คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 218

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,432 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม เป็นกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 264, 268,335, 91 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาธนาณัติรวม 3 ฉบับ มูลค่า 7,640 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆ ก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตาม ป.อ.มาตรา 335 (11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากันการกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ.มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม: การพิจารณาความผิดหลายกรรม และบทลงโทษที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264,268,335,91 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาธนาณัติรวม3 ฉบับ มูลค่า 7,640 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การนำสินค้าออกจากโรงงานโดยไม่เสียภาษี, ครอบครองสินค้าผิดกฎหมาย, และการริบของกลาง
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 5 ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพสามิตที่จะตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยให้ถือตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเมื่อโจทก์ได้นำสืบถึงคำสั่งกรมสรรพสามิต ซึ่งได้อ้างอิงถึงประกาศกระทรวงการคลังเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์มิได้นำสืบถึงหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดว่ามีหลักการตีความอย่างไรและการตีความได้กระทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือไม่ จึงฟังไม่ขึ้น
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จดทะเบียนสรรพสามิตต่อกรมสรรพสามิตเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนรามคำแหง โรงงานอยู่ที่ถนนลาดพร้าว โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการและจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลสาขาปิ่นเกล้า เริ่มทำงานในเดือนธันวาคม 2536 และในวันที่ 14 มกราคม2537 เจ้าพนักงานสรรพสามิตได้เข้าตรวจค้นที่สาขาปิ่นเกล้า ยึดได้เครื่องปรับอากาศที่มิได้เสียภาษีสรรพสามิตจำนวน 455 เครื่อง เมื่อตามทางพิจารณานำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นในการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีสรรพสามิตของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งเจ้าหน้าที่ของโจทก์ก็รับว่าลำพังเพียงการตรวจดูเครื่องปรับอากาศที่ส่งไปจำหน่ายที่สาขาปิ่นเกล้าคนทั่วไปก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเครื่องปรับอากาศดังกล่าวเสียภาษีแล้วหรือไม่ แม้จำเลยที่ 3 เป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3เคยให้การรับสารภาพและยินยอมให้เปรียบเทียบปรับก็ตาม พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีเหตุระแวงสงสัยว่าจำเลยที่ 3 รู้หรือไม่ว่าเครื่องปรับอากาศของกลางที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าเป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงงานอุตสาหกรรม ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 19,147(1) แล้วกรรมหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาปิ่นเกล้าเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161(1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนเป็นความผิดตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง
เมื่อเครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าจำนวน 455 เครื่องเป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี ซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯมาตรา 19 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่จะเข้ากรณียกเว้นที่กฎหมายกำหนดการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 147(1) และตามมาตรา 168 วรรคสอง บัญญัติว่า สินค้าในการกระทำความผิดที่มีโทษตามมาตรา 147 ให้ศาลสั่งริบเป็นของกรมสรรพสามิต ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ศาลจึงต้องริบเครื่องปรับอากาศจำนวนดังกล่าวตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ หาใช่เป็นการริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ไม่
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษโดยสถานเบา ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 และที่ 2คนละ 2,665,400 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยที่ไม่ชอบ และประเด็นการพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้ยกฟ้องโจทก์เฉพาะความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ข้อหาฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับร่วมกันพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น ส่วนข้อหาฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยแก้โทษเฉพาะจำเลยที่ 2 และระยะเวลาการควบคุมเพื่อฝึกอบรมของจำเลยทั้งสองโดยลดโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสี่ คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 4 ปี 6 เดือน และให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำคนละ 2 ปี และขั้นสูงคนละ 3 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 6 ปี แต่การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยโดยส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดคนละ 3 ปี แทนการลงโทษอาญาแก่จำเลยทั้งสองนั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดโทษให้จำเลยที่ 2 และแก้กำหนดระยะเวลาส่งตัวจำเลยทั้งสองไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนขั้นต่ำคนละ 2 ปี และขั้นสูงคนละ 3 ปี เป็นการพิพากษายืนในเรื่องการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 และ ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไป ในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคนละ 50 บาท ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาลงโทษในความผิดฐานนี้จำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าพยานโจทก์ทุกปากมีพิรุธ ทั้งลักษณะแห่งคดีนับว่าเป็นพิรุธ ควรยกประโยชน์แห่งข้อสงสัยให้แก่จำเลยทั้งสอง เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร และที่จำเลยทั้งสองฎีกา ขอให้ลงโทษต่ำกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
