผัดฟ้องเข้าเพราะความเข้าใจผิด กรณีจึงไม่เข้าข้อห้ามตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499. ที่ห้ามไว้ไม่ให้ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาหลังขอผัดฟ้องโดยเข้าใจผิด ไม่ขัดต่อข้อห้ามตามกฎหมาย
เมื่อไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องแล้ว หากเผอิญไปขอผัดฟ้องเข้าเพราะความเข้าใจผิด กรณีจึงไม่เข้าข้อห้ามตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 ที่ห้ามไว้ไม่ให้ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาสำนวนคดีอื่นประกอบการพิจารณาคดีอาญา
คดีอาญา เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณา ก็เป็นการสืบพยานเพิ่มเติมนั่นเอง ย่อมมีอำนาจโดยพลการเรียกมาประกอบการพิจารณาโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดอ้างตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีหมิ่นประมาทหลังควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประกาศคณะปฏิวัติ การขอผัดฟ้อง/อนุญาตฟ้อง
เจ้าพนักงานจับจำเลยฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ แล้วจำเลยถูกควบคุมตัวในฐานเป็นบุคคลอันธพาลประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ได้ 24 วัน โจกท์นำจำเลยมาฟ้องศาลแขวงอุดรธานีในความผิดฐานหมิ่น เจ้าพนักงานได้โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตฟ้องจากอธิบดีกรมอัยการ
of 5