พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7343/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนอนุสิทธิบัตร: โจทก์ต้องรอผลการตรวจสอบก่อนฟ้องคดี
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 กำหนดเงื่อนไขวิธีการได้มาซึ่งอนุสิทธิบัตร การปฏิเสธคำขอรับอนุสิทธิบัตร และการให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ไว้ในหมวด 3 ทวิ ซึ่งมีเงื่อนไขแยกต่างหากจากการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในหมวด 2 โดยมีขั้นตอนในกระบวนการพิจารณาและการตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตรโดยฝ่ายพนักงานเจ้าหน้าที่น้อยกว่าในกระบวนการพิจารณาและการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และให้ความคุ้มครองในสิทธิตามอนุสิทธิบัตรซึ่งมีระยะเวลาที่สั้นกว่าการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์
อย่างไรก็ตาม ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์และการออกอนุสิทธิบัตร บุคคลผู้มีส่วนได้เสียอาจขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 65 ฉ การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมจำเลยที่ 1 กรณีที่อธิบดีของจำเลยที่ 1 มีคำวินิจฉัยว่าการประดิษฐ์นั้นมีลักษณะตามมาตรา 65 ทวิ ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรตามมาตรา 72 ส่วนการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่ให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรให้อุทธรณ์ต่อศาล คู่กรณีฝ่ายใดไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 74 หรืออีกวิธีทางหนึ่งได้กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการสามารถฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ หากอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ รวมถึงคำขอรับอนุสิทธิบัตรที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 9, 10, 11 หรือ 14 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 นว
กระบวนการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรทั้งสองวิธีดังกล่าวเป็นกระบวนการทางเลือก หากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเลือกที่จะใช้สิทธิยื่นขอให้มีการตรวจสอบตามมาตรา 65 ฉ แล้ว ย่อมต้องผูกพันในกระบวนการที่ตนเลือก และไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลจนกว่ากระบวนการดังกล่าวจะสิ้นสุดและนำคดีขึ้นสู่ศาลตามมาตรา 72 และ 74 และไม่อาจนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้อีก เพราะหากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องได้อีกก็จะมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการพิสูจน์สิทธิในเรื่องเดียวกันระหว่างคู่กรณีเดียวกันซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ว่ามีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ และอธิบดีของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำขอตรวจสอบดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 65 นว
อย่างไรก็ตาม ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์และการออกอนุสิทธิบัตร บุคคลผู้มีส่วนได้เสียอาจขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 65 ฉ การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมจำเลยที่ 1 กรณีที่อธิบดีของจำเลยที่ 1 มีคำวินิจฉัยว่าการประดิษฐ์นั้นมีลักษณะตามมาตรา 65 ทวิ ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรตามมาตรา 72 ส่วนการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่ให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรให้อุทธรณ์ต่อศาล คู่กรณีฝ่ายใดไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 74 หรืออีกวิธีทางหนึ่งได้กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการสามารถฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ หากอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ รวมถึงคำขอรับอนุสิทธิบัตรที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 9, 10, 11 หรือ 14 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 นว
กระบวนการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรทั้งสองวิธีดังกล่าวเป็นกระบวนการทางเลือก หากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเลือกที่จะใช้สิทธิยื่นขอให้มีการตรวจสอบตามมาตรา 65 ฉ แล้ว ย่อมต้องผูกพันในกระบวนการที่ตนเลือก และไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลจนกว่ากระบวนการดังกล่าวจะสิ้นสุดและนำคดีขึ้นสู่ศาลตามมาตรา 72 และ 74 และไม่อาจนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้อีก เพราะหากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องได้อีกก็จะมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการพิสูจน์สิทธิในเรื่องเดียวกันระหว่างคู่กรณีเดียวกันซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ว่ามีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ และอธิบดีของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำขอตรวจสอบดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 65 นว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4505/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา: อำนาจฟ้อง, การแก้ไขคำฟ้อง, และผู้ถูกฟ้องที่ไม่ใช่ผู้โต้แย้งสิทธิ
โจทก์ระบุตัวบุคคลที่จะถูกฟ้องในช่องชื่อคู่ความกับที่บรรยายว่าขอยื่นฟ้องผู้ใดขัดกันเอง ทั้งการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องมาในอุทธรณ์โดยขอเพิ่มกรมทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาเป็นจำเลยในคดีอีกคนหนึ่งไม่ใช่การแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย และเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังจากที่ศาลทรัพย์สินฯ มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องแล้ว ล่วงเลยเวลาที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามในคำสั่งให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ โดยจำเลยทั้งสามเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชาของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนของกรม และเป็นผู้ที่กฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจพิจารณาและออกคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับสิทธิบัตร จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการพิจารณายกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 74 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งชอบที่ศาลทรัพย์สินฯ จะมีคำสั่งยกฟ้อง การที่ศาลทรัพย์สินฯ เพียงแต่มีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง อันเป็นการสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 18 จึงไม่ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามในคำสั่งให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ โดยจำเลยทั้งสามเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชาของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนของกรม และเป็นผู้ที่กฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจพิจารณาและออกคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับสิทธิบัตร จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการพิจารณายกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 74 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งชอบที่ศาลทรัพย์สินฯ จะมีคำสั่งยกฟ้อง การที่ศาลทรัพย์สินฯ เพียงแต่มีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง อันเป็นการสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 18 จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18297-18298/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนสิทธิบัตร: ผู้มีส่วนได้เสียต้องใช้สิทธิขอตรวจสอบก่อนฟ้อง และต้องแสดงให้เห็นถึงการถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง
กระบวนการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรเป็นกระบวนการทางเลือก หากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเลือกที่จะใช้สิทธิยื่นขอให้มีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ แล้ว ย่อมต้องผูกพันในกระบวนการที่ตนเลือกใช้สิทธิและไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลจนกว่ากระบวนการดังกล่าวจะสิ้นสุดและนำคดีขึ้นสู่ศาลตามมาตรา 72 และ 74 และไม่อาจนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้อีก เพราะหากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องร้องได้อีกก็จะมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการพิสูจน์สิทธิในเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อน
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โจทก์ที่ 1 แสดงว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 อาจเป็นการประดิษฐ์ที่มีข้อถือสิทธิและรูปลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ที่เหมือนกันหรือคล้ายกันที่อาจทำให้แต่ละฝ่ายเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์อันเนื่องมาจากอีกบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรโดยตรง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ฉ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้ โจทก์ที่ 1 ต้องรอให้กระบวนการตรวจสอบพิสูจน์การประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรว่ามีลักษณะตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ตามที่โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเลือกให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะนำคดีฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้พิจารณาคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 และ 74 เมื่อปรากฏว่าในขณะยื่นฟ้องยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แจ้งผลการตรวจสอบของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้โจทก์ที่ 1 ทราบ และโจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อคณะกรรมการสิทธิบัตร คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่ 1 ที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้อีก โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องโดยไม่ปรากฏรายละเอียดพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่โดยตรง และเป็นการโต้แย้งสิทธิในการใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 อ้างในคำฟ้อง หากจะฟังว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 เนื่องจากขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ และกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ที่ 2 ละเมิดอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ถูกยึดและขัดขวางการจำหน่าย ผลิตซึ่งเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยที่ 2 มาด้วยก็ตาม หากเป็นจริงก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะบุคคลใด ๆ ที่จะกล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ขึ้นอ้างในกรณีที่จะถูกบังคับใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิในอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้น ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คำฟ้องของบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 65 นว วรรคสอง แต่เป็นการที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสำคัญ โดยอ้างเหตุการจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นกัน
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โจทก์ที่ 1 แสดงว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 อาจเป็นการประดิษฐ์ที่มีข้อถือสิทธิและรูปลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ที่เหมือนกันหรือคล้ายกันที่อาจทำให้แต่ละฝ่ายเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์อันเนื่องมาจากอีกบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรโดยตรง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ฉ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้ โจทก์ที่ 1 ต้องรอให้กระบวนการตรวจสอบพิสูจน์การประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรว่ามีลักษณะตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ตามที่โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเลือกให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะนำคดีฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้พิจารณาคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 และ 74 เมื่อปรากฏว่าในขณะยื่นฟ้องยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แจ้งผลการตรวจสอบของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้โจทก์ที่ 1 ทราบ และโจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อคณะกรรมการสิทธิบัตร คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่ 1 ที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้อีก โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องโดยไม่ปรากฏรายละเอียดพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่โดยตรง และเป็นการโต้แย้งสิทธิในการใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 อ้างในคำฟ้อง หากจะฟังว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 เนื่องจากขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ และกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ที่ 2 ละเมิดอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ถูกยึดและขัดขวางการจำหน่าย ผลิตซึ่งเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยที่ 2 มาด้วยก็ตาม หากเป็นจริงก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะบุคคลใด ๆ ที่จะกล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ขึ้นอ้างในกรณีที่จะถูกบังคับใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิในอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้น ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คำฟ้องของบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 65 นว วรรคสอง แต่เป็นการที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสำคัญ โดยอ้างเหตุการจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นกัน