ตาม ป.วิ.อ. แม้จะมิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าหน้าที่หรือภาระการพิสูจน์ความผิดของจำเลยตกอยู่แก่โจทก์ แต่ตามมาตรา 158 (5) กำหนดให้คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีกับมาตรา 15 กำหนดว่า วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 กำหนดว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใด ๆ เพื่อสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตน ให้หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้าง แต่ว่า (1) คู่ความไม่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่มีข้อโต้แย้งได้ หรือซึ่งศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้ว (2) ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์แต่เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวในคำฟ้อง
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีและใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสาม ทั้ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 13 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้ (คือหมวด 1 อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน) แก่?(4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ?" ซึ่งบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลย่อมรู้ได้เอง ประกอบกับข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่อาจโต้แย้งได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยทั้งสองยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงเป็นที่เห็นได้ว่า นายทะเบียนอาวุธปืนย่อมไม่อาจออกใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนให้แก่จำเลยทั้งสองได้ตามบทกฎหมายข้างต้นถือได้ว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานในคดีเยาวชน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนจำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งจำคุก 1 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 7 ปี รวมจำคุก 8 ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งมีอัตราโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โดยกำหนดโทษและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีจึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่งก็ตามแต่คงให้ลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยหลายประการฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานในคดีเยาวชนและครอบครัว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุก 1 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 7 ปี รวมจำคุก 8 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โดยกำหนดโทษและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีจึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่งก็ตาม แต่คงให้ลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไข คำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยหลายประการฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม บทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานคดีจำหน่ายยาเสพติด
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำคุก 6 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจำคุก 5 ปี ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลงหนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยมีกำหนด 7 ปี 4 เดือน ซึ่งมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดกระทงแรกมีกำหนด 4 ปี ในความผิดกระทงหลังมีกำหนด 3 ปี 4 เดือน กำหนดโทษจำคุกในแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยอ้างว่าคำเบิกความของพยานโจทก์มีข้อแตกต่างขัดแย้งกันเองเป็นพิรุธและขัดต่อเหตุผลไม่น่าเชื่อถือ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2249/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.218 กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเฉพาะของกลาง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย 3 เดือน และปรับ 6,000 บาทแต่ไม่ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะของกลางเป็นให้ริบ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาขอไม่ให้ริบของกลางเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาล เป็นฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานยักยอก ตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก, 91 รวม 106 กระทง จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวมจำคุก 106 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุกกระทงละ 20 วัน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และโทษจำคุกไม่เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลควรจะยกฟ้องโจทก์ทั้ง159 กรรม มิใช่เพียง 59 กรรม ด้วยเหตุผล 6 ประการ ตามฎีกาของจำเลยซึ่งล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกันหรือไม่โดยจำเลยอ้างว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังพยานหลักฐานที่ไม่มีเอกสารเป็นการไม่ชอบ ก็เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานถือเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก,91 รวม 106 กระทง จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวมจำคุก 106 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุกกระทงละ 20 วัน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และโทษจำคุกไม่เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลควรจะยกฟ้องโจทก์ทั้ง 159 กรรม มิใช่เพียง59 กรรม ด้วยเหตุผล 6 ประการ ตามฎีกาของจำเลยซึ่งล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกันหรือไม่ โดยจำเลยอ้างว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังพยานหลักฐานที่ไม่มีเอกสารเป็นการไม่ชอบ ก็เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
of 144